วิธีหุ้มฉนวนใยหิน ROCKWOOL สำหรับท่อความร้อน
งานระบบท่อ รับหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งในอุตสาหกรรมเคมี หรือปิโตเลียม อย่างเช่น ในโรงไฟฟ้ากำลังมีอุปกรณ์หลายอย่างมากมายทั้ง คอลัมภ์ (Columns) , ถังเก็บความดัน (Pressure Vessels) , หม้อต้มไอน้ำ (Boilers), กังหันผลิตไฟฟ้า (Turbines) และอื่นๆ
ระบบท่อจะทำการส่งวัตถุดิบจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ซึ่งภายในอาจจะเป็นทั้งสารเคมีหรือไอน้ำโดยที่สารภายในนั้นจะต้องคงสภาพเดิม (ทั้งอุณหภูมิ, ความหนืด, ความดัน) เพื่อที่จะนำไปใช้ต่อไป
สิ่งสำคัญคือการคงสภาพเดิมของสารภายในท่อจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ผู้ออกแบบจะต้องมั่นใจว่าระบบท่อหุ้มฉนวนจะมีการสูญเสียความร้อนน้อยที่สุดและรักษาพลังงานไว้ให้ได้มากที่สุด
ความต้องการในการหุ้มฉนวนท่อความร้อน
เป้าหมายในการหุ้มฉนวนท่อความร้อน
-
- ลดการสูญเสียความร้อน (ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน)
- ลดการปล่อย CO2
- ฉนวนใยหินที่ใช้สามารถรักษาอุณหภูมิของระบบได้
- ลดเสียงรบกวนจากระบบท่อ
- สามารถป้องกันการเกิดหยดน้ำ
- ป้องกันความร้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์เมื่อสัมผัสโดน
- ป้องกันและยับยั้งการเกิดเพลิงไหม้
มาตรฐานในงานหุ้มฉนวนท่อความร้อน
การใช้งานและติดตั้งควรพิจารณาจากมาตรฐานและกฎหมายเหล่านี้
-
-
- DIN 4140 : งานฉนวนกันความร้อนสำหรับโรงไฟฟ้าและอุปกรณ์
- AGI Q101 : งานฉนวนกันความร้อนสำหรับอุปกรณ์ในโรงไฟฟ้ากำลัง
- CINI-Manual : งานฉนวนกันความร้อนสำหรับงานอุตสาหกรรม
- BS 5970 : กฎในการปฏิบัติงานฉนวนกันความร้อนสำหรับท่อน้ำร้อน, ระบบท่อแอร์ และ รวมถึงอุปกรณ์อื่นในอุตสาหกรรม
-
ระบบฉนวนกันความร้อนสำหรับท่อร้อน
งานหุ้มฉนวนท่อความร้อนจะมีการหุ้มแผ่นโลหะ (Cladding) หลังจากการหุ้มฉนวนแล้วเพื่อป้องกันท่อและฉนวนจากสภาพอากาศและแรงกระทำจากภายนอก (เช่น การชน กระแทก หรือการเดินบนท่อเพื่อเข้าทำการซ่อมบำรุง
การติดตั้งสเปซเซอร์ จำเป็นต้องติดตั้งเมื่อเราหุ้มท่อด้วยฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่าย เพราะฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่ายจะไม่ทนต่อแรงกดทับจากแรงภายนอกและน้ำหนักของแผ่นโลหะที่ปิดผิว (ถ้าแผ่นโลหะกดทับลงบนเนื้อฉนวนโดยตรงจะทำให้ฉนวนใยหินยุบลง ความหนาของฉนวนจะลดลงและทำให้สูญเสียพลังงานมากขึ้น)
ดังนั้นการติดตั้งสเปซเซอร์จะทำให้น้ำหนักที่กดทับจากภายนอกส่งไปที่ท่อโดยตรงซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบใดๆกับระบบฉนวน
ฉนวนใยหินสำหรับหุ้มท่อ ชนิดท่อสำเร็จรูป (ProRox Pipe Section)
ROCKWOOL ได้ทำการพัฒนาท่อใยหินชนิดสำเร็จรูป ProRox PS WR-Tech ที่จะลดปริมาณสารคลอไลน์ลงให้ต่ำกว่า 10 ppm เพื่อป้องกันการเกิดการกัดกร่อนของท่อเหล็กและป้องกันการกัดกร่อนภายใต้ฉนวน
