ควันและควันไหลใต้เพดาน

ลำควัน (Plume)

ลำควัน (Plume) คือ ลำของอากาศกลุ่มควันและแก๊สร้อน ซึ่งเป็นผลผลิตจากการเผาไหม้ลอยขึ้นไปตามแนวดิ่งเนื่องจากแรงลอยตัว (Buoyancy force)

แรงลอยตัว (Buoyancy force) คือ แรงที่เกิดจากความหนาแน่นที่แตกต่างกันของควันและอากาศ เพราะว่าควันมีความร้อนสูงและมีความหนาแน่นต่ำกว่าอากาศเย็น ควันจึงลอยตัวสูงขึ้นในแนวดิ่ง

ลำควันในห้องปิด (Enclosure Plume)

ภาพ - ลำควันในห้องปิด (Enclosure Plume)

ลำควันสมมาตร (Axisymmetric Plume)

ลำควันถูกแบ่งออกเป็น 3 ช่วง

Continuous Flame ช่วงที่มีเปลวไฟอย่างต่อเนื่อง

Intermittent Flame เป็นช่วงที่การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเกือบจะสมบูรณ์ จะมีเปลวไฟปรากฎอยู่ในช่วงนี้เพียงบางส่วนและช่วงเวลาไม่ต่อเนื่อง

Buoyant Plume เป็นช่วงที่การเผาไหม้สมบูรณ์แล้ว ช่วงนี้จะมีเพียงไอร้อนเท่านั้น

ลำควันสมมาตร (Axisymmetric Plume)

ภาพ - ลำควันสมมาตร (Axisymmetric Plume)

ความเร็วของควัน (Plume Velocity)

เราสามารถวัดความเร็วของควันตามระดับความสูงตามแนว Centerline ของกลุ่มควัน ซึ่งความเร็วในแต่ละช่วงจะคำนวณได้ดังนี้

Flame :

z/Q̇2/5 < 0.08                   u0 = 6.8z1/2

Intermittent:

0.08 < z/Q̇2/5 < 0.2          u0 = 1.9Q̇1/5

Plume:

z/Q̇2/5 > 0.2                        u0 = 1.1z-1/31/3

อุณหภูมิของควัน (Plume Temperature)

อุณหภูมิของควันตามแนว Centerline จะเปลี่ยนแปลงไปตามความสูงที่เพิ่มขึ้น โดยเราสามารถแบ่งการเปลี่ยนแปลงได้เป็น 3 ช่วง

Flame :

z/Q̇2/5 < 0.08                   ∆T0 = 2.91T

Intermittent:

0.08 < z/Q̇2/5 < 0.2         ∆T0 = 0.227(Q̇2/5/z) T

Plume:

z/Q̇2/5 > 0.2                      ∆T0 = 0.076T (Q̇2/5/z)5/3

ควันไหลใต้เพดาน (Ceiling Jet)

เมื่อควันไฟไหลขึ้นกระทับกับเพดาน ควันไฟจะไหลออกไปตามแนวรัศมีเราเรียกการไหลใต้เพดานว่า Ceiling Jet อุณหภูมิและความเร็วของควันที่ไหลใต้เพดานจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับเวลาตอบสนองของอุปกรณ์ตรวจจับอัคคีภัย (เช่น Sprinkler, Heat Detector, Smoke Detector)

การไหลของควันใต้เพดาน

ภาพ - การไหลของควันใต้เพดาน

ลักษณะการไหลของควันใต้เพดานแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับ อัตราส่วนความลึกคาน (hb) และระยะระหว่างช่องคาน (W) ต่อความสูงจากผิวเชื้อเพลิงถึงเพดาน (H)

Unconfined Ceiling jet :  hb/H < 0.126(H/W)1/3  และ  W/H > 1.2

Confined Ceiling jet :  hb/H > 0.126(H/W)1/3  และ 0.4 < W/H > 1.2

Unconfined Ceiling

อุณหภูมิของควันที่ไหลใต้เพดานที่ระยะ R

R/H < 0.18 ∆TCJ = 16.9 Q̇2/3 /H5/3

R/H > 0.18 ∆TCJ = 5.38 (Q̇/R)2/3 /H

∆TCJ  คือ ผลต่างของอุณหภูมิ Ceiling Jet

ความเร็วของควันที่ไหลใต้เพดานที่ระยะ R

R/H < 0.18 uCJ = 0.96(Q̇/H)1/3

R/H > 0.18 uCJ = 0.195Q̇1/3H1/2 / R5/6

uCJ  คือ ความเร็วของ Ceiling Jet

Unconfined Ceiling

Unconfined Ceiling

Confined Ceiling

อุณหภูมิของควันที่ไหลใต้เพดานที่ระยะ L (L>W/2)

∆TCJ/∆T0 = 0.37(H/W)1/3 exp[ -0.16(L/H)(W/H)1/3 ] ความเร็วของควันที่ไหลใต้เพดานที่ระยะ L (L>W/2)

uCJ/u0 = 0.27/(W/H)1/3

ในกรณีที่ L < W/2 ความเร็วและอุณหภูมิของควันสามารถคำนวณได้จาก unconfined ceiling jet

