การออกแบบอาคารเขียว ตามมาตรฐาน TREES

มาตรฐาน TREES คืออะไร

ในปี พ.ศ. 2552 สมาคมสถาปนิกสยามและวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดตั้ง สถาบันอาคารเขียวไทย เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาแนวคิดและส่งเสริมให้เจ้าของอาคาร พัฒนาอาคารไปสู่อาคารเขียวเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

สถาบันอาคารเขียวไทย

ประเภทของ TREES ในการรับรองอาคารเขียว

1. TREES-NC/CS (New Construction and Major Renovation / Core and Shell Building) เกณฑ์การประเมินสำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่ และอาคารประเภทพื้นที่ส่วนกลางและกรอบอาคาร

2. TREES-EB (Existing Building Operation and Maintenance) เกณฑ์การประเมินสำหรับอาคารระหว่างใช้งาน

TREES มีเกณฑ์การประเมินอย่างไร

การประเมินอาคารเขียว ตามมาตรฐานของ TREES จะมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น 8 หมวดหมู่ดังนี้

    1. การบริหารจัดการอาคาร ( BM : Building Management )
    2. ผังบริเวณและภูมิทัศน์ ( Site and Landscape )
    3. การประหยัดน้ำ ( WC : Water Conservation )
    4. พลังงานและบรรยากาศ ( EA : Energy and Atmosphere )
    5. วัสดุและทรัพยากรณ์ในการก่อสร้าง ( MR : Materials and Resources )
    6. คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร ( IE : Indoor Environmental Quality )
    7. การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ( EP : Environmental Protection )
    8. นวัตกรรม ( GI : Green Innovation )
หัวข้อ รายละเอียด คะแนน
BM หมวดที่ 1 การบริหารจัดการอาคาร (Building Managemrnt) 3 (1)
BM P1 การเตรียมความพร้อมความเป็นอาคารเขียว บังคับ
BM 1 การประชาสัมพันธ์สู่สังคม 1
BM 2 คู่มือและการฝึกอบรมแนะนำการใช้งานและบำรุงรักษาอาคาร 1
BM 3 การติดตามและประเมินผลขณะออกแบบ ก่อสร้างและเมื่ออาคารแล้วเสร็จ 1
SL หมวดที่ 2 ผังบริเวณและภูมิทัศน์ (Site and Landscape) 18 (2)
SL P1 การหลีกเลี่ยงที่ตั้งที่ไม่เหมาะกับการสร้างอาคาร บังคับ
SL P2 การลดผลกระทบต่อพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ บังคับ
SL 1 การพัฒนาโครงการบนพื้นที่ที่พัฒนาแล้ว 2
SL 2 การลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว 6
SL 3 การพัฒนาผังพื้นที่โครงการที่ยั่งยืน 3
SL 3.1 มีพื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ฐานอาคาร 1
SL 3.2 มีต้นไม้ยืนยืนต้น 1 ต้นต่อ พื้นที่เปิดโล่ง 100 ตารางเมตร (ห้ามย้ายไม้ยืนต้นมาจากที่อื่น) 1
SL 3.3 ใช้พืชพรรณพื้นถิ่นที่เหมาะสม 1
SL 4 การซึมน้ำและลดปัญหาน้ำท่วม 4
SL 5 การลดปรากฎการณ์เกาะความร้อนในเมืองจากการพัฒนาโครงการ 3
SL 5.1 มีการจัดสวนบนหลังคาหรือสวนแนวตั้งหรือใช้วัสดุสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์สูง 2
SL 5.2 มีพื้นที่ดาดแข็งที่รับรังสีตรงจากดวงอาทิตย์ไม่เกินร้อยละ 50 ของพื้นที่โครงการ 1
WC หมวดที่ 3 การประหยัดน้ำ (Water Conservation) 6
WC 1 การประหยัดน้ำและการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ 6
EA หมวดที่ 4 พลังงานและบรรยากาศ (Energy and Atmosphere) 31 (2)
EA P1 การประกันคุณภาพอาคาร
มีแผนการตรวจสอบและปรับแต่งระบบโดยบุคคลที่สาม
บังคับ
EA P2 ประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำ บังคับ
EA 1 ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 20
EA 2 การใช้พลังงานทดแทน
ผลิตพลังงานทดแทน ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 – 6.5 ของปริมาณค่าใช้จ่ายพลังงานในอาคาร
7
EA 3 การตรวจสอบและพิสูจน์ผลเพื่อยืนยันการประหยักพลังงาน 3
EA 4 สารทำความเย็นในระบบปรับอากาศที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ
ไม่ใช้สาร CFC และ HCFC-22
1
MR หมวดที่ 5 วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง 13
MR 1 การใช้อาคารเดิม
เก็บรักษาพื้นหรือหลังคาของอาคารเดิมไว้ร้อยละ 50-70 ของพื้นที่ผิว
2
MR 2 การบริหารจัดการขยะจากการก่อสร้าง
นำขยะไปใช้หรือรีไซเคิล 50-75% ของปริมาตรหรือน้ำหนัก
2
MR 3 การเลือกใช้วัสดุใช้แล้ว
นำวัสดุก่อสร้างกลับมาใช้ใหม่เป็นมูลค่าร้อยละ 5-10
2
MR 4 การเลือกใช้วัสดุรีไซเคิล
ใช้วัสดุเป็นมูลค่าร้อยละ 10-20
2
MR 5 การใช้วัสดุพื้นถิ่นหรือในประเทศ
การใช้วัสดุที่ ขุด ผลิต ประกอบ หรือวัสดุพื้นถิ่นหรือในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 10-20 ของมูลค่าวัสดุก่อสร้างทั้งหมด
2
MR 6 วัสดุที่ผลิตหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ 3
IE หมวดที่ 6 คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร
(Indoor Environmental Quality)
18
IE P1 ปริมาณการระบายอากาศภายในอาคาร
อัตราการระบายอากาศผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน
บังคับ
IE P2 ความส่องสว่างภายในอาคาร
ความส่องสว่างขั้นต่ำผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
บังคับ
IE 1 การลดผลกระทบมลภาวะ 6
IE 2 การเลือกใช้วัสดุที่ไม่ก่อมลพิษ 4
IE 3 การควบคุมแสงสว่างภายในอาคาร
แยกวงจรแสงประดิษฐ์ทุก 250 ตารางเมตรหรือตามความต้องการ
1
IE 4 การใช้แสงธรรมชาติภายในอาคาร
ออกแบบให้ห้องที่มีการใช้งานประจำได้มีแสงตามธรรมชาติแย่างพอเพียง หรือสามารถมองเห็นทัศนียภาพภายนอกอย่างพอเพียง
4
IE 5 สภาวะน่าสบาย
อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในส่วนที่มีการปรับอากาศเหมาะสมตามมาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ
3

