ฉนวนใยหิน ROCKWOOL สำหรับ Fire Barrier รุ่น Conlit H110
ราคา 4,717.44 บาท – 5,054.40 บาท
รายละเอียดสินค้า
ฉนวนใยหินConlit H110 ถูกออกแบบเพื่องาน Fire Barrier บนพื้นฐานของการทนไฟอย่างยาวนานภายใต้อาคารที่เกิดอัคคีภัย เพื่อให้สถาปนิกและวิศกรอัคคีภัยสามารถมั่นใจได้ว่าการออกแบบสามารถช่วยชีวิตผู้คนในขณะเกิดอัคคีภัยได้
Conlit H110 ถูกใช้อย่างแพร่หลายในงานอัคคีภัยทั้งผนังกันไฟเพื่อแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ การใช้เพื่อซีชช่องว่างของท่อน้ำหรือท่ออากาศที่ทะลุผ่านระหว่างชั้น เพื่อป้องกันการเกิดเพลิงลุกลามไปยังพื้นที่อื่น
ขนาดกว้าง 0.6 เมตร ยาว 1.2 เมตร
Conlit H110
ฉนวนใยหินConlit H110 ถูกออกแบบเพื่องาน Fire Barrier บนพื้นฐานของการทนไฟอย่างยาวนานภายใต้อาคารที่เกิดอัคคีภัย เพื่อให้สถาปนิกและวิศกรอัคคีภัยสามารถมั่นใจได้ว่าการออกแบบสามารถช่วยชีวิตผู้คนในขณะเกิดอัคคีภัยได้
Conlit H110 ถูกใช้อย่างแพร่หลายในงานอัคคีภัยทั้งผนังกันไฟเพื่อแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ การใช้เพื่อซีลช่องว่างของท่อน้ำหรือท่ออากาศที่ทะลุผ่านระหว่างชั้น หรืองาน Fire Barrier
วัสดุไม่ติดไฟ EN13501-1
ในงานทนไฟหรืองานอัคคีภัยนั้นข้อสำคัญอย่างแรกเลยคือวัสดุนั้นต้อง “ไม่ติดไฟ (Non-Combustible)” และต้องไม่ทำให้ไฟนั้นกระจายมากขึ้นด้วย ฉนวนใยหินConlit H110 ได้รับการทดสอบตามาตรฐาน EN13501-1 เพื่อจำแนกประเภทวัสดุจากระดับ A – F ตามความรุนแรงของการติดไฟ
ตารางจำแนกประเภทวัสดุตามความรุนแรงของการติดไฟ
Defition |
Classification according to European Standard EN 13501-1 |
||
Non-Combustible materials |
A1 |
||
A2 – s1d0 |
A2 – s1d1 |
A2 – s1d2 |
|
A2 – s2d0 |
A2 – s2d1 |
A2 – s2d2 |
|
A2 – s3d0 |
A2 – s3d1 |
A2 – s3d2 |
|
Combustible materials – very limited contribution to fire |
B – s1d0 |
B – s1d1 |
B – s1d2 |
B – s2d0 |
B – s2d1 |
B – s2d2 |
|
B – s3d0 |
B – s3d1 |
B – s3d2 |
|
combustible materials – limited contribution to fire |
C – s1d0 |
C – s1d1 |
C – s1d2 |
C- s2d0 |
C – s2d1 |
C – s2d2 |
|
C – s3d0 |
C – s3d1 |
C – s3d2 |
|
Combustible materials – medium contribution to fire |
D – s1d0 |
D – s1d1 |
D – s1d2 |
D – s2d0 |
D – s2d1 |
D – s2d2 |
|
D – s3d0 |
D – s3d1 |
D- s3d2 |
|
Combustible materials – highly contribution to fire |
E |
E – d2 |
|
Combustible materials – easily flammable |
F |
“s” ระดับการปล่อยควัน (Smoke emission level) : มีค่าต้องแต่ 1 (ปล่อควันน้อย-ไม่มีควัน) ถึง 3 (ปล่อยควันสูง)
“d” การเกิดหยดไฟ (Flaming Droplets) : มีค่าต้องแต่ 0 (ไม่เกิดหยดไฟ) ถึง 1 (เกิดหยดไฟมาก)
ตารางแสดงระดับของการเกิดควันและการเกิดหยดไฟ
Additional class |
Level Definition |
||
Smoke emission during combustible |
S |
1 |
Quantity/speed emission of absent or weak |
2 |
Quantity/speed emission of average intensity |
||
3 |
Quantity/speed emission of high intensity |
||
Production of flaming droplets/particles during combustible |
D |
0 |
No dripping |
1 |
Slow dripping |
||
