ฉนวนกันเสียง ROCKWOOL รุ่น Safe ‘n’ Silent Pro

ราคา 595.20 บาท2,808.00 บาท

รายละเอียดสินค้า

ฉนวนใยหิน Safe ’n’ Silent Pro เป็นฉนวนกันเสียง สำหรับงานอาคารทั่วไป มีความหนาแน่นตั้งแต่ 40 กก./ลบ. – 100 กก./ลบ. และมีความหนาตั้งแต่ 25 มม. – 100 มม. มีค่าการดูดซับเสียง NRC = 1.00 ใช้งานร่วมกับผนังเบา ทำให้สามารถกันเสียงจากบริเวณโดยรอบได้

ขนาดกว้าง 0.6 เมตร ยาว 1.2 เมตร

วัสดุปิดผิว

  • อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)
  • หุ้มวัสดุกันชื้น (Plastic Bag)
  • หุ้มผ้ากลาสโค้ด (Glass Cloth)

ฉนวนกันเสียง ROCKWOOL Safe ’n’ Silent Pro ถูกออกแบบมาเพื่องานระบบผนังกันเสียงที่มีค่า NRC ที่สูงถึง 1.00 ทำให้เสียงถูกดูดซับถึง 100% และด้วยคุณสมบัติของฉนวนใยหินที่สามารถป้องกันความร้อน ส่งผลให้ระบบผนังมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งในเรื่องของการป้องกันเสียงและกันความร้อน

จากคุณสมบัติของหินภูเขาไฟ หรือหินบะซอลต์ที่เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตฉนวนใยหินROCKWOOL ที่เป็นสารอนินทรีย์ที่จุลินทรีย์หรือเชื้อราไม่สามารถเติบโตได้ เนื้อฉนวนก็จะไม่เน่าเสียด้วย ทำให้ฉนวนใยหินROCKWOOL อยู่คู่กับอาคารได้อย่างยาวนาน

ผลิตภัณฑ์ของ ROCKWOOL ยังได้รับฉลากเขียว จาก SGBC ( Singapore Green Building Council ) ซึ่งได้รับการประเมิณในระดับ 3-Tick ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสามารถในการกันเสียง

วัสดุฉนวนใยหิน Safe ’n’ Silent Pro ถูกทดสอบด้วยมาตรฐาน ISO 354 ซึ่งเป็นวิธีการทดสอบแบบห้องก้องกังวาน (Reverberant room Medthod) เพื่อหาค่าสัมประสิทธิการดูดซับเสียง

REVERBERATION ROOM

ห้องทดสอบการดูดซับเสียงของวัสดุ

วิธีการทดสอบนี้เราจะใช้วัสดุตัวอย่าง 10-12 ตารางเมตร โดยภายในห้องจะมีเครื่องกำเนิดเสียงที่จะปล่อยเสียงที่มีความถี่ตั้งแต่ 100-5,000 Hz ให้สะท้อนไปมาที่บริเวณผิวห้องและมาชนกับวัตถุ

จากผลการทดสอบนี้เราจะได้ค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียงตั้งแต่ 0 – 1 ที่เป็นค่าที่บอกเราว่าสามารถดูดซับเสียงได้เท่าไหร่ตั้งแต่ 0% – 100% และจากการทดสอบนี้ฉนวนใยหิน Safe ’n’ Silent Pro จะได้ค่า NRC (Noise Reduction Coefficient) อยู่ที่ 0.9 – 1.0 ที่บ่งบอกว่า ฉนวนใยหินSafe ’n’ Silent Pro ดูดซับเสียงได้มากถึง 90% – 100% เลยทีเดียว

ความสามารถในการกันความร้อน

ประสิทธิภาพทางความร้อนของฉนวนใยหินนั้นเป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว ทั้งในระบบงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 100 – 850 องศาเซลเซียส ด้วยค่าการนำความร้อนที่ต่ำดังนั้นในงานระบบผนังที่ต้องกันการความร้อนที่ 30 – 40 องศาเซลเซียสถือว่าเล็กน้อยไปเลย

