วิธีหุ้มฉนวนใยหิน ROCKWOOL สำหรับท่อความร้อน

งานระบบท่อ รับหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งในอุตสาหกรรมเคมี หรือปิโตเลียม อย่างเช่น ในโรงไฟฟ้ากำลังมีอุปกรณ์หลายอย่างมากมายทั้ง คอลัมภ์ (Columns) , ถังเก็บความดัน (Pressure Vessels) , หม้อต้มไอน้ำ (Boilers), กังหันผลิตไฟฟ้า (Turbines) และอื่นๆ 

ระบบท่อจะทำการส่งวัตถุดิบจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ซึ่งภายในอาจจะเป็นทั้งสารเคมีหรือไอน้ำโดยที่สารภายในนั้นจะต้องคงสภาพเดิม (ทั้งอุณหภูมิ, ความหนืด, ความดัน) เพื่อที่จะนำไปใช้ต่อไป

สิ่งสำคัญคือการคงสภาพเดิมของสารภายในท่อจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ผู้ออกแบบจะต้องมั่นใจว่าระบบท่อหุ้มฉนวนจะมีการสูญเสียความร้อนน้อยที่สุดและรักษาพลังงานไว้ให้ได้มากที่สุด

ท่อสีขาว

งานระบบท่อความร้อน

ความต้องการในการหุ้มฉนวนท่อความร้อน

เป้าหมายในการหุ้มฉนวนท่อความร้อน

    • ลดการสูญเสียความร้อน (ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน)
    • ลดการปล่อย CO2
    • ฉนวนใยหินที่ใช้สามารถรักษาอุณหภูมิของระบบได้
    • ลดเสียงรบกวนจากระบบท่อ
    • สามารถป้องกันการเกิดหยดน้ำ
    • ป้องกันความร้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์เมื่อสัมผัสโดน
    • ป้องกันและยับยั้งการเกิดเพลิงไหม้
ฉนวนงานระบบท่อความร้อน

มาตรฐานในงานหุ้มฉนวนท่อความร้อน

การใช้งานและติดตั้งควรพิจารณาจากมาตรฐานและกฎหมายเหล่านี้

      • DIN 4140 : งานฉนวนกันความร้อนสำหรับโรงไฟฟ้าและอุปกรณ์
      • AGI Q101 : งานฉนวนกันความร้อนสำหรับอุปกรณ์ในโรงไฟฟ้ากำลัง
      • CINI-Manual : งานฉนวนกันความร้อนสำหรับงานอุตสาหกรรม
      • BS 5970 : กฎในการปฏิบัติงานฉนวนกันความร้อนสำหรับท่อน้ำร้อน, ระบบท่อแอร์ และ รวมถึงอุปกรณ์อื่นในอุตสาหกรรม

ระบบฉนวนกันความร้อนสำหรับท่อร้อน

งานหุ้มฉนวนท่อความร้อนจะมีการหุ้มแผ่นโลหะ (Cladding) หลังจากการหุ้มฉนวนแล้วเพื่อป้องกันท่อและฉนวนจากสภาพอากาศและแรงกระทำจากภายนอก (เช่น การชน กระแทก หรือการเดินบนท่อเพื่อเข้าทำการซ่อมบำรุง

การติดตั้งสเปซเซอร์ จำเป็นต้องติดตั้งเมื่อเราหุ้มท่อด้วยฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่าย เพราะฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่ายจะไม่ทนต่อแรงกดทับจากแรงภายนอกและน้ำหนักของแผ่นโลหะที่ปิดผิว (ถ้าแผ่นโลหะกดทับลงบนเนื้อฉนวนโดยตรงจะทำให้ฉนวนใยหินยุบลง ความหนาของฉนวนจะลดลงและทำให้สูญเสียพลังงานมากขึ้น)

ดังนั้นการติดตั้งสเปซเซอร์จะทำให้น้ำหนักที่กดทับจากภายนอกส่งไปที่ท่อโดยตรงซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบใดๆกับระบบฉนวน

spacer

สเปซเซอร์สำหรับติดตั้งฉนวนใยหิน ที่มา - Integrity-products

ฉนวนใยหินสำหรับหุ้มท่อ ชนิดท่อสำเร็จรูป (ProRox Pipe Section)

ROCKWOOL ได้ทำการพัฒนาท่อใยหินชนิดสำเร็จรูป ProRox PS WR-Tech ที่จะลดปริมาณสารคลอไลน์ลงให้ต่ำกว่า 10 ppm เพื่อป้องกันการเกิดการกัดกร่อนของท่อเหล็กและป้องกันการกัดกร่อนภายใต้ฉนวน