ฉนวนท่อสำเร็จรูปมีตั้งแต่ขนาดเล็ก 1/2” NPS (23mm) จนถึงขนาดใหญ่ 36” NPS (915mm) และมีความหนาตั้งแต่ 25 – 100 mm ทำให้ผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้ได้หลากหลาย ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือ ติดตั้งง่ายและช่วยลดเวลาการติดตั้งได้มาก เพราะเพียงแค่สวมลงไปที่ท่อเหล็กก็สามารถใช้งานได้เลยและยังไม่ต้องติดตั้งสเปซเซอร์เหมือนอย่างชนิดม้วนลวดตาข่าย
ใยหินท่อสำเร็จรูปมีความหนาแน่นที่สูง 120 กก./ลบ.ม และ 150 กก./ลบ.ม ทำให้สามารถทนแรงกดทับได้ ส่วนฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่าย นั้นจะนิ่มกว่าเพราะมีความหนาแน่นที่ 80/100/128 กก./ลบ.ม เท่านั้น
ฉนวนใยหินสำหรับหุ้มท่อ ชนิดม้วนลวดตาข่าย (ProRox Wire Mat)
ใยหินฉนวนม้วน ลวดตาข่ายเช่น ProRox WM จะผลิตขึ้นจากเส้นใยของหินภูเขาไฟ โดยทำให้ติดกันด้วยตัวประสาน และมี WR-Tech ที่เป็นนวัตกรรมเฉพาะของ ROCKWOOL ที่จะทำการลดปริมาณสารคลอไรด์ให้ต่ำกว่า 10 ppm เพื่อลดการเกิดสนิมภายใต้ฉนวน
ผลิตภัณฑ์ทั่วไปจะใช้ลวดตาข่ายที่เป็นลวดกัลวาไนซ์ แต่จะมีผลิตภัณฑ์พิเศษที่ใช้เป็นลวดแสตนเลสด้วยเช่นกัน ฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่ายนั้น จะใช้กับท่อขนาดใหญ่ 14” NPS (DN 350) หรือข้อต่อต่างๆ ที่ยากต่อการใช้ฉนวนใยหิน ชนิดท่อสำเร็จ เช่น ข้อต่อ 3 ทาง (T-Joint) ข้องอ (Elbow) หรือจำพวกหน้าแปลนต่างๆ
การใช้ฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่ายในการหุ้มเพราะว่าสามารถตัดต่อได้ง่ายเพียงใช้มีดกรีดตัดเนื้อฉนวนและใช้คีมตัดลวดก็สามารถใช้งานได้เลย
แต่ตัวฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่ายนั้น จะไม่ทนแรงกดจึงต้องใช้งานร่วมกับ สเปซเซอร์ หรือ ซัพพอตท่อ เพื่อรักษาความสามาถของระบบฉนวนเอาไว้
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระบบฉนวนชนิดท่อสำเร็จและชนิดม้วนลวดตาข่าย
ประโยชน์หลักของฉนวนใยหิน ชนิดท่อสำเร็จรูปคือ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งซัพพอตของท่อทำให้สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้นและรักษาความร้อนได้ดีกว่า ส่วนฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่ายนั้นจะต้องติดตั้งสเปซเซอร์ทำให้ใช้เวลาในการทำงานมากและจะเกิดจุดความร้อนบริเวณสเปซเซอร์ทำให้เสียความร้อนเพิ่มขึ้น
ข้อดีของฉนวนชนิดท่อสำเร็จรูป
- ไม่จำเป็นต้องติดตั้งสเปซเซอร์หรือซัพพอตท่อ
- ทำงานได้รวดเร็วขึ้นเพราะไม่ต้องติดตั้งสเปซเซอร์
- สามารถติดตั้งแผ่นแจ็กเก็ตให้แนบกับฉนวนใยหินได้เลย
- การติดตั้งสเปซเซอร์ทำให้สูญเสียพลังงานมากขึ้น
- เกิดจุดความร้อนขึ้นในบริเวณที่ติดตั้งสเปซเซอร์
เปรียบเทียบความหนาฉนวนใยหินแบบท่อสำเร็จและม้วนลวดตาข่าย
