วิธีติดตั้งฉนวนยางดำ สำหรับถังความดันและถังน้ำเย็น

ถังแรงดัน (Pressure Vessels) มีไว้สำหรับเก็บวัตถุดิบก่อนที่จะนำส่งเข้ากระบวนการผลิต วัตถุดิบบางชนิดมีอุณหภูมิสูง บางชนิดมีอุณหภูมิต่ำ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการหุ้มฉนวนเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในให้คงที่ ป้องกันการเสียหายของวัตถุดิบ

3T แนะนำ

ถ้าอยากทราบรายละเอียดของฉนวนยางดำ ประเภทของฉนวนยางดำการใช้งานอื่นๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

ร่างแบบในการติดตั้งฉนวนถังความดัน

รูปแบบในการติดตั้งฉนวนยางดำสำหรับถังความดันขนาดใหญ่

ภาพ - รูปแบบในการติดตั้งฉนวนยางดำสำหรับถังความดันขนาดใหญ่

กำหนดรูปแบบในการติดตั้งฉนวนยางดำชนิดแผ่นหรือแบบม้วน ( ขนาดกว้าง 1.22 เมตร ยาว 3 – 15 เมตร ) 

3T แนะนำ

ขอบหรือรอยต่อของฉนวนยางดำควรอยู่เหลื่อมกันเพื่อป้องกันการซึมของหยดน้ำตามร่องของฉนวน

การเว้นระยะกดทับบริเวณรอยต่อฉนวน

เว้นระยะกดทับ 5 มม.

ภาพ - เว้นระยะกดทับ 5 มม.

ในการตัดแผ่นฉนวนยางดำเราจะเว้นระยะกดทับ 5 มม. เมื่อเรากดฉนวนที่เราเหลือไว้เข้าไปที่บริเวณรอย ต่อฉนวนจะอัดกันแนบชิด

การทากาวสำหรับติดตั้งฉนวนถังความดัน

ภาพ - เว้นระยะกดทับ 5 มม.

ภาพ - เว้นระยะกดทับ 5 มม.

ทากาวที่ฉนวนยางดำ โดยเว้นระยะที่ 5 มม. เพื่อเป็นระยะกดทับกันของฉนวน

ซีลกาวทุกรอยต่อของฉนวนยางดำ

ภาพ - ซีลกาวทุกรอยต่อของฉนวนยางดำ

หลังจากกดฉนวนที่เหลือไว้ลงไปที่ร่องรอยต่อ ให้ทำการซีลทุกรอยต่อด้วยกาวทาฉนวน

การหุ้มฉนวนถังความดันขนาดใหญ่ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 1.5 เมตร (φ < 1.5 m ) 

การหาความยาวรอบของถังความดัน

ภาพ - การหาความยาวรอบของถังความดัน

1.  ตัดฉนวนยางดำชนิดแผ่นให้เป็นเส้นยาว ( strip line ) เพื่อนำมาวัดเส้นรอบวงของถังความดัน

3T แนะนำ
  • การวัดเส้นรอบวงของถังความดันให้ใช้ความหนาฉนวนเท่ากับ ความหนาที่จะนำมาหุ้มถัง
  • อย่ายืดหรือดึงฉนวนขณะวัด
ทากาวที่ฉนวนยางดำก่อนจากนั้นทาที่ผิวถังโลหะ

ภาพ - ทากาวที่ฉนวนยางดำก่อนจากนั้นทาที่ผิวถังโลหะ

2.  ตัดฉนวนยางดำให้ได้ขนาดตามที่วัด จากนั้นทากาวที่แผ่นฉนวนยางดำจากนั้นทาที่ผิวของถังความดัน รอให้กาวแห้งจึงนำฉนวนยางดำมาหุ้มโดยให้ขอบบนของฉนวนเลยขอบถัง ( Tangent line ) เป็นระยะ 50 มม.