ฉนวนท่อสำเร็จรูปมีตั้งแต่ขนาดเล็ก 1/2” NPS (23mm) จนถึงขนาดใหญ่ 36” NPS (915mm) และมีความหนาตั้งแต่ 25 – 100 mm ทำให้ผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้ได้หลากหลาย ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือ ติดตั้งง่ายและช่วยลดเวลาการติดตั้งได้มาก เพราะเพียงแค่สวมลงไปที่ท่อเหล็กก็สามารถใช้งานได้เลยและยังไม่ต้องติดตั้งสเปซเซอร์เหมือนอย่างชนิดม้วนลวดตาข่าย

Rockwool insulation piping

ใยหินท่อสำเร็จรูปมีความหนาแน่นที่สูง 120 กก./ลบ.ม และ 150 กก./ลบ.ม ทำให้สามารถทนแรงกดทับได้ ส่วนฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่าย นั้นจะนิ่มกว่าเพราะมีความหนาแน่นที่ 80/100/128 กก./ลบ.ม เท่านั้น

ฉนวนใยหินสำหรับหุ้มท่อ ชนิดม้วนลวดตาข่าย (ProRox Wire Mat)

ใยหินฉนวนม้วน ลวดตาข่ายเช่น ProRox WM จะผลิตขึ้นจากเส้นใยของหินภูเขาไฟ โดยทำให้ติดกันด้วยตัวประสาน และมี WR-Tech ที่เป็นนวัตกรรมเฉพาะของ ROCKWOOL ที่จะทำการลดปริมาณสารคลอไรด์ให้ต่ำกว่า 10 ppm เพื่อลดการเกิดสนิมภายใต้ฉนวน

ผลิตภัณฑ์ทั่วไปจะใช้ลวดตาข่ายที่เป็นลวดกัลวาไนซ์ แต่จะมีผลิตภัณฑ์พิเศษที่ใช้เป็นลวดแสตนเลสด้วยเช่นกัน ฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่ายนั้น จะใช้กับท่อขนาดใหญ่ 14” NPS (DN 350) หรือข้อต่อต่างๆ ที่ยากต่อการใช้ฉนวนใยหิน ชนิดท่อสำเร็จ เช่น ข้อต่อ 3 ทาง (T-Joint) ข้องอ (Elbow) หรือจำพวกหน้าแปลนต่างๆ

การใช้ฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่ายในการหุ้มเพราะว่าสามารถตัดต่อได้ง่ายเพียงใช้มีดกรีดตัดเนื้อฉนวนและใช้คีมตัดลวดก็สามารถใช้งานได้เลย

แต่ตัวฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่ายนั้น จะไม่ทนแรงกดจึงต้องใช้งานร่วมกับ สเปซเซอร์ หรือ ซัพพอตท่อ เพื่อรักษาความสามาถของระบบฉนวนเอาไว้

ระบบท่อหุ้มฉนวน

ระบบท่อที่ติดตั้งฉนวนใยหินและ cladding เรียบร้อยแล้ว ที่มา - ROCKWOOL PROCESS MANUAL

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระบบฉนวนชนิดท่อสำเร็จและชนิดม้วนลวดตาข่าย

ประโยชน์หลักของฉนวนใยหิน ชนิดท่อสำเร็จรูปคือ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งซัพพอตของท่อทำให้สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้นและรักษาความร้อนได้ดีกว่า ส่วนฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่ายนั้นจะต้องติดตั้งสเปซเซอร์ทำให้ใช้เวลาในการทำงานมากและจะเกิดจุดความร้อนบริเวณสเปซเซอร์ทำให้เสียความร้อนเพิ่มขึ้น

ข้อดีของฉนวนชนิดท่อสำเร็จรูป

  • ไม่จำเป็นต้องติดตั้งสเปซเซอร์หรือซัพพอตท่อ
  • ทำงานได้รวดเร็วขึ้นเพราะไม่ต้องติดตั้งสเปซเซอร์
  • สามารถติดตั้งแผ่นแจ็กเก็ตให้แนบกับฉนวนใยหินได้เลย
  • การติดตั้งสเปซเซอร์ทำให้สูญเสียพลังงานมากขึ้น
  • เกิดจุดความร้อนขึ้นในบริเวณที่ติดตั้งสเปซเซอร์
insulation system with a spacer ring

ระบบฉนวนกันความร้อนที่ติดตั้งวงแหวนสเปซเซอร์และแผนภาพแสดงความร้อนที่สูญเสีย ที่มา - ROCKWOOL PROCESS MANUAL

