วิธีหุ้มฉนวนท่อแอร์ (Cold Pipe Insulation) สำหรับท่อแอร์และท่อน้ำเย็น

การติดตั้งฉนวนท่อแอร์ ก็เพื่อรักษาอุณหภูมิน้ำยาแอร์หรือน้ำเย็นในท่อ ป้องกันการเกิดหยดน้ำดังนั้นการหุ้มฉนวนจึงมีความสำคัญอย่างมาก ทั้งด้านความสวยงามและด้านประสิทธิภาพในการหุ้มฉนวน

การหุ้มฉนวนที่ผิดวิธีจะเสียทั้งแรง เสียเวลา บางทีฉนวนเสียหายหรือแอร์เสียหายทำให้ต้องรื้อระบบหรือโดนเพิกถอนงาน การเลือกฉนวนที่ดีและมีการติดตั้งที่ดีจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ

3T แนะนำ

ถ้าอยากทราบรายละเอียดของฉนวนยางดำ ประเภทของฉนวนยางดำการใช้งานอื่นๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

การหุ้มฉนวนท่อแอร์โดยใช้ฉนวนยางดำชนิดท่อ

การตัดฉนวนท่อแอร์

การตัดฉนวนท่อแอร์

ภาพ - การผ่าฉนวนท่อแอร์

เวลาตัดให้คมมีดทำมุมแหลมในการกรีดฉนวน (ไม่ควรตั้งด้ามมีดขึ้นสูง)

เจาะรูฉนวนท่อแอร์

ภาพ - การเจาะรูบนฉนวนท่อแอร์

การทำรูบนฉนวนให้ใช้ท่อเจาะรูบนฉนวน

03

ภาพ - การผ่าฉนวนท่อแอร์ควรผ่าบนผิวเรียบ

ตัดฉนวนยางดำบนพื้นผิวเรียบ

การติดตั้งฉนวนท่อแอร์บนไลน์ท่อที่เดินใหม่ด้วยวิธี Sleeve-on (รูด-สวมท่อ)

sleeve on

ภาพการสวมท่อแบบ Sleeve-on

ในการติดตั้งฉนวนท่อแอร์ชนิดท่อสวมเราสามารถสวมกับท่อและรูดเข้าข้องอต่าง ๆ ได้เลย

คำแนะนำ

อย่าพยายามดึงฉนวนเข้ามุมต่างๆ เพราะอาจจะทำให้ฉนวนฉีกขาดได้

การสวมฉนวนท่อแอร์

ภาพการสวมที่ถูกและการดึงฉนวนที่ผิด

แต่จะมีในบางกรณีถ้ามุมแคบมาก ๆ และเราฝืนรูดเข้ามุมแคบ จะทำให้ฉนวนเกิดขด เป็นริ้วและความหนาในบริเวณนั้นจะลดลงจากที่คำนวณไว้ เมื่อความหนาฉนวนลดลงก็เสี่ยงที่จะเกิดหยดน้ำขึ้นในบริเวณนั้น นำมาซึ่งความเสียหายของท่อและฉนวน

การติดตั้งฉนวนท่อแอร์สำหรับท่อที่เดินไว้แล้วด้วยวิธี Snap-On

การผ่าฉนวน

ภาพการผ่าฉนวนและติดกาวที่รอยต่อ

1. ใช้มีดที่คมในการกรีดฉนวนท่อแอร์ทั้งเส้น
2. สวมฉนวนเข้ากับท่อที่จะติดตั้งและทากาวบริเวณรอยกรีดของฉนวนทั้ง 2 ฝั่ง

ติดฉนวนหุ้มท่อ

ภาพ - การติดตั้งฉนวนหุ้มท่อแอร์

3. ทิ้งไว้ให้กาวแห้ง สามารถทดสอบโดยการใช้นิ้วแตะบริเวณที่ทากาว
4. บีบฉนวนให้ติดกันโดยจับขอบให้ติดกัน

การหุ้มฉนวนท่อแอร์แบบหลายชั้น (Multi-layer Insulation)

ภาพตัดตามขวางการหุ้มท่อแอร์

ภาพ - ตัดขวางฉนวนยางดำที่มีการเหลื่อมรอยผ่า

ภาพตัดตามยาวการหุ้มท่อแอร์

ภาพ - ตัดตามยาวฉนวนยางดำที่มีการเหลื่อมรอยผ่า

การหุ้มฉนวนหลายชั้นโดยใช้ฉนวนชนิดท่อ

ฉนวนท่อในชั้นแรกเราจะเลือกขนาดรูในฉนวนตามขนาดเส้นผ่านศูนยกลางของท่อ แต่ฉนวนชั้นที่สองเราจะเลือกตามขนาด O.D. ของฉนวนยางชั้นแรก