ถ้าเราเปรียเทียบฉนวนทั้ง 2 ระบบโดยพิจารณาที่ การสูญเสียความร้อนที่เท่ากัน(Heat loss) เราจะใช้ตารางด้านล่างในการเปรียบเทียบ ความหนาฉนวนทั้ง 2 แบบ โดยจะมีเงื่อนไขตามนี้
- อุณหภูมิปานกลาง : 250 °C
- อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม : 10 °C
- ความเร็วลม : 5 เมตร/วินาที
- แจ็กเก็ต : อะลูซิงค์
- อัตราการสูญเสียความร้อน : 150 วัตต์/เมตร
- มีการติดตั้งสเปซเซอร์ในระบบฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่าย
ขนาดท่อ DN | นิ้ว | มม. | ProRox PS960 | ProRox WM950 |
---|---|---|---|---|
50 | 2 | 60 | 30 | N/A |
80 | 3 | 89 | 30 | N/A |
100 | 4 | 115 | 40 | N/A |
150 | 6 | 169 | 60 | N/A |
200 | 8 | 220 | 80 | 110 (50+60) |
250 | 10 | 275 | 90 | 140 (70+70) |
300 | 12 | 324 | 100 | 160 (80+80) |
350 | 14 | 356 | 110 | 180 (90+90) |
เปรียบเทียบความหนาฉนวนใยหินแบบท่อสำเร็จและม้วนลวดตาข่าย
โดยปกติแล้วฉนวนสำหรับท่อตรง ควรใช้ฉนวนใยหิน ชนิดท่อสำเร็จจะเหมาะสมกว่า เพราะไม่ต้องติดตั้งสเปซเซอร์ทำให้สามารถทำงานได้เร็ว และในบางงานเช่นการหุ้มหน้าแปลนหรือข้องอก็จำเป็นต้องใช้แบบม้วนเพราะสามารถตัดเข้ารูปได้ง่ายกว่า เราจึงมีตารางเพื่อแนะนำการเลือกใช้ฉนวนดังนี้
การใช้งาน | อุณหภูมิ (°C) | ProRox PS960 | ProRox WM950 | ProRox WM960 |
---|---|---|---|---|
ท่อตรง | < 300 °C | +++++ | ++ | + |
300 – 600 °C | +++ | ++ | + | |
> 600 °C | +++ | |||
ท่อสั้น ข้องอ วาล์ว หน้าแปลน |
< 300 °C | + | +++ | ++ |
300 – 600 °C | +++ | ++ | ||
600 – 650 °C | +++ | |||
ท่อความร้อน สำหรับงานอาคาร |
D < 356 มม. | +++++ | ||
D > 356 มม. | ++++ |
การหุ้มท่อความร้อนด้วยฉนวนใยหินชนิดท่อสำเร็จ ROCKWOOL ProRox PS
การออกแบบความหนาฉนวนเพื่อป้องกันการสัมผัสกับความร้อน
ตารางด้านล่างนี้จะเป็นตารางที่ช่วยในการออกแบบความหนาของฉนวนเพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัสกับผิวท่อ โดนจะกำหนดกรณีตัวอย่างดังนี้
- อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม : 25 °C
- ความเร็วลม : 0 เมตร/วินาที
- แจ็กเก็ต : แผ่นสังกะสี
- อุณหภูมิผิวสูงสุด : 60 °C
- ฉนวนที่ใช้ : ProRox PS960
ขนาดท่อ DN | นิ้ว | มม. | < 200 °C | 250 °C | 300 °C | 350 °C | 400 °C | 450 °C |
500 °C |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
25 | 1 | 34 | 20 | 30 | 40 | 60 | 70 | 80 | 100 |
50 | 2 | 60 | 30 | 40 | 50 | 70 | 80 | 100 | 110 |
80 | 3 | 89 | 30 | 40 | 50 | 80 | 90 | 100 | 130 |
100 | 4 | 115 | 30 | 40 | 60 | 80 | 100 | 120 | 140 |
150 | 6 | 169 | 30 | 50 | 60 | 90 | 110 | 130 | 150 |
200 | 8 | 219 | 40 | 50 | 60 | 90 | 120 | 140 | 160 |