Insulation system without a spacer ring

ระบบฉนวนกันความร้อนที่ไม่ได้ติดตั้งวงแหวนสเปซเซอร์ ที่มา - ROCKWOOL PROCESS MANUAL

เปรียบเทียบความหนาฉนวนใยหินแบบท่อสำเร็จและม้วนลวดตาข่าย

ถ้าเราเปรียเทียบฉนวนทั้ง 2 ระบบโดยพิจารณาที่ การสูญเสียความร้อนที่เท่ากัน(Heat loss) เราจะใช้ตารางด้านล่างในการเปรียบเทียบ ความหนาฉนวนทั้ง 2 แบบ โดยจะมีเงื่อนไขตามนี้

  • อุณหภูมิปานกลาง : 250 °C
  • อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม : 10 °C
  • ความเร็วลม : 5 เมตร/วินาที
  • แจ็กเก็ต : อะลูซิงค์
  • อัตราการสูญเสียความร้อน : 150 วัตต์/เมตร
  • มีการติดตั้งสเปซเซอร์ในระบบฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่าย
ขนาดท่อ DN นิ้ว มม. ProRox PS960 ProRox WM950
50 2 60 30 N/A
80 3 89 30 N/A
100 4 115 40 N/A
150 6 169 60 N/A
200 8 220 80 110 (50+60)
250 10 275 90 140 (70+70)
300 12 324 100 160 (80+80)
350 14 356 110 180 (90+90)

เปรียบเทียบความหนาฉนวนใยหินแบบท่อสำเร็จและม้วนลวดตาข่าย

โดยปกติแล้วฉนวนสำหรับท่อตรง ควรใช้ฉนวนใยหิน ชนิดท่อสำเร็จจะเหมาะสมกว่า เพราะไม่ต้องติดตั้งสเปซเซอร์ทำให้สามารถทำงานได้เร็ว และในบางงานเช่นการหุ้มหน้าแปลนหรือข้องอก็จำเป็นต้องใช้แบบม้วนเพราะสามารถตัดเข้ารูปได้ง่ายกว่า เราจึงมีตารางเพื่อแนะนำการเลือกใช้ฉนวนดังนี้

การใช้งาน อุณหภูมิ (°C) ProRox PS960 ProRox WM950 ProRox WM960
ท่อตรง < 300 °C  +++++  ++  +
300 – 600 °C  +++  ++  +
> 600 °C  +++
ท่อสั้น
ข้องอ
วาล์ว
หน้าแปลน
< 300 °C  +  +++  ++
300 – 600 °C +++  ++
600 – 650 °C  +++
ท่อความร้อน
สำหรับงานอาคาร 
D < 356 มม.  +++++
 D > 356 มม.  ++++

 

การหุ้มท่อความร้อนด้วยฉนวนใยหินชนิดท่อสำเร็จ ROCKWOOL ProRox PS

การออกแบบความหนาฉนวนเพื่อป้องกันการสัมผัสกับความร้อน

ตารางด้านล่างนี้จะเป็นตารางที่ช่วยในการออกแบบความหนาของฉนวนเพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัสกับผิวท่อ โดนจะกำหนดกรณีตัวอย่างดังนี้

  • อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม : 25 °C
  • ความเร็วลม : 0 เมตร/วินาที
  • แจ็กเก็ต : แผ่นสังกะสี
  • อุณหภูมิผิวสูงสุด : 60 °C
  • ฉนวนที่ใช้ : ProRox PS960
ขนาดท่อ DN นิ้ว มม. < 200 °C 250 °C 300 °C 350 °C 400 °C 450 °C

500 °C

25 1 34 20 30 40 60 70 80 100
50 2 60 30 40 50 70 80 100 110
80 3 89 30 40 50 80 90 100 130
100 4 115 30 40 60 80 100 120 140
150 6 169 30 50 60 90 110 130 150
200 8 219 40 50 60 90 120 140 160
250 10 275 40 50 70 100 120 150 170
300 12 324 40 50 70 100 130 150 180

 

การติดตั้ง

ฉนวนใยหิน ROCKWOOL รุ่น ProRox PS960 มีลักษณะเป็นท่อกลวงรูด้านในจะเป็นขนาดของท่อเหล็กและมีความหนาออกมาเป็นชั้นทำให้เมื่อสวมเข้ากับท่อจะมีขนาดพอดีกับท่อเหล็ก