I.D. ชั้นที่ 2 = O.D. ชั้นที่ 1

การหุ้มฉนวนหลายชั้นโดยใช้ฉนวนชนิดท่อร่วมกับแผ่นฉนวนยางดำ

ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อหลังจากหุ้มฉนวนมีขนาดใหญ่เพียงพอ เราจะแนะนำให้ใช้ฉนวนยางดำชนิดแผ่นในการหุ้มชั้นที่ 2 เพราะเราสามารถตัดฉนวนชนิดแผ่นให้พอดีขนาดท่อชั้นแรกได้

การหุ้มฉนวนหลายชั้นโดยใช้ฉนวนชนิดท่อร่วมกับแผ่นฉนวนยางดำ

ในบางกรณีที่ขนาดของ OD ท่อใหญ่กว่า 3 นิ้ว (89 มม.) เราสามารถเลือกใช้ฉนวนยางแผ่นในการหุ้มได้

คำแนะนำ

ที่บริเวณปลายของฉนวนหุ้มท่อจะต้องซีลด้วยกาวให้แนบสนิทกับฉนวนชั้นแรก เพื่อป้องกันการหย่อนตัวของฉนวนและเกิดโพรงอากาศภายใน และถ้าหากท่อมีขนาดใหญ่กว่า 24 นิ้ว (600 มม.) เราจะต้องทากาวทั่วทั้งแผ่นฉนวนชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ในการติดตั้ง เพื่อป้องกันการเกิด CUI (Corrosion under insulation)

การหุ้มฉนวนหลายชั้นสำหรับพื้นผิวเรียบโดยใช้แผ่นฉนวนยางดำ

11

ภาพ - การติดตั้งฉนวนยางดำกับวัสดุพื้นผิวเรียบ

ในกรณีที่เราหุ้มฉนวนหลายชั้น ชั้นที่ 1 เราจะทากาวทั่วทั้งผิวท่อและทั่วทั้งแผ่นฉนวนก่อนติดตั้ง ส่วนในชั้นที่ 2 ก็จะต้องหุ้มให้แนบสนิทกับชั้นแรกซึ่งเราจะต้องทากาวทั่วทั้งผิวของชั้นก่อนหน้าและแผ่นฉนวนชั้นที่ 2

บริเวณรอยต่อที่เป็นเส้นสีเหลืองเราจะหุ้มโดยการเหลื่อมรอยต่อ และในทุก ๆ รอยต่อจะต้องทำการซีลด้วยกาวทาฉนวน

การใช้ ArmaFlex Template

17

ภาพ - Armaflex Template

การตัดต่อข้องอต่างๆ สามารถใช้รูปแบบที่เขียนไว้ข้างกล่องของฉนวนยางดำ ArmaFlex Class1 ได้เลย โดยมีตั้งแต่ การตัด 11.25° , 15°, 22.5° และ 45° ซึ่งครอบคลุมในการปฏิบัติงาน

ตัดฉนวนข้องอ 90°

การตัดข้องอ

ภาพ - การตัดเข้ามุม 90°

การตัดด้วยมุม 45° ตามเส้นสีเหลืองเราจะสามารถติดตั้งในมุม 90° ได้

ตัดฉนวนข้องอ 45°

การตัดข้องอ

ภาพ - การตัดเข้ามุม 45°

การตัดด้วยมุม 22.5° ตามเส้นสีเหลืองเราจะสามารถติดตั้งในมุม 45° ได้

ตัดฉนวนข้องอ 90° แบบมีชิ้นกลาง 1 ชิ้น

การตัดข้องอ

ภาพ - การตัดเข้ามุม 90° แบบมีชิ้นกลาง 1 ชิ้น

การตัดด้วยมุม 22.5° ตามเส้นสีเหลือง 2 ตำแหน่ง เราจะสามารถติดตั้งในมุม 90° ได้ โดยได้ชิ้นกลาง 1 ชิ้น

ตัดฉนวนข้องอ 90° แบบมีชิ้นกลาง 2 ชิ้น

การตัดข้องอ

ภาพ - การตัดเข้ามุม 90° แบบมีชิ้นกลาง 2 ชิ้น

การตัดด้วยมุม 15° ตามเส้นสีเหลือง 3 ตำแหน่ง เราจะสามารถติดตั้งในมุม 90° ได้ โดยได้ชิ้นกลาง 2 ชิ้น