250 | 10 | 275 | 40 | 50 | 70 | 100 | 120 | 150 | 170 |
300 | 12 | 324 | 40 | 50 | 70 | 100 | 130 | 150 | 180 |
การติดตั้ง
ฉนวนใยหิน ROCKWOOL รุ่น ProRox PS960 มีลักษณะเป็นท่อกลวงรูด้านในจะเป็นขนาดของท่อเหล็กและมีความหนาออกมาเป็นชั้นทำให้เมื่อสวมเข้ากับท่อจะมีขนาดพอดีกับท่อเหล็ก
- สำหรับท่อในแนวนอนเราจะหมุนรอยผ่าของฉนวนไว้ใต้ท่อเพื่อป้องกันเวลาฝนตกไม่ให้น้ำฝนหยดผ่านรอยผ่าเข้าไปถึงท่อเหล็ก
- ส่วนท่อแนวตั้งเราจะวางรอยบากของท่อเหลื่อมกันประมาณ 30 องศา เพื่อไม่ให้หยดน้ำไหลผ่านรอยผ่าลงไปถึงท่อเหล็ก
- หลังจากติดตั้งฉนวนเสร็จแล้วจะใช้ลวดเชื่อมสังกะสีหรือสายรัดโลหะ รัดตัวฉนวนอีกครั้งหนึ่ง
- ฉนวนหุ้มท่อที่มีความหนามากกว่า 120 mm (หรืออุณหภูมิสูงกว่า 300 °C) ทำให้ต้องใช้ฉนวนซ้อนกัน 2 ชั้นหรือ 3 ชั้น รอยผ่าของฉนวนจะต้องเหลื่อมกันเพื่อไม้ให้น้ำซึมผ่านรอยผ่าเข้าไปบริเวณท่อด้านใน
ซัพพอตท่อและสเปซเซอร์
โดยปกติแล้วในระบบฉนวนชนิดท่อสำเร็จรูปนั้นไม่จำเป็นต้องติดตั้งสเปซเซอร์และซัพพอตท่อ แต่ในกรณีที่ท่อมีการสั่นมากๆ และ/หรือ อุณหภูมิสูงกว่า 300 °C ในบางครั้งอาจจะต้องมีการติดตั้งสเปซเซอร์ร่วมด้วย
ท่อที่มีการติดตั้งในแนวตั้งและมีความสูงเกิน 4 เมตร ซัพพอตของท่อจะทำการล็อกฉนวนให้ติดกับท่อ เราจะติดตั้งแหวนซัพพอตตัวแรกที่จุดต่ำสุดของท่อและตัวถัดไปจะติดตั้งห่างกันไม่เกิน 4 เมตร
การหุ้มฉนวนท่อความร้อนด้วย ฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่าย
ฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่ายเหมาะกับท่อความร้อนที่มีขนาดใหญ่ หรือข้อต่อต่างๆ เพราะสามารถตัดต่อให้เข้ากับรูปทรงข้อต่อได้ง่ายกว่า ใยหินชนิดม้วนลวดตาข่ายจะทนต่อแรงกดทับได้น้อยกว่าแบบท่อสำเร็จ และการติดตั้งควรจะใช้งานร่วมกับสเปซเซอร์
การออกแบบความหนาฉนวนเพื่อป้องกันการสัมผัสกับความร้อน
ตารางด้านล่างนี้จะเป็นตารางที่ช่วยในการออกแบบความหนาของฉนวนเพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัสกับผิวท่อ โดนจะกำหนดกรณีดังนี้
- อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม : 25°C
- ความเร็วลม : 0 เมตร/วินาที
- แจ็กเก็ต : แผ่นสังกะสี
- อุณหภูมิผิวสูงสุด : 60 °C
- ฉนวนที่ใช้ : ProRox WM950
ขนาดท่อ DN | นิ้ว | มม. | < 100 °C | 200 °C | 300 °C | 400 °C | 500 °C | 600 °C |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
200 | 8 | 219 | 30 | 40 | 80 | 110 | 160 | 180 |
250 | 10 | 274 | 30 | 50 | 80 | 120 | 170 | 190 |
300 | 12 | 324 | 30 | 50 | 80 | 130 | 170 | 190 |
400 | 16 | 406 | 30 | 50 | 90 | 130 | 170 | 190 |
500 | 20 | 508 | 30 | 50 | 90 | 130 | 180 | 200 |
การติดตั้ง
- ตัดฉนวนใยหินให้มีความยาวที่สามารถพันรอบท่อได้พอดี
- ดึงลวดตาข่ายของฉนวนใยหินให้เข้ามาชิดกันและมัดด้วยลวดโลหะความหนา 0.5 มม.