  • สำหรับท่อในแนวนอนเราจะหมุนรอยผ่าของฉนวนไว้ใต้ท่อเพื่อป้องกันเวลาฝนตกไม่ให้น้ำฝนหยดผ่านรอยผ่าเข้าไปถึงท่อเหล็ก 
  • ส่วนท่อแนวตั้งเราจะวางรอยบากของท่อเหลื่อมกันประมาณ  30 องศา เพื่อไม่ให้หยดน้ำไหลผ่านรอยผ่าลงไปถึงท่อเหล็ก
  • หลังจากติดตั้งฉนวนเสร็จแล้วจะใช้ลวดเชื่อมสังกะสีหรือสายรัดโลหะ รัดตัวฉนวนอีกครั้งหนึ่ง
  • ฉนวนหุ้มท่อที่มีความหนามากกว่า 120 mm (หรืออุณหภูมิสูงกว่า 300 °C) ทำให้ต้องใช้ฉนวนซ้อนกัน 2 ชั้นหรือ 3 ชั้น รอยผ่าของฉนวนจะต้องเหลื่อมกันเพื่อไม้ให้น้ำซึมผ่านรอยผ่าเข้าไปบริเวณท่อด้านใน
ProRox PS insulation thickness to guarantee protection against contact

ลักษณะของระบบฉนวนหุ้มท่อชนิดท่อสำเร็จรูป ที่มา - ROCKWOOL PROCESS MANUAL

ซัพพอตท่อและสเปซเซอร์

โดยปกติแล้วในระบบฉนวนชนิดท่อสำเร็จรูปนั้นไม่จำเป็นต้องติดตั้งสเปซเซอร์และซัพพอตท่อ แต่ในกรณีที่ท่อมีการสั่นมากๆ และ/หรือ อุณหภูมิสูงกว่า 300 °C ในบางครั้งอาจจะต้องมีการติดตั้งสเปซเซอร์ร่วมด้วย

ท่อที่มีการติดตั้งในแนวตั้งและมีความสูงเกิน 4 เมตร ซัพพอตของท่อจะทำการล็อกฉนวนให้ติดกับท่อ เราจะติดตั้งแหวนซัพพอตตัวแรกที่จุดต่ำสุดของท่อและตัวถัดไปจะติดตั้งห่างกันไม่เกิน 4 เมตร

การหุ้มฉนวนท่อความร้อนด้วย ฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่าย

ฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่ายเหมาะกับท่อความร้อนที่มีขนาดใหญ่ หรือข้อต่อต่างๆ เพราะสามารถตัดต่อให้เข้ากับรูปทรงข้อต่อได้ง่ายกว่า ใยหินชนิดม้วนลวดตาข่ายจะทนต่อแรงกดทับได้น้อยกว่าแบบท่อสำเร็จ และการติดตั้งควรจะใช้งานร่วมกับสเปซเซอร์

การออกแบบความหนาฉนวนเพื่อป้องกันการสัมผัสกับความร้อน

ตารางด้านล่างนี้จะเป็นตารางที่ช่วยในการออกแบบความหนาของฉนวนเพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัสกับผิวท่อ โดนจะกำหนดกรณีดังนี้

  • อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม : 25°C
  • ความเร็วลม : 0 เมตร/วินาที
  • แจ็กเก็ต : แผ่นสังกะสี
  • อุณหภูมิผิวสูงสุด : 60 °C
  • ฉนวนที่ใช้ : ProRox WM950
ขนาดท่อ DN นิ้ว มม. < 100 °C 200 °C 300 °C 400 °C 500 °C 600 °C
200 8 219 30 40 80 110 160 180
250 10 274 30 50 80 120 170 190
300 12 324 30 50 80 130 170 190
400 16 406 30 50 90 130 170 190
500 20 508 30 50 90 130 180 200

 

การติดตั้ง

  • ตัดฉนวนใยหินให้มีความยาวที่สามารถพันรอบท่อได้พอดี
  • ดึงลวดตาข่ายของฉนวนใยหินให้เข้ามาชิดกันและมัดด้วยลวดโลหะความหนา 0.5 มม.
  • ท่อสแตนเลสและท่อที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 400 °C จะใช้การเย็บลวดเพื่อป้องกันการฉีกขาดของลวดและป้องกันการเกิดสนิม
  • ในกรณีที่ฉนวนมีความหนามากกว่า 120 มม. หรืออุณหภูมิสูงกว่า 300 °C จะต้องใช้ฉนวนซ้อนกันหลายชั้น ต้องไม่ให้รอยผ่าบริเวณฉนวนที่หุ้มนั้นอยู่ในแนวเดียวกันเพื่อป้องกันน้ำหยดเข้าสู่บริเวณผิวท่อชั้นใน
ProRox WM insulation thickness to guarantee protection against contact stitching

การถักลวดเพื่อยึดฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่าย ที่มา - ROCKWOOL PROCESS MANUAL