การหาระยะความโค้งของหัวถังด้วย strip line

ภาพ - การหาระยะความโค้งของหัวถังด้วย strip line

3. หาระยะความโค้งของหัวถังด้วยแถบฉนวนยางดำ (Strip line)

3T แนะนำ
  • ขอบหรือรอยต่อของฉนวนยางดำควรอยู่เหลื่อมกันเพื่อป้องกันการซึมของหยดน้ำตามร่องของฉนวน
ตัดฉนวนยางดำสำหรับหุ้มหัวถังโดยใช้ระยะความโค้งของหัวถังเป็นเส้นผ่านศูนย์กลาง

ภาพ - ตัดฉนวนยางดำสำหรับหุ้มหัวถังโดยใช้ระยะความโค้งของหัวถังเป็นเส้นผ่านศูนย์กลาง

4. เมื่อได้ระยะความโค้งของหัวถังความดันให้ตัดแผ่นฉนวนเป็นวงกลม โดยใช้ระยะความโค้งเป็นเส้นผ่านศูนย์กลาง

ทากาวที่ผิวโลหะของหัวถังความดัน

ภาพ - ทากาวที่ผิวโลหะของหัวถังความดัน

5. ทากาวที่ผิวของฉนวนยางดำเป็นฟิล์มยางดำและทากาวที่ผิวของหัวถังความดัน
6. หลังจากที่กาวแห้งให้นำแผ่นฉนวนที่ทากาวแล้วมาติดตั้งครอบหัวถังโดยกดจากตำแหน่งกึ่งกลางของหัวถังไล่ออกมาที่บริเวณขอบเพื่อป้องกันการเกิดฟองอากาศภายใน

การซีลกาวที่บริเวณรอยต่อของฉนวน

ภาพ - การซีลกาวที่บริเวณรอยต่อของฉนวน

7. ทากาวที่บริเวณขอบรอยต่อของฉนวนและรอจนกาวแห้ง

กดรอยต่อของฉนวนให้แนบชิดกัน

ภาพ - กดรอยต่อของฉนวนให้แนบชิดกัน

8. หลังจากกาวแห้งแล้วให้กดฉนวนให้แนบชิดกัน

การหุ้มฉนวนถังความดันขนาดใหญ่ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 1.5 เมตร (φ < 1.5 m ) 

ติดตั้งฉนวนยางดำโดยเริ่มจากขอบบนของถังความดันลงด้านล่างของถัง

ภาพ - ติดตั้งฉนวนยางดำโดยเริ่มจากขอบบนของถังความดันลงด้านล่างของถัง

1.  ในการติดตั้งฉนวนยางดำสำหรับถังบรรจุหรือภาชนะแรงดันเราจะเริ่มติดตั้งจากขอบบนของถังไล่ลงมาด้านล่าง

กดรอยต่อของฉนวนให้แนบชิดกัน

ภาพ - กดรอยต่อของฉนวนให้แนบชิดกัน

2.  เราจะทำการวางตำแหน่งของแผ่นฉนวนเพื่อป้องกันการลืมว่าแผ่นไหนควรติดตั้งไว้ตรงไหน เราจะทำการมาร์คตำแหน่งด้วยชอล์คสีขาวที่ผนังของถัง
3.  ฉนวนบริเวณที่ติดตั้งบริเวณขอบของถังเราจะตัดคร่าวๆ โดยให้เหลือขอบเลยออกมาจากขอบถังที่ 50 มม.
4.  ทากาวให้ทั่วแผ่นฉนวนและผิวของถัง จากนั้นรอให้กาวแห้ง ติดตั้งตามที่ออกแบบไว้โดยทำตั้งแต่ชิ้นที่ 1 จนถึงชิ้นสุดท้ายโดยเผื่อระยะกดทับที่ 5 มม.

การติดตั้งเสร็จเรียบร้อย

ภาพ - การติดตั้งเสร็จเรียบร้อย

5.  ตรวจเช็คความเรียบร้อยของงานเป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้ง

แบ่งปันเรื่องราว