ทุกคนรู้กันอยู่แล้วว่าอากาศของประเทศไทยนั้นร้อนขนาดไหน เรียกได้ว่าถ้าไม่เปิดแอร์นี่ จะอยู่ไม่ได้เลยและส่วนที่ร้อนที่สุดหรือรับแดดมากที่สุดก็คือ “ หลังคา ”

หลังคาโรงงานหรือโกดังสินค้าส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหลังคาเมทัลชีท ที่ในตอนกลางวันนั้นอุณหภูมิสูงถึง 70 องศาเซลเซียส ถ้าหลังคาโรงงานค่อนข้างต่ำและช่องเปิดระบายอากาศน้อย เรียกได้ว่าเป็น “ เตาอบ ” ดีๆนี่เอง

โรงงานและโกดังสินค้าที่สร้างใหม่หรือปรับปรุงใหม่จึงติดตั้งฉนวนกันความร้อนสำหรับหลังคาเพื่อให้อากาศภายในเย็นขึ้น พนักงานสามารถทำงานได้อย่างสบายมากขึ้น

ROOF WINDOW WITH INSULATION

งานฉนวนกันความร้อนหลังคา คืออะไร?

หน้าร้อนประเทศไทยที่อุณหภูมิสูงถึง 40 องศา ตอนที่เป็นนักเรียนเรายังจำได้เลยว่าอากาศมันร้อนขนาดไหน ในห้องเรียนพัดลมของเราตอนนั้น และตอนนี้เราก็ยังเหมือนเดิม ทำงานในโรงงานพัดลม ลมพัดลมก็ร้อนเหลือเกิน….

ตอนนี้ก็ถึงหน้าที่ของฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนทำหน้าป้องกันไม่ให้ความร้อนจากหลังคาลงมาถึงคนที่อยู่ด้านล่าง แล้วทีนี้ฉนวนกันความร้อนที่ใช้กับงานหลังคาเขาใช้อะไรกันบ้าง แล้วมันช่วยกันความร้อนได้จริงหรือ แล้วถ้ากันได้มันจะกันได้ขนาดไหนกัน?

ฉนวนกันความร้อนกันความร้อนได้จริงหรือ?

เราจะมาพูดถึงเรื่องของฉนวนกันความร้อนกันความร้อนได้จริงมั้ยก่อน เราจะอธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ถ้าเรากำลังย่างเนื้อย่างอยู่บนกระทะร้อนๆ ถ้าเราเอามือของเราแนบไปกับกระทะมือเราก็จะสุกเหมือนเนื้อย่างบนเตาแน่นอน แต่ถ้าเราใส่ถุงมือไมโครเวฟแล้วเอามือแนบกระทะ มันก็ไม่ได้ร้อนขนาดนั้น ถ้าเราใช้เศษผ้าจับกระทะ เราก็อาจจะร้อนนิดหน่อยแต่ยังพอทนไหว

ตามที่เราพอจะเห็นวัสดุต่างกัน ความร้อนที่เรารู้สึกก็จะแตกต่างกันไปด้วย แล้วค่าอะไรล่ะที่จะบอกเราว่าเราต้องสวมถุงมือที่ทำจากอะไรเราถึงจะร้อนน้อยที่สุด ค่านั้นคือค่าการต้านทานความร้อน ( R-Value หรือ Thermal Resistance ) ยิ่งค่า R-Value มากเท่าไหร่ก็ยิ่งกันความร้อนได้มากขนาดนั้น

COMPARE THERMAL CONDUCTIVITY

เราคงพอจะเห็นภาพกันแล้วว่าวัสดุที่แตกต่างกันก็จะกันความร้อนได้แตกต่างกัน ยิ่งค่า R-Value มากก็ยิ่งกันความร้อนได้มากขึ้นเท่านั้น ก็จะยิ่งเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี

ในทางการช่างจะรู้จักกันในค่าการนำความร้อน ( K-Value หรือ Thermal Conductivity ) จะมีค่าเท่ากับ 1 หาร ด้วย R-Value หมายความว่า ถ้าค่าการนำความร้อนมากเนี่ย ความร้อนจะส่งได้ดีมาก อย่างเหล็กจะมีค่าการนำความร้อนที่ดี ( เหล็กถึงส่งความร้อนได้เร็ว ) ส่วนค่าการนำความร้อนที่น้อยก็จะส่งความร้อนไม่ดีมีความเป็นฉนวนกันความร้อนสูง เช่น ไม้ ( ไม้มีค่าการนำความร้อนต่ำ ส่งความร้อนได้ไม่ดี )

ฉนวนกันความร้อนที่ใช้กับงานหลังคา

วัสดุที่ใช้กับงานหลังคาส่วนใหญ่จะใช้งานเป็นฉนวนชนิดเส้นใย เพราะฉนวนโฟมฉีดพ่นติดหลังคาจะมีราคาที่ค่อนข้างแพงกว่า แต่หากใช้งานกับห้องทางการแพทย์ หรือพื้นที่ปลอดฝุ่นก็ควรจะใช้เป็น ฉนวนPE หรือ ฉนวน PU มากกว่า

INSTALLING ROOF INSULATION

ฉนวนกันความร้อนแบบเส้นใยจะมี 2 ชนิดคือ ฉนวนใยแก้ว และฉนวนใยหิน วัสดุ 2 ชนิดนี้จะมีข้อแตกต่างกันดังนี้

วัสดุ ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน
ค่าการนำความร้อน
Thermal Conductivity
0.032 – 0.042 W/m.K 0.033 – 0.036. W/m.K
ความหนาแน่น 12 – 48 กิโลกรัม/ลูกบากศ์เมตร 40 – 100 กิโลกรัม/ลูกบากศ์เมตร
ราคา 95 – 416 บาท/ตารางเมตร 180 – 960 บาท/ตารางเมตร
DIFFERENTBETWEEN ROCKWOOL AND GLASSWOOL

การพิจารณาเลือกซื้อฉนวนสำหรับงานหลังคาก็จะดูที่

  1. ค่าการนำความร้อนต้องต่ำเพื่อที่จะให้ความร้อนลงมาได้น้อยที่สุด
  2. ค่าการดูดซับน้ำต้องต่ำ เพราะหลังคาจะพบกับการรั่วของหลังคาและจะมีการหยดของหยดน้ำ ดังนั้นฉนวนกันความร้อนที่อยู่ใต้หลังคาจะต้องไม่ดูดซับน้ำ แต่ต้องเป็นลักษณะหยดน้ำอยู่บนฉนวนและรอระเหย
  3. ค่าการกันเสียงต้องสูง ( STC หรือ Sound Transmission Class ) เพราะเวลาที่ฝนตกลงบนหลังคาเมทัลชีท จะเกิดเสียงดังอย่างมาก เมื่อเวลาฝนตกในโกดังหรืออาคารแทบจะไม่ได้ยินเสียงอื่นเลย
  4. ฉนวนกันความร้อนต้องไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ไม่เป็นอาหารสัตว์ เพราะฉนวนกันความร้อนจะอยู่เหนือฝ้า-เพดาน ทำให้ยากต่อการสังเกต ถ้าหากเป็นแหล่งเพาะพันธ์หนู หรือเชื้อรา เห็ด เราจะไม่สามารถมองเห็นได้เลย
  5. ฉนวนที่มีความหนาแน่นมากขึ้นก็จะหนัก ดังนั้นค่าโครงสร้างจะเพิ่มสูงขึ้นตามน้ำหนักของฉนวนกันความร้อนด้วย

สินค้าที่เกี่ยวกับงานหลังคา