ProRox WM insulation 05 - thickness to guarantee protection against contact hook

การมัดลวดให้ชิดกันด้วยลวด 0.5 มม ที่มา - ROCKWOOL PROCESS MANUAL

ซัพพอตท่อและสเปซเซอร์

ฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่ายนั้นจะไม่ทนต่อแรงกดทำให้ไม่สามารถใช้แผ่นแจ็กเก็ตหุ้มทับลงไปบนฉนวนได้ทันที จะต้องติดตั้งสเปซเซอร์หรือซัพพอตท่อก่อนการติดตั้งแจ็กเก็ต

ท่อที่มีการติดตั้งในแนวตั้งและมีความสูงเกิน 4 เมตร ซัพพอตของท่อจะทำการล็อกฉนวนให้ติดกับท่อ เราจะติดตั้งแหวนซัพพอตตัวแรกที่จุดต่ำสุดของท่อและตัวถัดไปจะติดตั้งห่างกันไม่เกิน 4 เมตร

อุปกรณ์ช่วยซัพพอตฉนวนใยหินสำหรับงานระบท่อ

A.สเปซเซอร์

การติดตั้งสเปซเซอร์เพื่อช่วยรับน้ำหนักของแจ็กเก็ตที่จะมาติดตั้งหลังจากที่หุ้มฉนวนเรียบร้อยแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องติดตั้งสเปซเซอร์เมื่อใช้ฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่ายแต่ถ้าหากใช้ฉนวนที่เป็นท่อสำเร็จรูปก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งสเปซเซอร์

โครงสร้างท่อจะประกอบด้วยแหวนโลหะที่อยู่ชั้นนอกสุดติดกับแผ่นแจ็กเก็ต ถัดมาจะเป็นสเปซเซอร์โลหะหรือเซรามิกที่จะติดตั้งอยู่บนท่อ เช่น Omega Clamps ถูกใช้เป็นประจำในการลดการสั่นสะเทือน

  • สเปซเซอร์โลหะเราจะติดตั้งอย่างน้อย 3 ชิ้นโดยระยะของสเปซเซอร์ต้องไม่เกิน 16 นิ้ว (400 mm) เมื่อวัดเทียบแหวนโลหะวงนอก
  • ส่วนสเปซเซอร์เซรามิกจะติดตั้งอย่างน้อย 4 ชิ้นและระยะห่างระหว่างสเปซเซอร์ต้องไม่เกิน 10 นิ้ว (250 mm) เมื่อวัดเทียบแหวนโลหะวงนอก

จำนวนของสเปซเซอร์จะขึ้นกับอุณหภูมิทำงานและแรงภายนอก เราสามารถดูระยะห่างของสเปซเซอร์ได้จาก CINI 1.3.23 

การติดตั้งสเปซเซอร์บริเวณส่วนโค้งของท่อเช่น ข้องอ เราจะติดตั้งที่จุดเริ่มต้นของข้องอและปลายของข้องอ และถ้าระยะห่างของสเปซเซอร์มากกว่า 27 นิ้ว (700 mm) เมื่อวัดที่เส้นวงนอกของข้องอ เราจะต้องติดตั้งสเปซเซอร์เพิ่มเข้าไป

spacer on pipes

ระยะในการติดตั้งสเปซเซอร์บริเวณรอบท่อ ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

spacer on pipe elbow

ระยะในการติดตั้งสเปซเซอร์บริเวณข้องอท่อ ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

B.ซัพพอตท่อ

เราจะติดตั้งซัพพอตท่อสำหรับท่อแนวตั้งเพราะท่อในแนวตั้งจะมีน้ำหนักมากทั้งน้ำหนักของท่อ น้ำหนักฉนวน และน้ำหนักของแจ็กเก็ต และท่อในแนวตั้งจะมีการสั่นมากกว่าท่อในแนวตั้ง การใช้ซัพพอตท่อจะขึ้นกับขนาดของท่อและอุณหภูมิของท่อว่าจะใช้สกูรยึด การเชื่อมท่อหรือการใช้แคมป์ 2 ชั้นสำหรับท่อที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ซัพพอตจะต้องทำจากโลหะทนอุณหภูมิสูง

vertical pipe support

วิธีการติดตั้งซัพพอตท่อแนวตั้ง ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