- ท่อสแตนเลสและท่อที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 400 °C จะใช้การเย็บลวดเพื่อป้องกันการฉีกขาดของลวดและป้องกันการเกิดสนิม
- ในกรณีที่ฉนวนมีความหนามากกว่า 120 มม. หรืออุณหภูมิสูงกว่า 300 °C จะต้องใช้ฉนวนซ้อนกันหลายชั้น ต้องไม่ให้รอยผ่าบริเวณฉนวนที่หุ้มนั้นอยู่ในแนวเดียวกันเพื่อป้องกันน้ำหยดเข้าสู่บริเวณผิวท่อชั้นใน
ซัพพอตท่อและสเปซเซอร์
ฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่ายนั้นจะไม่ทนต่อแรงกดทำให้ไม่สามารถใช้แผ่นแจ็กเก็ตหุ้มทับลงไปบนฉนวนได้ทันที จะต้องติดตั้งสเปซเซอร์หรือซัพพอตท่อก่อนการติดตั้งแจ็กเก็ต
ท่อที่มีการติดตั้งในแนวตั้งและมีความสูงเกิน 4 เมตร ซัพพอตของท่อจะทำการล็อกฉนวนให้ติดกับท่อ เราจะติดตั้งแหวนซัพพอตตัวแรกที่จุดต่ำสุดของท่อและตัวถัดไปจะติดตั้งห่างกันไม่เกิน 4 เมตร
อุปกรณ์ช่วยซัพพอตฉนวนใยหินสำหรับงานระบท่อ
A.สเปซเซอร์
การติดตั้งสเปซเซอร์เพื่อช่วยรับน้ำหนักของแจ็กเก็ตที่จะมาติดตั้งหลังจากที่หุ้มฉนวนเรียบร้อยแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องติดตั้งสเปซเซอร์เมื่อใช้ฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดตาข่ายแต่ถ้าหากใช้ฉนวนที่เป็นท่อสำเร็จรูปก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งสเปซเซอร์
โครงสร้างท่อจะประกอบด้วยแหวนโลหะที่อยู่ชั้นนอกสุดติดกับแผ่นแจ็กเก็ต ถัดมาจะเป็นสเปซเซอร์โลหะหรือเซรามิกที่จะติดตั้งอยู่บนท่อ เช่น Omega Clamps ถูกใช้เป็นประจำในการลดการสั่นสะเทือน
- สเปซเซอร์โลหะเราจะติดตั้งอย่างน้อย 3 ชิ้นโดยระยะของสเปซเซอร์ต้องไม่เกิน 16 นิ้ว (400 mm) เมื่อวัดเทียบแหวนโลหะวงนอก
- ส่วนสเปซเซอร์เซรามิกจะติดตั้งอย่างน้อย 4 ชิ้นและระยะห่างระหว่างสเปซเซอร์ต้องไม่เกิน 10 นิ้ว (250 mm) เมื่อวัดเทียบแหวนโลหะวงนอก
จำนวนของสเปซเซอร์จะขึ้นกับอุณหภูมิทำงานและแรงภายนอก เราสามารถดูระยะห่างของสเปซเซอร์ได้จาก CINI 1.3.23
การติดตั้งสเปซเซอร์บริเวณส่วนโค้งของท่อเช่น ข้องอ เราจะติดตั้งที่จุดเริ่มต้นของข้องอและปลายของข้องอ และถ้าระยะห่างของสเปซเซอร์มากกว่า 27 นิ้ว (700 mm) เมื่อวัดที่เส้นวงนอกของข้องอ เราจะต้องติดตั้งสเปซเซอร์เพิ่มเข้าไป
B.ซัพพอตท่อ
เราจะติดตั้งซัพพอตท่อสำหรับท่อแนวตั้งเพราะท่อในแนวตั้งจะมีน้ำหนักมากทั้งน้ำหนักของท่อ น้ำหนักฉนวน และน้ำหนักของแจ็กเก็ต และท่อในแนวตั้งจะมีการสั่นมากกว่าท่อในแนวตั้ง การใช้ซัพพอตท่อจะขึ้นกับขนาดของท่อและอุณหภูมิของท่อว่าจะใช้สกูรยึด การเชื่อมท่อหรือการใช้แคมป์ 2 ชั้นสำหรับท่อที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ซัพพอตจะต้องทำจากโลหะทนอุณหภูมิสูง