EP หมวดที่ 7 การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(Environmental Protection)
5 (2)
EP P1 การลดมลพิษจากการก่อสร้าง
มีแผนและดำเนินการป้องกันมลพิษและสิ่งรบกวนจากการก่อสร้าง
บังคับ
EP P2 การบริหารจัดการขยะ
การเตรียมพื้นที่แยกขยะ
บังคับ
EP 1 ใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยในระบบดับเพลิง
ไม่ใช้สารฮาลอน (Halon) หรือ ซีเอฟซี (CFC) หรือ เอสซีเอฟซี (HCFC) ในระบบดับเพลิง
1
EP 2 ตำแหน่งเครื่องระบายความร้อน
การวางตำแหน่งเครื่องระบายความร้อนห่างจากที่ดินข้างเคียง
1
EP 3 การใช้กระจกภายนอกอาคาร
กระจกมีค่าสะท้อนแสงไม่เกิน 15
1
EP 4 การควบคุมโรคที่เกี่ยวข้องกับอาคาร
ปฏิบัติตามประกาศกรมอนามัยเรื่องข้อปฏิบัติการควบคุมเชื้อลีจีโนเนลลา (Legionella) ในหอระบายความร้อนของอาคารในประเทศ
1
EP 5 ติดตั้งมาตรวัดไฟฟ้าที่ใช้กับระบบบำบัดน้ำเสีย หรือพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาตรฐาน
ติดตามการใช้พลังงานของระบบบำบัดน้ำเสีย หรือพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาตรฐาน
1
GI หมวดที่ 8 นวัตกรรม (Green Innovation) 6
GI 1-5 มีเทคนิควิธีที่ไม่ได้ระบุไว้ในแบบประเมิน 5
GI 6 มี TREES-A NC เป็นที่ปรึกษาโครงการ 1

ในการประเมินทุกระดับผู้ประเมินต้องผ่านการทำคะแนนข้อบังคับ 9 ข้อ หากไม่สามารถทำคะแนนข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งได้ จะถือว่าไม่สามารถเข้าร่วมการประเมินได้

เป็นรายละเอียดเป็นไปตามมาตรฐาน TREES-NC-v2

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันอาคารเขียวไทย (Thai Green Building Institute)

การรับรองอาคารที่เข้าร่วมการประเมินแบ่างรางวัลเป็น 4 ระดับ ตามคะแนนดังนี้

PLATINUM 80 คะแนน ขึ้นไป

GOLD 60 – 79 คะแนน

SILVER 50 – 59 คะแนน

CERTIFIED 40 – 49 คะแนน

PLATINUM 80 คะแนน
GOLD 60 – 79 คะแนน
SILVER 50 – 59 คะแนน
CERTIFIED 40 – 49 คะแนน

แบ่งปันเรื่องราว