ตารางแสดงน้ำหนักฉนวนต่อความยาวท่อ

ขนาดท่อ DN นิ้ว มม. 30 มม. 40 มม. 50 มม. 60 มม. 80 มม. 100 มม. 120 มม. 140 มม.
15 0.5 22 4 5 6 8 11 15 19 24
25 1 34 4 5 7 8 12 15 20 25
50 2 60 5 7 8 10 13 17 22 27
65 2.5 76 6 7 9 10 14 18 23 28
80 3 89 7 8 10 11 15 19 24 29
100 4 115 8 9 11 12 16 21 26 31
200 8 219 12 14 16 18 23 28 33 39
300 12 324 17 19 21 24 29 35 41 47
500 20 508 25 28 31 34 40 47 54 62
700 28 711
  1. 34
37 41 44 52 60 69 78

 

แผ่นโลหะหุ้มฉนวน (Cladding)

แจ็กเก็ตทำหน้าที่ในการป้องกันฉนวนกันความร้อนจากสภาพอากาศ มลภาวะอื่นๆภายนอก การเลือกวัสดุในการมากทำแจ็กเก็ตขึ้นกับหลายอย่างเช่น มีการสั่นของตัวท่อหรือไม่ ในช่วงของการซ่อมบำรุงจะมีการเดินบนท่อหรือไม่ ลมฝน และอุณหภูมิแวดล้อม

เราจะทำการเลือกวัสดุที่ทำแจ็กเก็ตตามนี้

  1. แผ่นสังกะสีจะใช้ในอาคารเพราะมีความแข็งแรงที่ดี ทนไฟ
  2. แผ่นอะลูมิเนียม จะใช้กับงานภายนอกอาคารเพราะสามารถทนต่อสภาพอากาศได้ดีและมีราคาถูกกว่าสแตนเลส

ในพื้นที่ที่มีการกัดกร่อน แผ่นอะลูมิเนียม, แผ่นสแตนเลส หรือ แผ่นพลาสติกเสริมแรง จะใช้ในการทำแจ็กเก็ตและแผ่นสแตนเลสจะแนะนำในสภาพแวดล้อมที่อาจจะเกิดไฟไหม้

Cladding Material พื้นที่เสี่ยงเกี่ยวกับไฟ การกัดกร่อน 60 °C

> 60 °C

แผ่นอะลูมิเนียม

/

แผ่นอะลูซิงค์

/

แผ่นสังกะสี

/ /

แผ่นสแตนเลส

/ / /

แผ่นเหล็กชุบอะลูมิเนียม

/ / /

แผ่นเหล็กเคลือบพลาสติก

/

แผ่นพลาสติดเสริมแรง

/

< 90 °C

Cladding Material พื้นที่เสี่ยงเกี่ยวกับไฟ การกัดกร่อน 60 °C

> 60 °C

แผ่นอะลูมิเนียม

/

แผ่นอะลูซิงค์

/

แผ่นสังกะสี

/ /

แผ่นสแตนเลส

/ / /

แผ่นเหล็กชุบอะลูมิเนียม

/ / /

แผ่นเหล็กเคลือบพลาสติก

/

แผ่นพลาสติดเสริมแรง

/

< 90 °C

 

ตารางแสดงความหนาของแผ่นแจ็กเก็ต ตาม CINI

เส้นผ่านศูนย์กลางท่อ แผ่นอะลูมิเนียม
(CINI 3.1.01)
แผ่นเหล็กชุบอะลูมิเนียม
(CINI 3.1.02)
แผ่นอะลูซิงค์
(CINI 3.1.02)
แผ่นเหล็กชุบสังกะสี
(CINI 3.1.04)

แผ่นสแตนเลส
(CINI 3.1.05)

< 140 มม. 0.6 มม. 0.56 มม. 0.5 มม. 0.5 มม. 0.5 มม.
130 – 300 มม. 0.8 มม. 0.8 มม. 0.8 มม. 0.8 มม. 0.8 มม.
> 300 มม. 1.0 มม. 0.8 มม. 0.8 มม. 0.8 มม. 0.8 มม.

 

คำแนะนำเบื้องต้น

  • ยิงสกูลตามยาวของลอยต่อด้วยสกูลปลายสว่านหรือลิเวททุก 1 เมตร
  • ห้ามใช้สกูลอะลูมิเนียม

อิทธิพลของการหุ้มแจ็กเก็ตต่ออุณหภูมิผิว

ความหนาฉนวนที่เพิ่มขึ้น ค่าการนำความร้อนของฉนวน และสภาพแวดล้อม อุณหภูมิผิวของฉนวนนั้นขึ้นกับการปล่อยความร้อนของแผ่นแจ็กเก็ตด้วยง

การใช้งานทั่วไปสำหรับฉนวนกันความร้อน ยิ่งพื้นผิวเงาเท่าไหร่ อุณหภูมิผิวจะยิ่งสูง ตัวอย่างด้านล่างจะเป็นการเปรียบเทียบอุณหภูมิผิวของวัสดุที่นำมาทำแผ่นแจ็กเก็ต