ตารางแสดงน้ำหนักฉนวนต่อความยาวท่อ
ขนาดท่อ DN | นิ้ว | มม. | 30 มม. | 40 มม. | 50 มม. | 60 มม. | 80 มม. | 100 มม. | 120 มม. | 140 มม. |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
15 | 0.5 | 22 | 4 | 5 | 6 | 8 | 11 | 15 | 19 | 24 |
25 | 1 | 34 | 4 | 5 | 7 | 8 | 12 | 15 | 20 | 25 |
50 | 2 | 60 | 5 | 7 | 8 | 10 | 13 | 17 | 22 | 27 |
65 | 2.5 | 76 | 6 | 7 | 9 | 10 | 14 | 18 | 23 | 28 |
80 | 3 | 89 | 7 | 8 | 10 | 11 | 15 | 19 | 24 | 29 |
100 | 4 | 115 | 8 | 9 | 11 | 12 | 16 | 21 | 26 | 31 |
200 | 8 | 219 | 12 | 14 | 16 | 18 | 23 | 28 | 33 | 39 |
300 | 12 | 324 | 17 | 19 | 21 | 24 | 29 | 35 | 41 | 47 |
500 | 20 | 508 | 25 | 28 | 31 | 34 | 40 | 47 | 54 | 62 |
700 | 28 | 711 |
|
37 | 41 | 44 | 52 | 60 | 69 | 78 |
แผ่นโลหะหุ้มฉนวน (Cladding)
แจ็กเก็ตทำหน้าที่ในการป้องกันฉนวนกันความร้อนจากสภาพอากาศ มลภาวะอื่นๆภายนอก การเลือกวัสดุในการมากทำแจ็กเก็ตขึ้นกับหลายอย่างเช่น มีการสั่นของตัวท่อหรือไม่ ในช่วงของการซ่อมบำรุงจะมีการเดินบนท่อหรือไม่ ลมฝน และอุณหภูมิแวดล้อม
เราจะทำการเลือกวัสดุที่ทำแจ็กเก็ตตามนี้
- แผ่นสังกะสีจะใช้ในอาคารเพราะมีความแข็งแรงที่ดี ทนไฟ
- แผ่นอะลูมิเนียม จะใช้กับงานภายนอกอาคารเพราะสามารถทนต่อสภาพอากาศได้ดีและมีราคาถูกกว่าสแตนเลส
ในพื้นที่ที่มีการกัดกร่อน แผ่นอะลูมิเนียม, แผ่นสแตนเลส หรือ แผ่นพลาสติกเสริมแรง จะใช้ในการทำแจ็กเก็ตและแผ่นสแตนเลสจะแนะนำในสภาพแวดล้อมที่อาจจะเกิดไฟไหม้
Cladding Material | พื้นที่เสี่ยงเกี่ยวกับไฟ | การกัดกร่อน | < 60 °C |
> 60 °C |
---|---|---|---|---|
แผ่นอะลูมิเนียม |
– | – | / | |
แผ่นอะลูซิงค์ |
– | – | / | |
แผ่นสังกะสี |
/ | – | / | |
แผ่นสแตนเลส |
/ | / | / | |
แผ่นเหล็กชุบอะลูมิเนียม |
/ | / | / | |
แผ่นเหล็กเคลือบพลาสติก |
– | – | / | |
แผ่นพลาสติดเสริมแรง |
– | / |
< 90 °C |
Cladding Material | พื้นที่เสี่ยงเกี่ยวกับไฟ | การกัดกร่อน | < 60 °C |
> 60 °C |
---|---|---|---|---|
แผ่นอะลูมิเนียม |
– | – | / | |
แผ่นอะลูซิงค์ |
– | – | / | |
แผ่นสังกะสี |
/ | – | / | |
แผ่นสแตนเลส |
/ | / | / | |
แผ่นเหล็กชุบอะลูมิเนียม |
/ | / | / | |
แผ่นเหล็กเคลือบพลาสติก |
– | – | / | |
