ฉนวนใยหิน ROCKWOOL สำหรับงานหลังคา ชนิดม้วน รุ่น Cool ‘n’ Comfort RL
ราคา 996.00 บาท – 3,725.00 บาท
รายละเอียดสินค้า
ในงานระบบหลังคา จะใช้ฉนวนกันความร้อนหลังคา rockwool รุ่น Cool ’n’ Comfort RL จะมีทั้งชนิดม้วนยาว
เราสามารถปูฉนวนได้ง่าย เพียงแค่กลิ้งฉนวน ทำให้ลดเวลาในการติดตั้งแบบการปูวางขวางแปได้มาก
Cool ’n’ Comfort RL
ฉนวนกันความร้อน Cool ’n’ Comfort เป็นฉนวนใยหินในเครือของ ROCKWOOL ที่ถูกออกแบบขึ้นมาสำหรับงานระบบหลังคากันความร้อน ด้วยการออกแบบมาให้มีลักษณะม้วนเพื่อให้กลิ้งตามหลังคาได้ง่าย และมีแบบแผ่นคัดไซส์ที่ตรงกับขนาดของร่องแปรรังคา ติดตั้งได้ง่ายแค่เพียงว่างตัวฉนวนลงบนร้องหลังคาเท่านั้น
ฉนวนใยหินนั้นเหมาะอย่างมากในงานกันความร้อนหรับหลังคาด้วยค่าการนำความร้อนที่ต่ำเพียง 0.033 W/m.K และด้วยคุณสมบัติในการดูดซํบเสียงรบกวนที่ค่า NRC = 1.00 ทำให้เสียงจากฝนที่ตกกระทบหลังคาไม่สามารถเข้ามารบกวนภายในอาคารได้เลย
ปัญหาหลักของฉนวนกันความร้อนในงานระบบหลังคาคือการที่หลังคารั่วและมีหยดน้ำหยดลงบนเนื้อฉนวน ฉนวนก็จะดูดซับน้ำและอาจจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้ แต่ฉนวนใยหินROCKWOOL ในกระบวนการผลิตที่ผสมกาวซิลิโคนกันน้ำในทุกเส้นใยของฉนวนใยหินทำให้น้ำที่หยดลงบนฉนวนไม่ซึมผ่าน แต่จะจับตัวกันเป็นหยดน้ำและจะระเหยไปเองตามอากาศ
ค่าการนำความร้อน
ความร้อนของหลังคาเมทัลชีทในระหว่างวันอาจสูงได้ถึง 70 องศาเซลเซียสความร้อนที่ส่งจากหลังคาเข้าสู่ตัวอาคารก็จะมากขึ้นตามมาด้วยส่งผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้นไปอีกการติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่มีค่าการนำความร้อนที่ต่ำจะช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศได้อย่างมาก
ค่าการนำความร้อนของฉนวนกันความร้อนปกติอยู่ที่ 0.032 – 0.045 W/m.K ซึ่งถือว่าเป็นค่าการนำความร้อนที่ต่ำมากและตัวค่าการนำความร้อนนี้จะถูกทดสอบด้วยองค์กรณ์ ASTM ด้วยมาตรฐาน ASTM C518 ที่จะใช้การทดสอบให้ความร้อนผ่านวัสดุทดสอบที่มีผิวเรียบ และใช้เครื่องวัดการไหลของความร้อน (Heat Flow Meter) อ่านค่าออกมา และฉนวนใยหินCool ’n’ Comfort ได้ค่าการนำความร้อนออกมาเพียง 0.033 W/m.K
การดูดซับเสียง
งานระบบหลังคาจำเป็นต้องมีเรื่องของค่าการกันเสียงด้วยหรอ เป็นคำถามที่หลายๆคนต่างถามเข้ามา เราอยากจะยกตัวอย่างง่ายๆ 1 เคสคือ ถ้าเราอยู่ในโกดังสินค้าและวันนั้นฝนตกลงมาบนหลังคาเมทัลชีท เวลาเราพูดคุยกับเพื่อนหนักงานหรือลูกค้าเราแทบจะไม่ได้ยินเสียงของอีกฝ่ายหนึ่งเลย
ดังนั้นค่าการดูดซับเสียงในระบบงานหลังคาไม่ใช่สิ่งจำเป็นแต่เป็นสิ่งที่มีก็จะทำให้รู้สึกดีขึ้นอย่างมาก ด้วยฉนวนใยหินเป็นฉนวนชนิดเซลล์เปิด (Open Cell Structure) ซึ่งเมื่อเสียงเข้ามากระทบกับฉนวนแล้วจะถูกดูดซับหายไปในฉนวนเลย เป็นไปตามหลักของการออกแบบฉนวนดูดซับเสียงที่ว่า “เมื่อเสียงเข้ามาตกกระทบ จงทำให้เสียงนั้นหาทางออกไม่เจอ”
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าฉนวนกันความร้อนนี้มีการกันเสียงที่ดี เราจะมีค่าทางวิศวกรรมตัวหนึ่งเรียกว่า NRC (Noise Reduction Coefficient) หรือค่าการดูดซับเสียง จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 1.0 ถ้าค่า NRC = 0.8 นั้นหมายความว่าวัสดุนั้นมีการดูดซับเสียง 80% เสียงที่มาตกลงบนวัสดุนี้จะถูกดูดซับ 80% และอีก 20% ที่เหลือจะสะท้อนออกมา แต่ฉนวนใยหินของเรานั้นค่า NRC ต่ำสุดก็อยู่ที่ NRC = 0.9 และสูงสุดอยู่ที่ NRC = 1.0 หรือก็คือเสียงไม่สามารถออกมาจากตัววัสดุนี้ได้เลย
