ในโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการใช้พลังงานความร้อนที่อุณหภูมิสูงๆ อย่างเช่น โรงไฟฟ้า โรงหล่อโลหะ หรือโรงน้ำตาล ในโรงงานเหล่านี้มีการคิดมูลค่าของพลังงานเป็นต้นทุน ถ้าหากสูญเสียพลังงานบางส่วนออกไปก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุน เหมือนเป็นค่าเสียโอกาสอย่างนึง

ในปีนี้เราต่างเห็นพลังงานสะอาดเป็นเทรนด์ที่กำลังเติมโตอย่างมาก ทั้งรถไฟฟ้า โรงไฟฟ้าพลังงานลม โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล อุตสาหกรรมเหล่านี้ต่างเร่งขยายกำลังการผลิต ส่งผลให้อุตสาหกรรมก่อสร้างเติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน

ฉนวนงานทนอุณหภูมิสูง คืออะไร?

อย่างที่ได้เกริ่นนำถึงอุตสาหกรรมพลังงานที่เติบโตขึ้น และในอุตสาหกรรมพลังงานย่อมประกอบด้วยอุปกรณ์ทำความร้อนเช่น หม้อต้ม ( Boiler ) , หัวเผา ( Burner ) , ถังเก็บผลิตภัณฑ์ ( Tank ) และ ถังเก็บความดัน ( Pressure Vessel ) อุปกรณ์เหล่านี้ภายในจะมีผลิตภัณฑ์ที่มีความร้อนสูงและเราอยากที่จะเก็บพลังงานตรงนี้ไว้ให้นานๆ ฉนวนกันความร้อนจึงมีบทบาทสำคัญในส่วนนี้

BOILER

ฉนวนงานทนอุณหภูมิสูงวัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นฉนวนใยแก้วชนิดทนความร้อนสูงและฉนวนใยหิน เพราะด้วยคุณสมบัติของวัสดุทั้ง 2 ชนิดนี้เหมาะสมที่จะใช้งานที่อุณหภูมิสูงโดยฉนวนใยแก้วชนิดทนความร้อนสูงจะสามารถใช้งานได้อุณหภูมิสูงสุดที่ 540 องศาเซลเซียส และฉนวนใยหินจะใช้งานได้อุณหภูมิสูงสุดที่ 850 องศาเซลเซียส

ฉนวนกันความร้อนไม่ได้แค่รักษาพลังงานของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในอีกด้านหนึ่งคือ ป้องกันไม่ให้มนุษย์สัมผัสกับความร้อนที่มากเกินไป ถ้าเกิดว่าหม้อต้มไม่ได้รับการหุ้มฉนวนและอุณหภูมิภายในที่สูงถึง 400 องศาเซลเซียส ไม่ต้องพูดถึงในกรณีที่มนุษย์ไปสัมผัสโดนเลย แค่เข้าใกล้ยังไม่สามารถทำได้เลยด้วยซ้ำ

อุณหภูมิเท่านี้ใช้ฉนวนอะไรดี

อย่างที่เราบอกว่าในงานทนอุณหภูมิสูงนั้นวัสดุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันเราอยากจะแนะนำวัสดุ 4 ชนิดว่าเหมาะสมที่จะใช้ในช่วงอุณหภูมิใด

ตารางแสดงคุณสมบัติฉนวนใยแก้วและใยหิน

วัสดุ ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน
ค่าการนำความร้อน
Thermal Conductivity
0.041 – 0.129 W/m.K 0.038 – 0.158 W/m.K
ช่วงอุณหภูมิใช้งาน 0 – 540 องศาเซลเซียส 400 – 850 องศาเซลเซียส
ราคา 125 – 345 บาท/ตารางเมตร 381 – 2088 บาท/ตารางเมตร
DIFFERENTBETWEEN ROCKWOOL AND GLASSWOOL

ตารางแสดงคุณสมบัติเซรามิคไฟเบอร์และแคลเซียมซิลิเกต

วัสดุ แคลเซียมซิลิเกต เซรามิกไฟเบอร์
ค่าการนำความร้อน
Thermal Conductivity
0.042 – 0.053 W/m.K 0.090 – 0.225 W/m.K
ช่วงอุณหภูมิใช้งาน 650 – 1050 องศาเซลเซียส 1250 – 1400 องศาเซลเซียส
ราคา 540 – 1080 บาท/ตารางเมตร 430 – 1150 บาท/ตารางเมตร
CALCIUM SILICATE AND CERAMIC FIBER

เราสามารถสรุปได้ว่า ในช่วงที่อุณหภูมิไม่สูงมากเราใช้เป็นฉนวนใยแก้วชนิดทนความร้อนสูงจะเหมาะสมมากกว่าเพราะว่าฉนวนใยแก้วจะมีราคาที่ถูกกว่าฉนวนใยหิน
ในช่วงอุณหภูมิปานกลางตั้งแต่ 400 องศาเซลเซียสควรเริ่มพิจารณาเรื่องฉนวนใยหินเพราะความสามารถของฉนวนใยแก้วที่เริ่มลดลงในขณะที่ใยหินมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
ถ้าหากหลุดช่วงอุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส ควรใช้เป็นแคลเซียมซิลิเกต เพราะราคาที่ไม่แพงมากและให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า เซรามิคไฟเบอร์
เมื่อเลยช่วงอุณหภูมิ 1050 องศาเซลเซียมต้องใช้เป็นเซรามิคไฟเบอร์เท่านั้น

สินค้าที่เกี่ยวกับงานอุตสาหกรรม