Confined Ceiling

Confined Ceiling

ตัวอย่างที่ 2

เกิดไฟไหม้ในห้องหนึ่ง มีระยะความสูงจากผิวเชื้อเพลิงถึงเพดาน 3 เมตร ถ้าเพลิงมีการปล่อยพลังงานคงที่ 1,000 kW อุณหภูมิอากาศเท่ากับ 25ºC จงตอบคำถามต่อไปนี้

  • ที่ระยะ 3 เมตร เหนือกองเพลิงอยู่ในช่วงใดของ Fire Plume
  • จงคำนวณหาอุณหภูมิและความเร็วในแนวดิ่งที่ระยะ 3 เมตรเหนือกองเพลิง
  • จงคำนวณอุณหภูมและความเร็วของ Ceiling Jet ที่ระยะตามแนวรัศมีเท่ากับ 2 เมตร ถ้าการไหลของควันเป็นแบบ
    • Unconfined Ceiling 
    • Confined Ceiling (W = 1.5 m)
Ex 2

ภาพ - ภาพประกอบของตัวอย่างที่ 2

จากโจทย์

Q̇ = 1,000 kW, z = 3 m, T = 25ºC = 25 + 273 = 298K

คำนวณหา z/Q2/5 เพื่อหาว่าลำควันที่ความสูง 3 m อยู่ในช่วงใด

z/Q2/5 = 3/(1000)2/5 = 0.19

เนื่องจาก 0.08 < z/Q2/5 = 0.19 < 0.20 ดังนั้นที่ความสูง 3 m ลำควันจะอยู่ในช่วงเปลวไฟบางส่วน (Intermitten Flame) เราสามารถคำนวณหาอุณหภูมิและความเร็วของลำควันที่ความสูง 3 m ได้จากสมการ

0.08 < z/Q2/5 < 0.20

u0 = 1.9Q̇1/5 = 1.9(1,000)1/5 = 7.56 m/s

∆T0 = 0.227(Q̇2/5/z) T=  0.227(1/0.19)298  = 357 K

ดังนั้นอุณหภูมิของลำควันจะเป็น T0 – T= T0 – 298 = 357 หรือ T0 = 655K = 382 ºC

จากการคำนวณพบว่าที่ระบดับความสูง 3 เมตรลำควันจะอยู่ในช่วงเปลวไฟบางส่วน (Intermittent Flame) โดยลำควันจะเคลื่อนที่ในแนวดิ่งด้วยความเร็ว 7.56 m/s และมีอุณหภูมิเท่ากับ 382 ºC

ควันสามารถไหลใต้เพดานได้อย่างอิสระ เราสามารถคำนวณหาอุณหภูมิและความเร็วของกลุ่มควันไหลใต้เพดานได้ จากโจทย์เราทราบ R = 2 m และ H คือความสูงของห้องเท่ากับ 3 m ดังนั้นเราจะได้ R/H = 2/3 = 0.67 > 0.18 เพราะฉะนั้นอุณหภูมิของควันไหลใต้เพดานจะเป็น

∆TCJ = 5.38 (1000/2)2/3/3 = 112.97

∆TCJ = 112.97 K หรือ TCJ = 410.97 K = 137.97ºC

ความเร็วของกลุ่มควันไหลใต้เพดาน R/H = 0.67 > 0.18

uCJ = 0.195Q̇1/3H1/2 / R5/6  =  0.195(1000)1/3(3)1/2 /(3)5/6 = 1.89

ความเร็วของกลุ่มควันที่ไหลใต้เพดานที่ระยะ 2 m เท่ากับ 1.89 m/s

กลุ่มควันไหลใต้เพดานได้อย่างอิสระที่รัศมี 2 m จากแนวกึ่งกลางของลำควันจะมีอุณหภูมิเท่ากับ 137.45ºC และความเร็วเท่ากับ 1.89 m/s

ควันไหลใต้เพดานไปตามช่องว่างระหว่างคาน W = 1.5 m ที่ระยะ L = 2 m เราสามารถคำนวณหาอุณหภูมิของควันได้จาก

∆TCJ/∆T0 =  0.37(H/W)1/3 exp[ -0.16(L/H)(W/H)1/3 ]

=  0.37(3/1.5)1/3 exp[ -0.16(2/3)(1.5/3)1/3 ]

=  0.428

uCJ / u0 =  7.56  จะได้  uCJ = 0.34(7.56) = 2.57 m/s

ในข้อย่อยที่ 2 กลุ่มควันไหลไปตามช่องว่างระหว่างคาน W = 1.5 m ที่ระยะ L = 2 m จะมีอุณหภูมิเท่ากับ 178 ºC และความเร็วเท่ากับ 2.57 m/s

จากตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิและความเร็วของกลุ่มควันไหลใต้ เพดานในกรณีที่ควันไหลในพื้นที่จำกัดจะมีค่าสูงกว่าในกรณีที่กลุ่มควันไหลใต้เพดานได้อย่างอิสระ ทั้งนี้เนื่องจากพลังงานที่ควันได้รับจากการเผาไหม้ในกรณีที่ควันไหลในพื้นที่จำกัดได้ถูกบีบให้ไหลไปในทางเดียวจึงทำาให้ควันมีอุณหภูมิและความเร็วที่สูงกว่าในกรณีที่ควันสามารถไหลกระจายใต้เพดานได้อย่างอิสระ

แบ่งปันเรื่องราว