เรื่องต้องรู้ก่อน ติดตั้งฉนวนกันเสียง ฉนวนซับเสียง
“เสียง” ปัญหาที่ใครหลายคนพบเจอ ทั้งเสียงสะท้อนในอาคารที่ทำให้การสื่อสารยากลำบาก เสียงดังที่ทำให้ไม่มีสมาธิขณะทำงาน อยากจะแก้ปัญหาเหล่านี้ต้องทำอย่างไร จากปัญหาที่พบเจอได้บ่อยแบบนี้ จึงมีการสร้างฉนวนกันเสียง วัสดุซับเสียง ฉนวนกันเสียง ขึ้นมา
ฉนวนกันเสียง และ ฉนวนซับเสียง เป็นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อจัดการปัญหาเสียงที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งเสียงดัง เสียงก้อง เสียงสะท้อน ลำดับแรกเราต้องรู้จักประเภทของปัญหา และการเลือกวัสดุเพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหากันก่อน
เสียงก้อง และเสียงดัง ต้นตอของปัญหาเรื่องเสียง ?
เสียงก้อง คือ การที่เสียงสะท้อนกับวัสดุ อาจเป็นผนัง หรือ เพดาน สะท้อนกลับไปกลับมาทำให้บริเวณนั้นเกิดเสียงอื้ออึง ดังก้องไปทั่วบริเวณ
เสียงดัง เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดทำเสียงดัง แต่เสียงดังที่เราได้ยินเพราะไม่มีการป้องกันวัสดุ ผนังหรือเพดาน ก่อนที่จะถึงหูของเรา
ฉนวนกันเสียงและฉนวนซับเสียง คืออะไร?
ฉนวนกันเสียง คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติ “ป้องกัน” ไม่ให้เสียงจากห้องหนึ่งทะลุไปอีกห้องหนึ่งได้ วัสดุส่วนใหญ่จะถูกใช้กับผนัง เช่น ผนังอิฐ ผนังโครงเบา เพื่อใช้กั้นห้องและป้องกันเสียงจากภายนอก
ฉนวนซับเสียง คือ วัสดุที่ ลดเสียงก้อง และ ลดเสียงสะท้อน เนื้อวัสดุมีรูพรุนภายในเมื่อเสียงมากระทบจะถูกดูดซับไว้ ทำให้เสียงสะท้อนลดลง ส่วนใหญ่ทำมาจาก ใยแก้ว ใยหิน ฟองน้ำ หรือแผ่นโฟม และปิดผิวภายนอกด้วยผ้า หรือวัสดุกันความชื้น
ความแตกต่างของฉนวนกันเสียง และ ฉนวนซับเสียง
ฉนวนกันเสียง และ ฉนวนซับเสียง คือวัสดุที่ผลิตขึ้นมาจัดการปัญหาที่แตกต่างกัน โดยที่ ฉนวนกันเสียงจะทำหน้าที่ “ป้องกัน” ไม่ให้เสียงผ่านไปได้ช่วยแก้ปัญหา “เสียงดัง” จะพิจารณาจากค่า STC (Sound Transmission Class) เป็นหลัก ส่วนฉนวนซับเสียง จะทำหน้าที่ “ดูดซับ” เสียงภายในห้อง ช่วยแก้ปัญหาเรื่อง “เสียงสะท้อน” และ “เสียงก้อง” จะพิจารณาที่ค่า NRC (Noise Reduction Coefficient) และ ค่า SAC (Sound Absorbtion Coefficient) เป็นหลัก
ฉนวนกันความร้อน กับ ฉนวนกันเสียงต่างกันอย่างไร
ความแตกต่างระหว่างฉนวนกันความร้อนและฉนวนกันเสียง คือ ฉนวนกันความร้อนมีเป้าหมายเพื่อลดความร้อน จะพิจารณาจาก ค่าการนำความร้อน (Thermal Conductivity : K-Value) ส่วนฉนวนกันสียงมีเป้าหมายเพื่อลดความดังของเสียง จะพิจารณาค่า STC (Sound Transmission Class) เป็นหลักในบางครั้งฉนวนกันความร้อนและฉนวนกันเสียงอาจจะเป็นวัสดุชนิดเดียวกัน เช่น ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน เพราะค่าการนำความร้อนที่ต่ำจึงเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี และมีโครงสร้างพรุน สามารถดูดซับและป้องกันเสียงได้ จึงเป็นฉนวนกันเสียงที่ดีเช่นกัน
