วิธีหุ้มฉนวนท่อดักแอร์ (Ductwork Insulation) ด้วยฉนวนยางดำ
การติดตั้งฉนวนสำหรับท่อดักแอร์ (Ductwork Insulation) ให้ถูกต้องก็เพื่อป้องกันการเกิดหยดน้ำและรักษาอุณหภูมิภายในระบบให้เป็นไปตามการออกแบบ ในบทความนี้จะบอกถึงวิธีการติดตั้งฉนวนยางดำ (Close-cell Insulation) และเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ติดตั้งได้สวยงามทั้งการการหุ้มท่อดักแอร์และหน้าแปลนท่อดักท์
3T แนะนำ
ถ้าหากสนใจประเภทของฉนวนยางดำ (Close-cell Insulation) ว่าแตกต่างกันอย่างไร ทั้งชนิด NBR (Nitrile-Butadiene Rubber) และ EPDM (Ethylene-Propylene Diene Monomer) หรือฉนวนยางดำ Class 1, Class 0 และ FM Approved คืออะไร แตกต่างอย่างไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
สามารถอ่านวิธีการติดตั้งฉนวนยางดำ สำหรับติดตั้งท่อความเย็น (Cold pipe Insulation) ได้ที่นี่
การหุ้มฉนวนท่อดักแอร์ สี่เหลี่ยมด้วยฉนวนยางดำชนิดแผ่น
ทำการวัดขนาดและพื้นที่ของท่อดักท์แอร์ และตัดฉนวนตามขนาดดังนี้
a = ความกว้างท่อดักท์ + 5 มม.
b = ความสูงท่อดักท์ + 5 มม. + ความหนาฉนวน
c = ความกว้างท่อดักท์ + 5 มม. + (2 x ความหนาฉนวน)
3T แนะนำ
เผื่อความยาวของฉนวนด้านละ 2.5 มม. เพราะเมื่อติดตั้งน้ำหนักฉนวนจะทำให้ฉนวนแอ่นตัวหรือเกิดการกดทับกันทำให้ความกว้างฉนวนลดลง
ทากาวที่ผิวท่อดักแอร์และผิวฉนวนยางดำเป็นชั้นฟิล์มบางๆ
รอให้กาวแห้ง ทดสอบโดยการแตะด้วยนิ้วมือ ( Fingernail Test ) ติดตั้งฉนวนยางดำโดยจับให้ขอบของฉนวนแต่ละด้านแนบสนิทกัน
การติดตั้งฉนวนยางดำให้เริ่มจาากบริเวณด้านล่างของท่อดักแอร์ก่อน (ด้านที่ 1) จากนั้นให้ทำด้านข้างทั้ง 2 ด้าน (ด้านที่ 2a และ 2b) และด้านบน (ด้านที่ 3) เป็นฝั่งสุดท้าย
บริเวณรอยต่อของฉนวนยางดำ เราจะต้องเหลือระยะให้ฉนวนเกยทับกันที่ 5 – 10 มม. และในระยะ 5 – 10 มม. นี้เราจะไม่ทากาวที่ฉนวนและบริเวณผิวท่อดักแอร์
เราจะกดฉนวนส่วนที่ซ้อนเกยกันลงไปให้แนบสนิทกัน ระยะที่ซ้อนเกยกันสามารถกดลงไปได้เพราะฉนวนยางดำมีลักษณะนิ่มและเมื่อฉนาวนยางดำคืนตัวจะกดกับฉนวนส่วนด้านหน้าทำให้แนบสนิทกัน
หลังจากกดฉนวนลงไปแล้วให้เรานำกาวสำหรับทาฉนวนยางดำทำการซีลรอยต่อให้แนบสนิทอีกครั้ง
การหุ้มฉนวนท่อดักแอร์ สี่เหลี่ยมด้วยฉนวนยางดำชนิดแผ่น เคลือบกาว
ก่อนติดตั้งฉนวนยาดำให้ทำความสะอาดผิวท่อดักแอร์ก่อนการติดตั้งเพื่อล้างคราบน้ำมัน จาระบีและเศษฝุ่นต่างๆออกก่อน
ลอกกระดาษกาวออกในระยะ 10 – 20 ซม. และติดฉนวนเข้ากับผิวท่อดักแอร์เพื่อให้แน่ใจว่าฉนวนจะติดกับผิวท่ออย่างแนบสนิท
หลังจากติดในระยะ 10 – 20 ซม. แล้วเราจะจับให้ขอบด้านข้างของฉนวนเหลื่อมออกมาจากผิวของท่อดักแอร์ด้านละ 5 มม. เพื่อเป็นระยะกดทับให้กับตัวฉนวน จากนั้นค่อยๆ ลอกกระดาษกาวออกอย่างช้าๆ
ใช้กาวทาฉนวนยางดำในการซีลรอยต่อของฉนวนเพื่อให้ฉนวนแนบสนิทกัน
การหุ้มฉนวนหน้าแปลนท่อดักแอร์
การหุ้มหน้าแปลนท่อดักแอร์ด้วย ฉนวนยางดำชนิดท่อ
ในบางครั้งที่ฉนวนยางดำชนิดท่อเหลือจากการใช้งานเราสามารถนำมาใช้หุ้มหน้าแปลนท่อดักท์ได้
1. ผ่าฉนวนยางดำชนิดท่อตามแนวยาวของฉนวนให้เป็น 2 ส่วนที่มีขนาดเท่ากัน โดยใช้ความหนาฉนวนเท่ากับความหนาที่หุ้มท่อดักแอร์
2. วัดระยะความยาวของหน้าแปลนท่อดักท์ทั้ง 4 ด้านเพื่อตัดความยาวฉนวน
3. เมื่อได้ระยะหน้าแปลนแล้วให้ตัดฉนวนด้วยมุม 45°
4. ตัดฉนวนตามความยาวของด้านที่เหลืออีก 3 ด้าน
5. รอให้กาวแห้ง โดยใช้นิ้วมือในการทดสอบว่ากาวแห้งรึยัง
6. ใช้กาวทาฉนวนซีลรอบของกรอบฉนวนเป็นอันเสร็จสิ้น
การหุ้มหน้าแปลนท่อดักแอร์ด้วย ฉนวนยางดำชนิดแผ่น
Single strip method – ตัดแผ่นฉนวนยางดำออกตามความยาวของหน้าแปลนแต่ละด้าน และแปะแผ่นฉนวนครอบหน้าแปลนโดยใช้กาวทาฉนวน
กาวใช้งาน – ใช้ได้เมื่อความหนาฉนวนมีขนาดใกล้เคียงกับความกว้างของหน้าแปลน
Three side box method – ในแต่ละด้านจะตัดแผ่นฉนวนขึ้นมาเพื่อครอบหน้าแปลนท่อดักท์
การใช้งาน – ใช้เมื่อความกว้างของหน้าแปลนแตกต่างกับความหนาของฉนวนค่อนข้างมาก
Continuous single strip method – ตัดฉนวนชนิดแผ่นเป็นเส้นที่มีความยาวรวมของหน้าแปลนทั้ง 4 ด้าน และทำการแปะคร่อมทับหน้าแปลนท่อดักท์
การใช้งาน – ใช้เมื่อมีเวลาในการติดตั้งน้อยแต่มีข้อเสียคือค่อนข้างสิ้นเปลืองฉนวน
ฉนวนยางดำสำหรับหุ้มท่อดักท์แอร์
แหล่งที่มา
- ARMAFLEX Application manual – https://local.armacell.com/th/armacell-thailand/know-how/ducting-explored/