แผ่นพลาสติดเสริมแรง |
– | / |
< 90 °C |
ตารางแสดงความหนาของแผ่นแจ็กเก็ต ตาม CINI
เส้นผ่านศูนย์กลางท่อ | แผ่นอะลูมิเนียม (CINI 3.1.01) |
แผ่นเหล็กชุบอะลูมิเนียม (CINI 3.1.02) |
แผ่นอะลูซิงค์ (CINI 3.1.02) |
แผ่นเหล็กชุบสังกะสี (CINI 3.1.04) |
แผ่นสแตนเลส |
---|---|---|---|---|---|
< 140 มม. | 0.6 มม. | 0.56 มม. | 0.5 มม. | 0.5 มม. | 0.5 มม. |
130 – 300 มม. | 0.8 มม. | 0.8 มม. | 0.8 มม. | 0.8 มม. | 0.8 มม. |
> 300 มม. | 1.0 มม. | 0.8 มม. | 0.8 มม. | 0.8 มม. | 0.8 มม. |
คำแนะนำเบื้องต้น
- ยิงสกูลตามยาวของลอยต่อด้วยสกูลปลายสว่านหรือลิเวททุก 1 เมตร
- ห้ามใช้สกูลอะลูมิเนียม
อิทธิพลของการหุ้มแจ็กเก็ตต่ออุณหภูมิผิว
ความหนาฉนวนที่เพิ่มขึ้น ค่าการนำความร้อนของฉนวน และสภาพแวดล้อม อุณหภูมิผิวของฉนวนนั้นขึ้นกับการปล่อยความร้อนของแผ่นแจ็กเก็ตด้วยง
การใช้งานทั่วไปสำหรับฉนวนกันความร้อน ยิ่งพื้นผิวเงาเท่าไหร่ อุณหภูมิผิวจะยิ่งสูง ตัวอย่างด้านล่างจะเป็นการเปรียบเทียบอุณหภูมิผิวของวัสดุที่นำมาทำแผ่นแจ็กเก็ต
- เส้นผ่านศูนย์กลางท่อ : 4” NPS (114 mm)
- อุณหภูมิสารภายใน : 500 °C
- สถานที่ติดตั้ง : ภายในอาคาร
- ความเร็วลม : 0.5 เมตร/วินาที
- ฉนวนใยหิน : ProRox WM950
- วัสดุทำแจ็กเก็ต :
-
- แผ่นอะลูมิเนียม
- แผ่นเหล็กชุบสังกะสี
- แผ่นสแตนเลส
- สีเคลือบแผ่นพลาสติก
อุปกรณ์แขวนท่อ(Pipe Hanger) และอุปกรณ์ค้ำท่อ(Pipe Support)
มีอุปกรณ์หลายอย่างสำหรับอุปกรณ์แขวนท่อและอุปกรณ์ค้ำท่อ เราจะอธิบายด้วยภาพด้านล่าง
-
- อุปกรณ์แขวนท่อที่ติดกับท่อโดยตรง
- อุปกรณ์ค้ำท่อที่ติดกับท่อโดยตรง
- อุปกรณ์ค้ำท่อที่ไม่ได้ติดกับท่อโดยตรง (ปกติจะใช้ในฉนวนงานเย็น)
อุปกรณ์แขวนท่อที่ติดกับท่อโดยตรง
อุปกรณ์แขวนท่อที่ติดกับท่อโดยตรง
อุปกรณ์แขวนท่อที่ติดกับท่อโดยตรง
การหุ้มฉนวนใยหินวาล์วและหน้าแปลน
การสูยเสียความร้อนเกิดขึ้นได้ในข้อต่อหรือหน้าแปลนที่ไม่ได้หุ้มฉนวนเราสามารถประมาณความร้อนที่สูญเสียอย่างหยาบๆ ได้ว่าวาล์วจะสูญเสียความร้อนเท่ากับท่อตรงที่ไม่ได้หุ้มฉนวน 1 เมตร
ถ้าไม่มีการหุ้มฉนวนที่บริเวณวาล์วหรือหน้าแปลน อุณหภูมิของสารที่อยู่ภายในท่อจะลดลงและส่งผลให้ระบบไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรหุ้มฉนวนที่วาล์วกับหน้าแปลนและอย่างน้อยความหนาฉนวนควรจะหนาเท่ากับความหนาที่ใช้หุ้มท่อ
คำแนะนำในการหุ้มฉนวนกันความร้อนสำหรับข้อต่อและหน้าแปลน
ฉนวนที่หุ้มบริเวณข้อต่อหรือหน้าแปลนควรซ้อนทับฉนวนสำหรับท่อตรงด้วยระยะประมาณ 50 มม