ตัดฉนวนข้องอ 90° แบบมีชิ้นกลาง 3 ชิ้น

การตัดข้องอ

ภาพ - การตัดเข้ามุม 90° แบบมีชิ้นกลาง 3 ชิ้น

การตัดด้วยมุม 11.25° ตามเส้นสีเหลือง 4 ตำแหน่ง เราจะสามารถติดตั้งในมุม 90° ได้ โดยได้ชิ้นกลาง 3 ชิ้น

ตัดฉนวนเป็นเครื่องหมายบวก +

23

ภาพ - การตัดป็นเครื่องหมายบวก +

เราจะทำการตัดข้องอ 90° จำนวน 2 ชิ้นและจะทำการตัดเป็นมุม 45° อีกครั้งที่บริเวณมุมของข้องอตามเส้นสีเหลืองในภาพ

ตัดฉนวนเป็นท่อตัว Y

การตัดฉนวนท่อแอร์ตัว Y

ภาพ - การตัดท่อตัว Y

เราจะทำการตัดข้องอ 45° จำนวน 2 ชิ้น และข้องอ 90° จำนวน 1 ชิ้น จากนั้นใช้กาวทาฉนวนติดข้องอที่ตัดมาตามภาพ และตัดมุมของข้องอ 90° ออกและนำฉนวนท่อตรงมาติดด้วยกาวทาฉนวน

ตัดฉนวนเป็นท่อโค้งตัว T

การตัดฉนวนท่อโค้งตัว T

ภาพ - การตัดท่อโค้งตัว T

ทำการตัดท่อโค้ง 90° จำนวน 2 ชิ้น และทำการผ่ากลางของท่อตามเส้นสีเหลือง และใช้กาวยึดฉนวนทาทั้ง 2 ชิ้นให้ติดกัน

ตัดฉนวน 3 ทางรูปตัว T-Piece

วิธีที่ 1 “ Punched Hole ” T Piece

การตัดฉนวนท่อแอร์ 3 ทาง

ภาพ - การตัดฉนวนด้วยวิธี Punched Hole

  1. เจาะรูบริเวณฉนวนที่ต้องการติดตั้งด้วยท่อขนาดเดียวกัน
  2. คว้านเนื้อฉนวนให้เป็นครึ่งวงกลมตามเส้นสีเหลือง
  3. ใช้กาวทาฉนวนซีลบริเวณรอยต่อเพื่อจบงาน

วิธีที่ 2 “ Mitre-Block ” T Piece

การตัดฉนวนท่อแอร์ 3 ทาง

ภาพ - การตัดฉนวนด้วยวิธี Mitre-Block

  1. ตัดฉนวนยางดำที่ปลายของท่อแยกด้วยมุม 45° 
  2. ตัดฉนวนยางดำที่บริเวณท่อหลักด้วยมุม 90°
  3. ต่อฉนวนที่บากร่องแล้วเข้าด้วยกัน ด้วยกาวติดฉนวน

การหุ้มฉนวนข้อต่อเกลียว 90°

วิธีที่ 1 ใช้ฉนวนที่ขนาดใหญ่กว่าหุ้มทับ

การหุ้มฉนวนข้อต่อเกลียว

ภาพ - การหุ้มฉนวนข้อต่อเกลียว โดยการใช้ท่อที่ใหญ่กว่า

  1. ขนาดรูในของฉนวนที่หุ้มข้อต่อจะเท่ากับขนาดของท่อเดิม + ความหนาฉนวนที่หุ้มแล้ว เช่น ขนาดท่อ 10 มม. ฉนวนหนา 19 มม. เราจะใช้ฉนวนในการหุ้มข้อต่อขนาด 48 มม. ความหนาฉนวน 19 มม. 
  2. หุ้มฉนวนข้อต่อโดยให้มีส่วนที่เกยทับกับฉนวนของท่อตรงประมาณ 25 มม.
  3. ใช้กาวทาฉนวนในการซีลปิดหัวท้าย ในส่วนที่เกยกัน

วิธีที่ 2 ใช้ฉนวนหุ้มแบบแนบสนิท 90°

การหุ้มฉนวนข้อต่อเกลียว

ภาพ - การหุ้มฉนวนข้อต่อเกลียว โดยวิธีแนบสนิท

  1. ฉนวนที่นำมาหุ้มข้อต่อเกลียว นี้จะใช้ฉนวนชนิดท่อที่มีขนาดเท่ากับ OD ของข้อต่อเกลียวและมีความยาวแต่ละด้านอย่างน้อย 40 มม. จากรอยต่อของข้อต่อเกลียว
  2. สำหรับท่อที่มีขนาดใหญ่กว่า 35 มม. ให้ตัดเนื้อฉนวนที่ ปลายฉนวนเป็นรูปลิ่มและหุ้มฉนวนให้แนบสนิทกับของท่อตรง จากนั้นใช้กาวซีลบริเวณรอยต่อ