  • เส้นผ่านศูนย์กลางท่อ : 4” NPS (114 mm)
  • อุณหภูมิสารภายใน : 500 °C
  • สถานที่ติดตั้ง : ภายในอาคาร
  • ความเร็วลม : 0.5 เมตร/วินาที
  • ฉนวนใยหิน : ProRox WM950
  • วัสดุทำแจ็กเก็ต :
    1. แผ่นอะลูมิเนียม
    2. แผ่นเหล็กชุบสังกะสี
    3. แผ่นสแตนเลส
    4. สีเคลือบแผ่นพลาสติก
influence of cladding on the surface temperature

กราฟเปรียบเทียบอุณหภูมิผิวของแผ่นแจ็กเก็ต ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

อุปกรณ์แขวนท่อ(Pipe Hanger) และอุปกรณ์ค้ำท่อ(Pipe Support)

มีอุปกรณ์หลายอย่างสำหรับอุปกรณ์แขวนท่อและอุปกรณ์ค้ำท่อ เราจะอธิบายด้วยภาพด้านล่าง

    • อุปกรณ์แขวนท่อที่ติดกับท่อโดยตรง
    • อุปกรณ์ค้ำท่อที่ติดกับท่อโดยตรง
    • อุปกรณ์ค้ำท่อที่ไม่ได้ติดกับท่อโดยตรง (ปกติจะใช้ในฉนวนงานเย็น)

อุปกรณ์แขวนท่อที่ติดกับท่อโดยตรง

pipe hangers in direct contact with the piping

ภาพการหุ้มฉนวนอุปกรณ์แขวนท่อ ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

อุปกรณ์แขวนท่อที่ติดกับท่อโดยตรง

pipe support not in direct contact with the piping

ภาพการหุ้มฉนวนอุปกรณ์ค้ำท่อที่ไม่ได้ติดกับท่อโดยตรง ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

อุปกรณ์แขวนท่อที่ติดกับท่อโดยตรง

pipe support in direct contact with the piping

ภาพการหุ้มฉนวนอุปกรณ์ค้ำท่อที่ติดกับท่อโดยตรง ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

การหุ้มฉนวนใยหินวาล์วและหน้าแปลน

การสูยเสียความร้อนเกิดขึ้นได้ในข้อต่อหรือหน้าแปลนที่ไม่ได้หุ้มฉนวนเราสามารถประมาณความร้อนที่สูญเสียอย่างหยาบๆ ได้ว่าวาล์วจะสูญเสียความร้อนเท่ากับท่อตรงที่ไม่ได้หุ้มฉนวน 1 เมตร

ถ้าไม่มีการหุ้มฉนวนที่บริเวณวาล์วหรือหน้าแปลน อุณหภูมิของสารที่อยู่ภายในท่อจะลดลงและส่งผลให้ระบบไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรหุ้มฉนวนที่วาล์วกับหน้าแปลนและอย่างน้อยความหนาฉนวนควรจะหนาเท่ากับความหนาที่ใช้หุ้มท่อ

คำแนะนำในการหุ้มฉนวนกันความร้อนสำหรับข้อต่อและหน้าแปลน

ฉนวนที่หุ้มบริเวณข้อต่อหรือหน้าแปลนควรซ้อนทับฉนวนสำหรับท่อตรงด้วยระยะประมาณ 50 มม

insulation of valves and flanges

การหุ้มเกตวาล์วด้วยฉนวนใยหิน ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

insulation of valves and flanges design2

การหุ้มบัตเตอร์ฟายวาล์วด้วยฉนวนใยหิน ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

insulation of valves and flanges design

การหุ้มข้อต่อด้วยฉนวนใยหิน ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

insulation of valves and flanges design

การหุ้มเกตวาล์วด้วยฉนวนใยหิน ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

วิธีการหุ้มฉนวนข้องอ (Elbow) และข้อต่อ 3 ทาง (T Pieces)

แจ็กเก็ตบริเวณข้องอหรือท่อ 3 ทางนั้น เป็นส่วนที่สามารถเสียหายได้ง่าย จะเกิดจากการสั่นของท่อหรือการขยายตัวของท่อและอีกปัญหาก็คือการที่ต้องทนกับความชื่นและไอน้ำ เมื่อติดตั้งอยู่ที่นอกอาคาร

การหุ้มข้องอด้วยฉนวนใยหิน ROCKWOOL ProRox PS ชนิดท่อสำเร็จรูป

เราจะตัดฉนวนใยหินชนิดท่อสำเร็จให้เป็นไปตามส่วนโค้งของข้องอ

Insulation of pipe elbows with ROCKWOOL pipe section

การหุ้มข้องอด้วยฉนวนใยหินชนิดท่อสำเร็จรูป ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