วิธีการหุ้มฉนวนข้องอ (Elbow) และข้อต่อ 3 ทาง (T Pieces)
แจ็กเก็ตบริเวณข้องอหรือท่อ 3 ทางนั้น เป็นส่วนที่สามารถเสียหายได้ง่าย จะเกิดจากการสั่นของท่อหรือการขยายตัวของท่อและอีกปัญหาก็คือการที่ต้องทนกับความชื่นและไอน้ำ เมื่อติดตั้งอยู่ที่นอกอาคาร
การหุ้มข้องอด้วยฉนวนใยหิน ROCKWOOL ProRox PS ชนิดท่อสำเร็จรูป
เราจะตัดฉนวนใยหินชนิดท่อสำเร็จให้เป็นไปตามส่วนโค้งของข้องอ
การหุ้มข้องอด้วยฉนวนใยหิน ROCKWOOL ProRox WM ชนิดม้วนลวดตาข่าย
เราจะตัดฉนวนใยหินชนิดม้วนลวดจาขายให้เป็นทรงฟิชเชป (Fish-Shaped elbow) เพราะจะได้สามารถหุ้มได้แนบไปกับข้องอได้พอดีจากนั้นใช้ลวดเชื่อมหรือลวดในการมัดลวดตาข่ายให้ติดกัน และติดตั้งสเปซเซอร์ที่จุดเริ่มต้น และจุดปลายของข้องอ
การหุ้มแจ็กเก็จบริเวณข้องอ
การหุ้มแจ็กเก็จบริเวณ 3 ทาง
การหุ้มฉนวนข้อลด (Reducer)
การหุ้มฉนวนใยหินข้อลดในแนวนอน
การหุ้มฉนวนใยหินข้อลดในแนวตั้ง
ข้อต่อขยาย (Expansion Joint)
ในงานระบบฉนวนนั้น การขยายตัวของท่อและแจ็กเก็ตอาจจะแตกต่างกันอย่างมาก การขยายตัวที่ไม่เท่ากันนี้เกิดจาก วัสดุที่ต่างกัน, ฉนวนกันความร้อน และอุณหภูมิที่แตกต่างกันทำให้มีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวที่แตกต่างกัน
เราจะใช้ Al เป็นสัญลักษณ์ในการขยายตัวตามยาว
Δl = l * Δt * α
l = ความยาวของท่อ
Δt = ผลต่างอุณหภูมิตอนที่ร้อนกับเย็นของท่อ (หรือแจ็กเก็ต)
α = สัมประสิทธิ์การขยายตัวตามยาว
วัสดุ |
สัมประสิทธิ์การขยายตัวตามยาว (α) |
---|---|
อะลูมิเนียม (Aluminum) |
23.8 |
ทองเหลือง (Bronze) |
200 |
เหล็กหล่อ (Cast Iron) |
10.4 |
ทองแดง (Copper) |
16.5 |
สแตนเลส (Stainless Steel) |
16 |
เหล็ก (Iron) |
11 |
การหุ้มฉนวนใยหินข้อต่อขยายในแนวตั้ง
การหุ้มฉนวนใยหินข้อต่อขยายในแนวนอน
การเดินบนท่อที่มีการหุ้มฉนวน (Foot Traffic)
ควรหลีกเลี่ยงการเดินบนท่อที่หุ้มฉนวนแล้วเพราะ การเดินบนท่อที่หุ้มฉนวนแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายที่ฉนวนได้เช่น เกิดช่องว่างบริเวณรอยต่อของแผ่นแจ็กเก็ตจะทำให้ความชื้นเข้าสู่ท่อและส่งผลให้เกิดสนิมได้
ในกรณีที่มีพื้นที่น้อย จำเป็นที่จะต้องเดินบนท่อในช่วงของการซ่อมบำรุงให้ใช้เป็นฉนวนใยหินชนิดท่อสำเร็จ ProRox PS970 ที่สามารถทนต่อแรงกดทับทั้งน้ำหนักของแจ็กเก็ตและการเดินบนท่อได้ ส่วนท่อที่หุ้มด้วยฉนวนชนิดม้วนลวดตาข่ายนั้นแจ็กเก็ตจะต้องถูกติดตั้งบนบราสำหรับค้ำท่อเพื่อรองรับน้ำหนักการเดินและน้ำหนักของแจ็กเก็ต