ค่าการนำความร้อนของฉนวนใยหินถูกทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C518 ผลลัพธ์จากการทดสอบนี้ได้ค่าการนำความร้อน (K-Value หรือ Thermal Conductivity) อยู่แค่ 0.033 – 0.036 W-m.K ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำมากและเกินพอสำหรับงานระบบผนัง

ความสามารถในการทนไฟ

 ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยหินด้วยคุณสมบัติส่วนตัวแล้วมีจุดหลอมเหลวที่ 1,000 องศาเซลเซียส ถือว่าทนอุณหภูมิได้สูงมาก เราสามารถยืนยันความสามรถนี้ด้วยการทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐาน

การหาจุดหลอมเหลวของฉนวนใยหินถูกทดสอบด้วย ASTM ตามมาตรฐาน ASTM E794 โดยวิธีการทดสอบการวิเเคราะห์ผลต่างทางความร้อน (DTA  หรือ Differential Thermal Analysis) ที่จะใช้ทดสอบวัสดุที่อุณหภูมิ 25 – 1500 องศาเซลเซียส

MELTING POINT AT 1000C AND NON COMBUSTIBLE MATERIAL

ฉนวนใยหิน ROCKWOOL เป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟถูกจัดประเภทเป็นวัสดุ A1

เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าฉนวนใยหินไม่ติดไฟ มีการทดสอบหนึ่งเรียกว่า EN 13501-1 ที่เป็นมาตรฐานในการทดสอบการตอบสนองต่อเปลวไฟ โดยจะทำการแบ่งวัสดุตั้งแต่ระดับ A1 – F โดยวัสดุในระดับ F จะเป็นวัสดุไวไฟ ติดไฟง่ายและแพร่กระจายได้เร็ว ส่วนฉนวนใยหินถูกจัดอยู่ในระดับ A1 ที่บอกว่าเป็นวัสดุไม่ติดไฟ

การดูดซับน้ำและความชื้น

ในงานระบบผนังนั้นความชื้นถือเป็นสิ่งที่เป็นปัญหาอย่างมาก การที่ผนังชื้นจะทำให้สีผุพองขึ้น อาจเกิดเชื้อราตามฝ้าและผนัง รวมถึงการเป็นรอยหยดน้ำที่ผนังซึ่งทำให้อายุการใช้งานของอาคารลดลง

ปัญหานี้ส่งผลมาให้ผู้ผลิตฉนวนต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองขึ้นไปอีกด้วยการทำให้ฉนวนใยหินนั้นมีการซึมน้ำที่น้อย หมายความวว่าตัวฉนวนนี้จะไม่อุ้มน้ำ เมื่อมีน้ำหยดลงบนฉนวนใยหิน ROCKWOOL น้ำจะรวมกันเป็นหยดและไม่ซึมเข้าไปในฉนวนแต่จะมีลักษณะเป็นหยดน้ำอยู๋บนฉนวนแทน

water condense on rock wool

หยดน้ำจะไม่ซึมเข้าไปที่ฉนวนใยหินและจะระเหยออกได้เอง

วิธีการนี้ทำให้ฉนวนแห้งเร็วเมื่อมีอากาศพัดผ่านก็จะทำให้หยดน้ำระเหยไปหมดด้วย และฉนวนใยหินROCKWOOL ยังผ่านการทดสอบการดูดซับความชื้นตามมาตรฐาน ASTM C1104 และ ASTM C1104M และได้ค่าการดูดซับไอน้ำ 0.04% เท่านั้นซึ่งแทบจะไม่ดูดไอน้ำเลยด้วยซ้ำ

ฉนวนใยหินก่อให้เกิดมะเร็ง

มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่เป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องของ “ใยหิน” ก่อให้เกิด “มะเร็ง” สิ่งนี้เป็นความเข้าในผิดในรูปแบบของการแปรภาษาออกมา ฉนวนใยหิน (ROCKWOOL) และ แร่ใยหิน (Asbestos) ด้วยคำ 2 คำนี้จึงทำให้เกิดความสับสน เราจะมาอธิบายให้ฟัง

asbestos

ภาพแร่ใยหิน (Asbestos)

