เสียงรบกวนไไม่ว่าจะด้วยเพราะบ้านติดถนน หรืออยู่ในอาคารคอนโดที่ทำผนังห้องมาไม่ดีจึงได้ยินเสียงจากเพื่อนบ้านได้อย่างชัดแจ๋ว เราก็ต้องทนอยู่กับห้องที่มีเสียงรบกวนอยู่อย่างนี้อีกนาน แล้วถ้ามันสามารถลดเสียงรบกวนเหล่านี้ให้หายไปได้ล่ะมันจะดีมั้ย

กลางคืนก็จะไม่ได้ยินเสียงจากท้องถนน หรือเสียงข้างบ้านทะเลาะกัน เวลาฝนตกฟ้าผ่าก็จะไม่ต้องสะดุ้งตื่นในตอนกลางคืน ฟังเหมือนเรื่องเพ้อฝันแต่จริงๆมันสามารถทำได้จริง

CONCERT

ฉนวนงานซับเสียง คืออะไร?

งานฉนวนซับเสียงและงานฉนวนกันเสียง เป็นนวัตกรรมที่มีมานานมากและราคาถูกลงอย่างมากแล้ว ซึ่งเป็นสส่วนเพิ่มเติมที่ช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอก โดยใส่ที่ช่องผนังเพื่อกั้นเสียงจากข้างห้อง ใส่ในผนังห้องอัดเพลงหรือห้องซ้อมดนตรีเพื่อให้เสียงอยู่ที่ภายในห้องเท่านั้นไม่ออกมารบกวนคนอื่นภายนอก

ในห้องประชุมสี่เหลี่ยมเมื่อมีการประชุมก็จะเกิดเสียงก้อง สะท้อนไปมาทำให้ค่อนข้างมึนงง ก็จะมีการติดฉนวนซับเสียงที่ผนังห้องประชุมเพื่อดูดซับเสียงส่วนเกิน เสียงที่สะท้อนไปมาก็จะลดลงทำให้สามารถโฟกัสไปที่การประชุมได้มากขึ้น

หลายคนคงจะงงเกี่ยวกับฉนวนกันเสียง ฉนวนซับเสียงว่าคืออะไรแตกต่างกันอย่างไร เราจะอธิบายคำว่า เสียงก้อง และเสียงรบกวนก่อน

เสียงก้อง คือ การที่เสียงเดินทางไปกระทบกับผิวผนังและสะท้อนกลับไปกลับมาถ้าพูดเป็นคำครั้งเดียวอาจจะไม่ได้มีปัญหาอย่างไร ถ้าหากเป็นโรงหนัง หรือในห้องประชุมที่เกิดเสียงก้อง สะท้อนไปมาแบบนี้ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด รำคาญอย่างมาก

ECHO

 

เสียงรบกวน ในที่นี้เราหมายถึงเสียงจากภายนอกที่ทะลุผ่านผนังห้องหรือหลังคาของเรามา เช่นเสียงฝนตกหรือ เสียงจากข้างห้อง ซึ่งเราไม่ได้ต้องการรับรู้มัน

NOISE

 

ฉนวนซับเสียงจะถูกออกแบบด้วยหลักการที่ว่า เมื่อเสียงมากระทบฉนวนแล้วทำให้เสียงออกไปได้ช้าที่สุดหรือออกไปไม่ได้เลยดังนั้นเมื่อเสียงมากระทบกับฉนวนซับเสียง เสียงจะเกิดการสะท้อนออกไปได้น้อยลง เสียงที่ก้องก็จะลดลง เราจะสามารถเห็นได้ตามผนังของโรงหนังที่มีผิวผ้าคล้ายกำมะหยี่ อันนี้คือฉนวนกันเสียงนั่นเอง

SOUND ABSOBTION

 

ฉนวนซับเสียงจะถูกออกแบบด้วยหลักการที่ว่า เมื่อเสียงมากระทบฉนวนแล้วทำให้เสียงออกไปได้ช้าที่สุดหรือออกไปไม่ได้เลยดังนั้นเมื่อเสียงมากระทบกับฉนวนซับเสียง เสียงจะเกิดการสะท้อนออกไปได้น้อยลง เสียงที่ก้องก็จะลดลง เราจะสามารถเห็นได้ตามผนังของโรงหนังที่มีผิวผ้าคล้ายกำมะหยี่ อันนี้คือฉนวนกันเสียงนั่นเอง

SOUND BLOCK

ประสิทธิภาพของฉนวนงานเสียงดูอะไรบ้าง ?

ประสิทธิภาพของฉนวนซับเสียงเราจะดูที่ค่า SAC ( Sound Absorption Coefficient ) และค่า NRC ( Noise Reduction Coefficient )

SAC ( Sound Absorption Coefficient ) คือ ค่าการดูดกลืนเสียงที่ความที่ค่าหนึ่ง SAC = 0.8 ที่ความถี่ 500 Hz หมายความว่า ที่ความถี่ 500 Hz วัสดุชนิดนี้จะดูดซับเสียงไว้ 80% และอีก 20% จะสะท้อนออกไป

SAC

 

NRC ( Noise Reduction Coefficient ) คือ ค่าเฉลี่ยของ SAC ที่ค่าความถี่ 250Hz 500Hz 1000Hz และ 2000Hz เช่น NRC = 0.8 หมายความว่า วัสดุชิ้นนี้มีค่าการดูดซับ โดยรวมๆและประมาณ 80% และอีก 20% จะท้อนออกไป ส่วนค่า NRC = 1 หมายความว่า เสียงจะเดินทางเข้าไปและไม่ผ่านออกมาอีกเลย ง่ายๆคือดูดซับเสียง 100% นั่นเอง

NRC

 

แต่เราสามารถบอกได้ว่าค่า STC = 80 จะกันเสียงได้ดีกว่าค่า STC = 60 และค่า STC ไม่สามารถนำมารวมกันตรงๆ ได้เช่น ผนังมีค่า STC = 30 และฉนวนกันเสียงมีค่า STC = 45 เมื่อนำฉนวนกันเสียงติดกับผนังค่า STC = 75 อันนี้ผิดเต็มๆ

แต่ค่า STC ก็พอจะบอกเราเป็นไกด์ไลน์คร่าวๆ ได้ว่าเสียงที่มันจะผ่านผนังนี้จะลดลงไปประมาณต่ำกว่าค่า STC เล็กน้อย หรือ มากกว่าค่า STC เล็กน้อย

สรุป

สำหรับงานเสียงแล้วฉนวนแบบเซลล์เปิดถือว่าได้เปรียบอย่างมากเพราะมีค่า STC ที่สูงและค่า NRC ที่สูงมากเช่นกัน โดยเฉพาะฉนวนใยแก้วและฉนวนใยหิน ที่ถูกนำมาใช้ทั้งในงานซับเสียงและงานกันเสียง

เราจึงอยากแนะนำให้ใช้เป็นฉนวนใยแก้วและฉนวนใยหินจะเหมาะสมมากกว่าสำหรับงานด้านเสียง

สินค้าที่เกี่ยวกับงานเสียง