การหุ้มข้องอด้วยฉนวนใยหิน ROCKWOOL ProRox WM ชนิดม้วนลวดตาข่าย

เราจะตัดฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดจาขายให้เป็นทรงฟิชเชป (Fish-Shaped elbow) เพราะจะได้สามารถหุ้มได้แนบไปกับข้องอได้พอดีจากนั้นใช้ลวดเชื่อมหรือลวดในการมัดลวดตาข่ายให้ติดกัน และติดตั้งสเปซเซอร์ที่จุดเริ่มต้น และจุดปลายของข้องอ

Insulation of pipe elbows with ROCKWOOL wire mat cutting

การหุ้มข้องอด้วยฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่าย ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

การหุ้มแจ็กเก็จบริเวณข้องอ

Insulation of pipe elbows with ROCKWOOL wire mat install jacket

การหุ้มแจ็กเก็ตข้องอ ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

การหุ้มแจ็กเก็จบริเวณ 3 ทาง

Insulation of pipe elbows with ROCKWOOL wire mat T way

การหุ้มฉนวนใยแกินและแจ็กเก็ตข้อ 3 ทาง ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

การหุ้มฉนวนข้อลด (Reducer)

การหุ้มฉนวนใยหินข้อลดในแนวนอน

Insulation of horizontal pipe reducer

การหุ้มฉนวนใยหินข้อลดในแนวนอน ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

การหุ้มฉนวนใยหินข้อลดในแนวตั้ง

Insulation of vertical pipe reducer

การหุ้มฉนวนใยหินข้อลดในแนวดิ่ง ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

ข้อต่อขยาย (Expansion Joint)

ในงานระบบฉนวนนั้น การขยายตัวของท่อและแจ็กเก็ตอาจจะแตกต่างกันอย่างมาก การขยายตัวที่ไม่เท่ากันนี้เกิดจาก วัสดุที่ต่างกัน, ฉนวนกันความร้อน และอุณหภูมิที่แตกต่างกันทำให้มีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวที่แตกต่างกัน

เราจะใช้ Al เป็นสัญลักษณ์ในการขยายตัวตามยาว

Δl = l * Δt * α

l = ความยาวของท่อ
Δt = ผลต่างอุณหภูมิตอนที่ร้อนกับเย็นของท่อ (หรือแจ็กเก็ต)
α = สัมประสิทธิ์การขยายตัวตามยาว

วัสดุ

สัมประสิทธิ์การขยายตัวตามยาว (α)

อะลูมิเนียม (Aluminum)

23.8

ทองเหลือง (Bronze)

200

เหล็กหล่อ (Cast Iron)

10.4

ทองแดง (Copper)

16.5

สแตนเลส (Stainless Steel)

16

เหล็ก (Iron)

11

การหุ้มฉนวนใยหินข้อต่อขยายในแนวตั้ง

Insulation of vertical expansion joint

การหุ้มฉนวนใยหินข้อต่อขยายในแนวตั้ง ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

การหุ้มฉนวนใยหินข้อต่อขยายในแนวนอน

insulation of horizontal expansion joint

การหุ้มฉนวนใยหินข้อต่อขยายในแนวนอน ที่มา - ROCKWOOL PROCESS

การเดินบนท่อที่มีการหุ้มฉนวน (Foot Traffic)

ควรหลีกเลี่ยงการเดินบนท่อที่หุ้มฉนวนแล้วเพราะ การเดินบนท่อที่หุ้มฉนวนแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายที่ฉนวนได้เช่น เกิดช่องว่างบริเวณรอยต่อของแผ่นแจ็กเก็ตจะทำให้ความชื้นเข้าสู่ท่อและส่งผลให้เกิดสนิมได้

ในกรณีที่มีพื้นที่น้อย จำเป็นที่จะต้องเดินบนท่อในช่วงของการซ่อมบำรุงให้ใช้เป็นฉนวนใยหินชนิดท่อสำเร็จ ProRox PS970 ที่สามารถทนต่อแรงกดทับทั้งน้ำหนักของแจ็กเก็ตและการเดินบนท่อได้ ส่วนท่อที่หุ้มด้วยฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่ายนั้นแจ็กเก็ตจะต้องถูกติดตั้งบนบราสำหรับค้ำท่อเพื่อรองรับน้ำหนักการเดินและน้ำหนักของแจ็กเก็ต

foot traffic

แบ่งปันเรื่องราว