การกันความชื้น
ปัญหาใหญ่ในงานระบบหลังคาคือเรื่องของฝนและความชื้น กรณีที่ฝนตกและหลังคารั่วย่อมมีหยดน้ำไหลลงมาด้านล่าง ถ้าเราติดตั้งฝ้า-เพดาน เราจะเห็นฝ้าเป็นดวงหยดน้ำได้เลยแต่ถ้าเราติดตั้งฉนวนก็เกรงว่าฉนวนจะอุ้มน้ำเหมือนฟองน้ำ ทำให้ตัวฉนวนนั้นหนักขึ้นอาจจะทำให้โครงหลังคานั้นทรุดตัว หรืออาจก่อให้เกิดเชื้อรา เห็ดที่นำมาสู่โรคภัยต่างๆ
แต่ฉนวนกันความร้อนCool ’n’ Comfort ถูกผลิตขึ้นจากหินภูเขาไฟหลอมละลายและผลิตออกมาเป็นเส้นใย ซึ่งไม่เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตทั้งเชื้อราและหนู และในกระบวนการผลิตนั้นทางบริษัท ROCKWOOL ได้เพิ่มสารซิลิโคนเข้าไปในกระบวนการผลิตขณะทำเส้นใยหิน ทำใหเส้นใยหินทุกๆเส้นจะเคลือบไปด้วยสารซิลิโคนกันน้ำ
ทำให้ตัวฉนวนใยหิน Cool ’n’ Comfort เมื่อมีน้ำหยดลงบนฉนวน หยดน้ำจะเกาะรวมตัวกันเป็นหยดน้ำและจะระเหยออกไปเองตามเวลา จากสารซิลิโคนที่เคลือบเส้นใยฉนวนใยหินนั้นเราได้ทำการทดสอบการดูดซับน้ำและการดูดซับความชื้นด้วยเพื่อให้ผู้ใช้งานได้มั่นใจมากขึ้น
ค่าการดูดซับน้ำถูกทดสอบตามมาตรฐานของ EN 1609.97 ซึ่งจะใช้วิธีทดสอบโดยการ จุ่มวัสดุทดสอบบางส่วนเป็นเวลา 24 ชม. และจากผลการทดสอบเราจะได้ว่าฉนวนดูดซับน้ำเป็นปริมาณเท่าไหร่ จากผลการทดสอบนี้เราจะได้ค่าการดูดซับน้ำของฉนวนใยหิน Cool ’n’ Comfort อยู่ที่ 0.5 – 1.0 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
ส่วนของการดูดซับความชื้นไอน้ำจะถูกทดสอบตาม ASTM C1104/C1104M ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ทดสอบฉนวนใยหินแบบไม่มีวัสดุปิดผิว และจากผลการทดสอบนี้เราจะได้ค่าการดูดซับความชื้ร น้อยกว่า 0.04% โดยปริมาตร
การทนไฟ
จุดหลอมเหลวของฉนวนใยหินสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียสและจัดเป็นวัสดุไม่ติดไฟระดับ A1 ซึ่งจัดจำแนกตามมาตรฐาน EN 13501-1/ BS EN 1182
มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเทรนด์ที่กำลังเป็นเมกะเทรนด์ของโลกนี้ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และวัสดุมีการกำจัดทิ้งอย่างเป็นมิตร วัสดุต่างๆจึงต้องปรับตัวไปกับเทรนด์โลกนี้เหมือนกัน
มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับกันคือ มาตรฐานอาคารเขียวของสิงคโปร์ (Singapore Green Building Concil: SGBC) ซึ่งเป็นเกณฑ์การประเมินที่กำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 100 คน เกณฑ์เหล่านี้ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจาก มาตารฐาน ISO 14020 ประเภทที่ 1 ที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการติดฉลากสิ่งแวดล้อม
โดยกำหนดเกณฑ์จากผลการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life-Cycle Assessment: LCA) เป็นพื้นฐานเพื่อคาดการณ์ผลกระทบในระยะยาวที่มีต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งการรับรองผลิตภัณฑ์ก่อสร้างนี้ได้รับการยอมรับจากอุตสาหกรรมก่อสร้างมห้เป็นมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ก่อสร้างสีเขียว เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมออกมาจำหน่ายมากขึ้น
จากโครงการที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อดูผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ฉนวนใยหิน Cool ’n’ Comfort ก็ได้เข้าร่วมกับนโยบายนี้และได้รับการรับรองให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่ออาคารก่อสร้างสีเขียว (Singapore Green Building Product Certifiled) เพื่อใช้ในโครงการอาคารประหยัดพลังงานต่างๆ ทั่วโลก
