ระยะของเพลิงไหม้ (Stage of Fire Development)

ระยะในการเกิดเพลิงไหม้ (Stage of Fire Development) ถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วน

  • ก่อนลุกติดไฟ (Incipient Period)
  • เริ่มต้นติดไฟ (Growth Period)
  • ระยะวาบไฟและลุกลามไฟ (Flashover)
  • ระยะเผาไหม้สมบูรณ์ (Fully Developed)
  • ระยะไฟมอดดับ (Decay Period)
การปลดปล่อยพลังงานความร้อนและระยะเวลาในแต่ละช่วงของการเกิดเพลิงไหม้

(ภาพ - การปลดปล่อยพลังงานความร้อนและระยะเวลาในแต่ละช่วงของการเกิดเพลิงไหม้)

ระยะที่ 1 : Growth Period

ระยะแรกของการเริ่มต้นติดไฟ เกิดเพลิงไหม้ที่วัตถุ ควันร้อนเริ่มลอยตัวสูงขึ้นจากแรงลอยตัว (Buoyancy Force) การเปาไหม้คล้ายกับการเปาไหม้ในพื้นที่เปิดอิสระ (Free Burning)

การเกิดเพลิงไหม้ในระยะที่ 1 Growth Period

(ภาพ - การเกิดเพลิงไหม้ในระยะที่ 1 Growth Period)

ระยะที่ 2 : Flash Over

Flashover หมายถึง สภาวะที่วัตถุในห้องสามารถลุกติดไฟได้ทุกชิ้น

สิ่งที่บ่งบอกก่อนเกิดระยะ Flashover คือ 

  • อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 500-600°C 
  • Floor Heat Flux ~ 15 – 20 kWm2

การระบายอากาศภายในเป็นไปอย่างจำกัด ถ้าออกซิเจนภายในไม่พอต่อการเผาไหม้ เพลิงอาจจะดับมอดเองได้ แต่ไอของเชื้อเพลิงภายในห้องยังคงอยู่ถ้าหากมีการเปิดให้อาหาศเข้า หรือมีออกซิเจนเพียงพอมีโอกาสที่จะเกิด Backdraft ได้สูง

การเกิดเพลิงไหม้ในระยะที่ 2 Flashover

(ภาพ - การเกิดเพลิงไหม้ในระยะที่ 2 Flashover)

ระยะที่ 3 : Fully Developed

ถ้าหากออกซิเจนภายในห้องมีเพียงพอ เพลิงสามารถลุกลามเข้าสู่ระยะของ Fully-Developed หรือ Post-Flash over fire ได้ ในระยะของ Fully-Developed เราจะมองเห็นเปลวไฟลุกลามออกมาทางหน้าต่าง เพราะเพลิงต้องการออกซิเจนเพื่อเผาไหม้ อุณหภูมิภายในห้องอยู่ที่ 800-1,000°C และอัตราการปล่อยความร้อนที่ ~150 kW/m2

การเกิดเพลิงไหม้ในระยะที่ 3 Fully Developed

(ภาพ - การเกิดเพลิงไหม้ในระยะที่ 3 Fully Developed)

ระยะที่ 4 : Decay Period

ระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของการเกิดเพลิงไหม้ เมื่อเชื้อเพลิงหมดลงเพลิงก็จะค่อย ๆ มอดดับลงเอง อุณหภูมิและการปล่อยพลังงานความร้อนภายในห้องจะลดลง

การเกิดเพลิงไหม้ในระยะที่ 4 Decay Period

(ภาพ - การเกิดเพลิงไหม้ในระยะที่ 4 Decay Period)

Backdraft Effect

Backdraft หมายถึง เมื่อเกิดการเผาไหม้ภายในห้องปิด เชื้อเพลิงจะปล่อยไอระเหยออกมาและเมื่อเพลิงที่ร้อนภายในห้องได้สัมผัสกับอากาศ (การเปิดประตูหรือหน้าต่างในห้องที่เผาไหม้) ก็จะเกิดการลุกติดไฟอย่างรวมเร็วและนำไปสู่การระเบิด

อากาศจากภายนอกห้อง สามารถเข้าไปภายในห้องได้จากการทุบทำลายประตูหรือหน้าต่าง Backdraft เป็นสาเหตุสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้ตำรวจดับเพลิงเสียชีวิตในขณะดับเพลิงไหม้

ค่าฟลักซ์ความร้อนระดับต่างๆ

เชื้อเพลิง (Source)

kW/m2

รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ผิวโลก

< 1

ความร้อนที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ผิวหนัง

~ 1

ความร้อนที่ทำให้เกิดอันตราย

~ 4

ไฟลุกติดที่วัสดุบาง ๆ

> 10

ไฟลุกติดที่เฟอร์นิเจอร์

> 20

ภายในห้องที่เต็มไปด้วยเพลิงไหม้ (800 – 1,000 °C)

75 – 150

ภายในสระขนาดใหญที่เต็มไปด้วยเพลิงไหม้ (800 – 1,200 °C)

75 – 267

แบ่งปันเรื่องราว