การหุ้มฉนวนข้อเบี่ยงตัว T (T-Piece off-set)

วิธีที่ 1

การทำรูบนฉนวนท่อแอร์

ภาพ - ใช้ท่อที่มีปลายคมเจาะเนื้อฉนวนออก

1. ใช้ท่อที่มีปลายคมเจาะฉนวนให้เป็นรูตามแนวที่จะหุ้มฉนวน

31

ภาพ - ตัดท่อแยกด้วยมุม 45°

2. ตัดฉนวนท่อแยกด้วยมุม 45° และคว้านปลายฉนวนเป็นครึ่งวงกลม
3. ใช้กาวทาฉนวนติดท่อแยกและท่อหลักเข้าด้วยกัน

วิธีที่ 2

32

ภาพ - ตัดฉนวนด้วยมุม 45°

1. ตัดฉนวนท่อแยกด้วยมุม 45° ตามเส้นสีเหลือง 

33

ภาพ - ตัดฉนวนด้วยมุม 22.5°

2. ตัดฉนวนอีกฝั่งด้วยมุม 22.5°
3. ใช้กาวซีลฉนวนท่อแยกเข้ากับท่อหลัก

การหุ้มฉนวนข้อลด (Reducer)

การหุ้มฉนวนข้อลด

ภาพ - ข้อลดที่ต้องการหุ้มฉนวน

1. ใช้ท่อที่มีปลายคมเจาะฉนวนให้เป็นรูตามแนวที่จะหุ้มฉนวน

35

ภาพ - การผ่าเนื้อฉนวนออกเป็นลิ่ม

ผ่าฉนวนที่ปลายออกเป็นรูปลิ่มและเชื่อมต่อบริเวณที่ผ่าด้วยกาว

36

ภาพ - การตัดฉนวนหุ้มข้อลด

ตัดปลายฉนวนให้เท่ากับขนาดความยาวของข้อลด

37

ภาพ - ฉนวนหุ้มข้อลดหลังจากติดตั้ง

ใช้กาวซีลทุกรอยต่อที่หุ้มฉนวนเพื่อเก็บงาน

คำแนะนำ

ถ้าหากว่าท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกิน 500 มม. ควรทากาวที่ด้านใต้ของท่อเพื่อป้องกันการสั่นไปมาของฉนวน

หุ้มท่อโค้ง 90° ด้วยฉนวนชนิดแผ่น

หาเส้นรอบวงท่อ

ภาพ - การใช้ Strip ในการหาเส้นรอบวงท่อ

หารัศมีของข้องอและเส้นรอบวงของท่อที่ต้องการหุ้ม และตัดฉนวนตามรูปแบบด้านล่าง

แบบตัดฉนวนข้องอ

ภาพ - แบบกาวตัดฉนวน

r = รัศมีของข้องอ (มม.)
1/2 C = ครึ่งหนึ่งของเส้นรอบวงท่อ (มม.)
t’ = ความหนาฉนวน (มม.)

44

ภาพ - การตัดฉนวนหุ้มข้องอด้วยฉนวนยางดำชนิดแผ่น

ตัดฉนวนตามแบบที่ร่างไว้ชิ้นแรก แล้วจึงนำชิ้นงานแรกมาเป็นแบบในการตัดชิ้นที่ 2 ต่อ

45

ภาพ - การติดฉนวนด้วยหุ้มข้องอด้วยกาว

ทากาวที่ขอบด้านนอกของฉนวนและนำทั้ง 2 ชิ้นติดเข้าด้วยกัน

46

ภาพ - การติดฉนวนด้วยหุ้มข้องอด้วยกาว

เริ่มติดจากบริเวณของปลายก่อนแล้วจึงติดที่ตรงกลาง จากนั้นกดทุกส่วนให้ติดกัน

ติดกาวข้องอ

ภาพ - การติดฉนวนด้วยหุ้มข้องอด้วยกาว

ทากาวที่ขอบด้านในทิ้งไว้เพื่อนำไปติดตั้ง

การหุ้มฉนวนข้องอ

ภาพ - การติดฉนวนด้วยหุ้มข้องอ

ติดตั้งฉนวนและซีลปิดบริเวณรอยต่อด้วยกาว

แบ่งปันเรื่องราว