ฉนวนใยหินก่อให้เกิดมะเร็ง
มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่เป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องของ “ใยหิน” ก่อให้เกิด “มะเร็ง” สิ่งนี้เป็นความเข้าในผิดในรูปแบบของการแปรภาษาออกมา ฉนวนใยหิน (ROCKWOOL) และ แร่ใยหิน (Asbestos) ด้วยคำ 2 คำนี้จึงทำให้เกิดความสับสน เราจะมาอธิบายให้ฟัง
แร่ใยหิน (Asbestos) เป็นกลุ่มแร่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นเส้นใยสีขาวขนาดเล็กกว่า 0.1 ไมครอน เกิดจากวัตถุดิบที่เป็นกลุ่มแร่ซิลิเกต สามารถกระจายฟุ้งในอากาศและเส้นใยสามารถแตกเล็กลงได้เรื่อยๆมีลักษณะที่แหลมคม และเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
ฉนวนใยหิน ROCKWOOL เกิดจากกระบวนการผลิตที่ควบคุมโดยเครื่องจักรมาตรฐานที่จะหลอมละลายหินบะซอลต์และหินโดโลไมท์ เพื่อปั่นออกมาเป็นเส้นใยขนาด 4-6 ไมครอน เส้นใยสามารถแตกหักได้มีปลายมนขนาดใหญ่เกินกว่าจะเข้าปอด ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง
ตารางความแตกต่างฉนวนใยหิน ROCKWOOL และ แร่ใยหิน (Asbestos)
ข้อแตกต่าง |
ฉนวนใยหินROCKWOOL |
แร่ใยหิน (Asbestos) |
วัตถุดิบ |
หินบะซอลต์ , โดโลไมท์ |
กลุ่มแร่ซิลิเกต |
แหล่งกำเนิด |
เครื่องจักรที่ได้มาตรฐาน |
การทับถมของกลุ่มแร่ซิลิเกต |
ลักษณะเส้นใย |
ขนาด 4 – 6 ไมครอน เส้นใยปลายมน |
ขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน เส้นใยแหลมคม |
ผลกระทบต่อสุขภาพ |
ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
การจำแนกตามสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ |
กลุ่มที่ 3 ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
กลุ่มที่ 1 เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
เราสามารถค้นหาข้อมูลของสารต่างๆที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้จากสถาบันมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer : IARC) โดยสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติจะแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ออกเป็น 3 กลุ่ม
ตารางจำแนกสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
Group 1 |
เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
Group 2A |
เป็นสารที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
Group 2B |
เป็นสารที่มีความเป็นไปได้ที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร้งในมนุษย์ |
Group 3 |
เป็นสารไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
การติดตั้ง
การติดตั้งในงานระบบหลังคาสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบแต่ระบบหลังคาที่เป็นที่นิยมสำหรับฉนวนงานหลังคานั้นมี 2 รูปแบบคือ
1.) ระบบหลังคาชั้นเดียว
การติดตั้งฉนวนในงานระบบหลังคาชั้นเดียวจะประกอบด้วย แผ่นหลังคาเหล็ก ,แผ่นกันความชื้น ,ฉนวนกันความร้อน Cool ’n’ Comfort และตาข่ายโครงไก่
2.) ระบบหลังคาสองชั้น
การติดตั้งฉนวนในงานระบบหลังคาสองชั้นจะประกอบด้วย แผ่นหลังคาเหล็ก ,แผ่นกันความชื้น ,ฉนวนกันความร้อน Cool ’n’ Comfort และแผ่นหลังคาเหล็ก
Weight | N/A |
---|---|
Dimensions | N/A |
ความหนาแน่น | 40K, 60K |
ความหนา | 50 มม., 75 มม., 100 มม. |