การใช้งานฉนวนกันเสียง และ ฉนวนซับเสียง
ประโยชน์ของฉนวนซับเสียง
- ห้องประชุม ห้องสัมมนา ควรมีการใช้ฉนวนซับเสียง เพราะมีการสื่อสาร พูดคุยบ่อยครั้ง จึงทำให้เกิดการสะท้อนของเสียงบ่อยครั้ง ส่งผลให้การสื่อสารนั้นยากลำบาก และในบางครั้งอาจไม่ได้ยินผู้พูดด้วย
- โรงละคร โรงภาพยนต์ ควรติดตั้งฉนวนซับเสียง เพื่อลดการสะท้อนของเสียงภายในห้องที่อาจส่งผลกับอรรถรสของการแสดงหรือภาพยนต์ได้
- ห้องคาราโอเกะ ห้องอัดเสียง ต้องมีการติดตั้งฉนวนซับเสียง เพื่อป้องกันเสียงไม่พึงประสงค์เข้าไมโครโฟนขณะอัดเสียง ซึ่งจำทำให้ผลงานนั้นเสียหาย
ประโยชน์ของฉนวนกันเสียง
- ห้องพัก หรือห้องนอน ควรกั้นห้องด้วยผนังติดตั้งฉนวนกันเสียง เพื่อที่จะป้องกันเสียงของห้องอื่นเข้ามาในห้องเรา และป้องกันเสียงจากห้องเราผ่านไปห้องอื่นเหมือนกัน
- ห้องทำงานที่ติดกับบริเวณที่มีเสียงดัง ควรติดตั้งฉนวนกันเสียง ป้องกันเสียงจากบริเวณภายนอกเข้ามารบกวน สมาธิในการทำงาน ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมาก
- เครื่องจักร หรือ อาคารที่มีการทำงานของเครื่องจักร ฉนวนกันเสียงจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เสียงดังนี้ออกไปรบกวนบุคคลโดยรอบ
ฉนวนกันเสียงและฉนวนซับเสียง แนะนำ
ฉนวน Safe ’n’ Silent Pro จาก ROCKWOOL
เป็นฉนวนกันเสียงและฉนวนกันความร้อน วัสดุเป็นฉนวนใยหิน ที่ผลิตขึ้นจากหินภูเขาไฟหลอมเหลว ความสามารถในการดูดซับเสียงที่ 90% (NRC 0.9) ช่วยให้ห้องที่ออกแบบผ่านมาตรฐานการวัดเสียง NC (Noise Criteria) ซึ่งเป็นข้อกำหนดในการออกแบบห้อง
ฉนวน M-Sorb จาก M-PE
เป็นฉนวนกันเสียงลดเสียงสะท้อน วัสดุเป็น PE (Polyethylene Foam) ปรับแต่งผิวเป็นลักษณะของีระมิดเพื่อควบคุมการสะท้อนและทิศทางของเสียงได้
ฉนวนซับเสียง Armar Phonic จาก Armacell
ฉนวน ArmaPhonic เป็นฉนวนซับเสียงแบบพิเศษ มีโครงสร้างแบบเซลล์เปิดช่วยให้สามารถดูดซับเสียงได้ดี เนื่องจากเป็นยางจึงไม่มีเส้นใย มีการพัฒนาให้เนื้อวัสดุบางลงแต่คงประสิทธิภาพเดิมไว้ ใช้กับงานปรับอากาศขนาดใหญ่ HVAC รวมถึงเครื่องจักรในโรงงาน
ฉนวน Cylence จาก SCG
ฉนวนกันเสียงและฉนวนซับเสียง Cylence จาก SCG มีหลากหลายรุ่นให้เลือกใช้งาน ซึ่งเป็นวัสดุที่ออกแบบมาสำหรับงานเสียงแต่ละประเภทโดยเฉพาะ ทั้งการลดเสียงก้อง เสียงสะท้อน เสียงดัง เหมาะกับอาคารที่มีหลากหลายห้องที่มีการใช้งานที่แตกต่างกัน