2 |
High dripping |
จากตารางจำแนกวัสดุเราจะเห็นได้ว่าฉนวนใยหิน Conlit H110 เป็นวัสดุประเภท A1 ซึ่งไม่ติดไฟ ไม่ก่อให้เกิดควันและไม่มีการเกิดหยดไฟ จึงสามารถมั่นใจได้ว่าจะเป็นวัสดุที่นำมาใช้ในป้องกันอัคคีภัยได้
การแพร่กระจายของเพลิง = 0 การเกิดควัน = 0
ในงานป้องกันอัคคีภัยสิ่งที่ทำให้การเสียชีวิตสูงนั้นไม่ใช่ “เปลวไฟ” แต่คือ “ควัน” ดังนั้นวัสดุที่นำมาใช้ในงานอัคคีภัยจะต้องเป็นวัสดุที่ไม่เกิดควัน จึงได้มีการออกแบบการทดสอบ ASTM E84 ขึ้นมาเพื่อวัดค่าการแพร่กระจายเพลิงที่ผิววัตถุและความหนาแน่นของควันไฟ
ผลการทดสอบของฉนวนใยหินConlit H110 เราจะได้ค่าการแพร่กระจายเพลิง (Flame spread) = 0 และการเกิดควัน (Smoke develope) = 0 เพราะว่าฉนวนใยหินROCKWOOL นั้นเป็นวัสดุไม่ติดไฟจึงไม่สามารถแพร่กระจายเพลิงได้ และไม่เกิดควันเมื่อเผาไหม้ด้วย
ค่าการนำความร้อนที่ต่ำ ASTM C518
การออกแบบผนังกันไฟมีเหตุผลเพื่อให้ไฟนั้นไหม้อยู่ในบริเวณที่จำกัด คนที่อยู่อีกฝั่งของผนังกั้นไฟจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอีกฝั่งหนึ่งของผนังเกิดไฟไหม้อยู่
เหตุผลที่คนที่อยู่อีกฝั่งของผนังกันไฟนั้นไม่รู้ว่าเกิดเพลิงไหม้อีกฝั่งหนึ่งเป็นเพราะค่าการนำความร้อนที่ต่ำ ความร้อนผ่านกำแพงมาได้น้อยทำให้อุณหภูมิที่กำแพงแทบจะปกติเลย เราจะรู้ว่าอีกฝั่งหนึ่งเกิดไฟไหม้มั้ยเราต้องดูที่ลูกบิดประตู ลองเอามืออังดูใกล้ๆ ถ้าลูกบิดร้อนแสดงว่าอีกฝั่งนั้นเกิดเพลิงไหม้อยู่
ฉนวนกันไฟจึงเป็นอีกวัสดุหนึ่งที่จำเป็นอย่างมากในงานป้องกันอัคคีภัย ไม่เพียงช่วยกั้นเพลิงไม่ให้เข้ามาในที่ปลอดภัยแล้วยังช่วยเราเพิ่มระยะเวลาการหลบหนีเพิ่มขึ้นอีก 2 – 3 ชม.
การยุบตัว ASTM C356
ในขณะเกิดเพลิงไหม้ที่มีอุณหภูมิสูงๆ ตัววัสดุซีลที่เราใช้ตามรอยต่อของท่อหรือตามช่องเปิดบริเวณผนังกั้นก็อาจจะยุบตัวได้ ถ้าเกิดการยุบตัวที่มากก็จะทำให้ช่องนั้นใหญ่ขึ้นเปลวไฟก็อาจจะลุกลามออกมาจากพื้นที่ที่เรากั้นไว้ได้
ดังนั้นการยุบตัวของฉนวนกันไฟจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากและได้มีการจัดรูปแบบการทดสอบการยุบตัวของฉนวนที่อุณหภูมิสูงหรือ ASTM C356 มาตรฐานนี้จะการจำลองการเกิดเพลิงไหม้และวัดค่าเพื่อหาการยุบตัวของวัสดุ จากผลการทดสอบฉนวนใยหินConlit H110 มีการยุบตัวเพียง 2% ซึ่งถือเป็นค่าที่น้อยมาก และเหมาะสมที่จะใช้ในงานกันไฟอย่างยิ่ง
การใช้งาน
ซีลกันไฟรอยต่อท่อผ่านผนังทนไฟ ( Fire Seal )
ในบางครั้งเราจะพบการเดินท่อผ่านผนังกันไฟที่เราใช้แบ่งส่วนอาคาร บริเวณช่องของท่อตามมาตรฐานของ NFPA แล้วจะต้องบุด้วยฉนวนทนไฟเพื่อป้องกันไม่ให้เพลิงลุกลามข้ามผ่านผนังมาได้
ผนังทนไฟ ( Fire Resistant Wall )
ในการแบ่งส่วนอาคารจะใช้ผนังคอนกรีตติดตั้งด้วยฉนวนทนไฟเพื่อให้ผนังนั้นสามารถจำกัดพื้นที่ของเพลิงไหม้ได้และเพื่อให้ผู้ใช้อาคารมีเวลาเพิ่มขึ้นในการหลบหนีออกนอกอาคาร
ประตูทนไฟ ( Fire Door )
ประตูทนไฟจะถูกติดตั้งที่ ทางหนีไฟหรือประตูที่อยู่บริเวณผนังที่เป็นการแบ่งส่วนของอาคาร การที่ผนังนั้นจะทนไฟให้ได้ 2 ชม. ตามที่มาตรฐานกำหนดตัวประตูและวัสดุต่างๆที่ผ่านผนังทนไฟนี้จะต้องทนไฟให้ได้ 2 ชม. ผนังด้วย
Weight | N/A |
---|---|
Dimensions | N/A |
ความหนา | 40 มม., 50 มม., 100 มม. |