แร่ใยหิน (Asbestos) เป็นกลุ่มแร่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นเส้นใยสีขาวขนาดเล็กกว่า 0.1 ไมครอน เกิดจากวัตถุดิบที่เป็นกลุ่มแร่ซิลิเกต สามารถกระจายฟุ้งในอากาศและเส้นใยสามารถแตกเล็กลงได้เรื่อยๆมีลักษณะที่แหลมคม และเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

material of rock wool insulation

ภาพฉนวนใยหิน ROCKWOOL

ฉนวนใยหิน ROCKWOOL เกิดจากกระบวนการผลิตที่ควบคุมโดยเครื่องจักรมาตรฐานที่จะหลอมละลายหินบะซอลต์และหินโดโลไมท์ เพื่อปั่นออกมาเป็นเส้นใยขนาด 4-6 ไมครอน เส้นใยสามารถแตกหักได้มีปลายมนขนาดใหญ่เกินกว่าจะเข้าปอด ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง

ตารางความแตกต่างฉนวนใยหิน ROCKWOOL และแร่ใยหิน (Asbestos)

ข้อแตกต่าง

ฉนวนใยหินROCKWOOL

แร่ใยหิน (Asbestos)

วัตถุดิบ

หินบะซอลต์ , โดโลไมท์

กลุ่มแร่ซิลิเกต

แหล่งกำเนิด

เครื่องจักรที่ได้มาตรฐาน

การทับถมของกลุ่มแร่ซิลิเกต

ลักษณะเส้นใย

ขนาด 4 – 6 ไมครอน เส้นใยปลายมน

ขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน เส้นใยแหลมคม

ผลกระทบต่อสุขภาพ

ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์

ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์

การจำแนกตามสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ

กลุ่มที่ 3 ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์

กลุ่มที่ 1 เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์

เราสามารถค้นหาข้อมูลของสารต่างๆ ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้จากสถาบันมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer : IARC) โดยสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติจะแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ออกเป็น 3 กลุ่ม

ตารางจำแนกสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

Group 1 เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์
Group 2A เป็นสารที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์
Group 2B เป็นสารที่มีความเป็นไปได้ที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร้งในมนุษย์
Group 3 เป็นสารไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์

การใช้งานผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์ฉนวนใยหินROCKWOOL รุ่น Safe ’n’ Silent Pro ถูกออกแบบมาใช้สำหรับงานผนังเพื่อใช้ในการกันเสียงและกันความร้อน การใช้งานสามารถติดตั้งได้ 2 วิธีคือ

1.) การก่อผนัง 2 ชั้นโดยเว้นช่องว่างสำหรับฉนวนใยหิน

BRICKWALL INSULATION

การก่อผนังอิฐ 2 ชั้นจะติดตั้งฉนวนไว้ที่ระหว่างกลางของผนังอิฐทั้ง 2 ฝั่ง

2.) การตีโครงคร่าวสำหรับฉนวนใยหินและปิดด้วยแผ่นยิปซัมบอร์ด

INSTALLED INSULATION IN DRY WALL

การติดโคร่งคร่าวผนังเหมาะสำหรับงานต่อเติม

โดยทั้ง 2 วิธีการนี้จะมีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันการก่อผนัง 2 ชั้นได้ผนังที่แข็งแรงและมีการซับเสียงและกันความร้อนที่ดีกว่าการตีโครงคร่าวแต่ก็จะมีข้อเสียในเรื่องของต้นทุนที่สูงกว่า

การตีโครงคร่าวสำหรับผนังนั้นจะมีข้อดีคือค่าก่อสร้างจะถูกกว่าและสามารถทำในรูปแบบของการรีโนเวทได้แต่ผนังก็จะแข็งแรงน้อยกว่าการก่อผนัง 2 ชั้น

 

Weight 20 kg
Dimensions 600 × 1200 mm
ความหนาแน่น

40K, 60K, 80K, 100K

ความหนา

25 มม., 50 มม., 75 มม., 100 มม.

ขนาด

400 x 1200 มม., 600 x 1200 มม.