ฉนวนใยหิน ROCKWOOL สำหรับงานระบบระบายอากาศ ชนิดม้วน รุ่น ROCKDUCT
ราคา 990.00 บาท – 5,295.00 บาท
รายละเอียดสินค้า
ROCKWOOL ฉนวนใยหิน ROCKDUCT ProRox BL ถูกพัฒนามาตรฐานขึ้นเพื่อใช้สำหรับงานระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศ เพื่อให้มีคุณสมบัติในการใช้งานทนความร้อนที่สูงขึ้น ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้าน มีความหนาแน่นตั้งแต่ 40 กก/ลบ.ม – 80 กก/ลบ.ม ความหนาที่ 25 และ 50 มม.
ขนาด 1.2 x 7.5 ม.
ROCKDUCT ProRox BL
ฉนวนใยหิน ROCKDUCT ProRox BL ถูกพัฒนามาตรฐานขึ้นเพื่อใช้สำหรับงานระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศ เพื่อให้มีคุณสมบัติในการใช้งานทนความร้อนที่สูงขึ้น ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้าน มีความหนาแน่นตั้งแต่ 40 กก/ลบ.ม – 80 กก/ลบ.ม ความหนาที่ 25 และ 50 มม.
การนำความร้อน
ฉนวนกันความร้อนชนิดม้วนลวดตาข่ายนั้น สามารถทนความร้อนได้ถึง 650 องศาเซลเซียสเลยทีเดียวซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานจาก ASTM C411 และ ASTM C447
และยังได้รับการทดสอบค่าการนำความร้อนด้วยมาตรฐาน ASTM C117 ซึ่งจะเป็นมาตรฐานที่ทำเพื่อหาค่าการนำความร้อนภายในฉนวนใยหินม้วนลวดตาข่ายและได้ผลลัพธิ์ เป็นตารางนี้
ค่าการนำความร้อนของ ProRox BL
Mean Temp (C) |
50 | 100 | 150 | 200 | 250 |
300 |
ค่าการนำความร้อน (W/m.K) | ||||||
ProRox BL938-SA |
0.039 |
0.047 |
0.057 |
– |
– |
– |
ProRox BL958-SA |
0.039 |
0.046 |
0.054 |
0.064 |
0.075 |
– |
ProRox BL960-SA |
0.041 |
0.049 |
0.057 |
0.066 |
0.074 |
0.083 |
ประเภทการติดไฟและปฏิกิริยากับไฟ
ด้วยคุณสมบัติของเนื้อฉนวนใยหินที่มีจุดหลอมเหลวมากกว่า 1,000 องศาเซลเซียส เราได้นำมาทดสอบเพื่อหาประเภทการติดไฟตามมาตรฐาน EN13501-1 ซึ่งจะแบ่งวัสดุตามการติดไฟจาก A1 – F
ตารางจำแนกประเภทวัสดุตามความรุนแรงของการติดไฟ
Defition |
Classification according to European Standard EN 13501-1 |
||
Non-Combustible materials |
A1 |
||
A2 – s1d0 |
A2 – s1d1 |
A2 – s1d2 |
|
A2 – s2d0 |
A2 – s2d1 |
A2 – s2d2 |
|
A2 – s3d0 |
A2 – s3d1 |
A2 – s3d2 |
|
Combustible materials – very limited contribution to fire |
B – s1d0 |
B – s1d1 |
B – s1d2 |
B – s2d0 |
B – s2d1 |
B – s2d2 |
|
B – s3d0 |
B – s3d1 |
B – s3d2 |
|
combustible materials – limited contribution to fire |
C – s1d0 |
C – s1d1 |
C – s1d2 |
C- s2d0 |
C – s2d1 |
C – s2d2 |
|
C – s3d0 |
C – s3d1 |
C – s3d2 |
|
Combustible materials – medium contribution to fire |
D – s1d0 |
D – s1d1 |
D – s1d2 |
D – s2d0 |
D – s2d1 |
D – s2d2 |
|
D – s3d0 |
D – s3d1 |
D- s3d2 |
|
Combustible materials – highly contribution to fire |
E |
E – d2 |
|
Combustible materials – easily flammable |
F |
“s” ระดับการปล่อยควัน (Smoke emission level) : มีค่าต้องแต่ 1 (ปล่อควันน้อย-ไม่มีควัน) ถึง 3 (ปล่อยควันสูง)
“d” การเกิดหยดไฟ (Flaming Droplets) : มีค่าต้องแต่ 0 (ไม่เกิดหยดไฟ) ถึง 1 (เกิดหยดไฟมาก)
ตารางแสดงระดับของการเกิดควันและการเกิดหยดไฟ
Additional class |
Level Definition |
||
Smoke emission during combustible |
S |
1 |
Quantity/speed emission of absent or weak |
2 |
Quantity/speed emission of average intensity |
||
3 |
Quantity/speed emission of high intensity |
||
Production of flaming droplets/particles during combustible |
D |
0 |
No dripping |
1 |
Slow dripping |
||
2 |
High dripping |
จากตารางจำแนกวัสดุเราจะเห็นได้ว่าฉนวนใยหิน ProRox BL เป็นวัสดุประเภท A1 ซึ่งไม่ติดไฟ ไม่ก่อให้เกิดควันและไม่มีการเกิดหยดไฟ จึงสามารถมั่นใจได้ว่าจะเป็นวัสดุที่นำมาใช้ในป้องกันอัคคีภัยได้
การทดสอบ choride
ในงานฉนวนหุ้มท่อน้ำร้อน ปัญหาที่พบบ่อยคือเรื่องของสนิม ที่คอยกรัดกร่อนผิวท่อและในท่อ แต่เราจะไม่สามารถมองเห็นมันได้จนกว่าเราจะแกะแจ็กเก็ตและฉนวนกันความร้อนที่นำมาหุ้มออก แต่กว่าที่เราจะรู้มันก็เกิดการกรัดกร่อนจนเสียหายจนทำให้เราต้องเปลี่ยนท่อเป็นมูลค่ามหาศาลแล้ว
สนิมนั้นเกิดจากความชื้นของไอน้ำ ออกซิเจน และตัวเร่งเช่น คลอไรด์(Chloride) ฟลูออไรด์ (Fluoride) และจะเกิดเป็นคราบสนิมสัน้ำตาลเกาะอยู่บนผิวท่อแทน
เราสามารถป้องกันการเกิดสนิมได้หลายวิธีทั้งการทำความสะอาดผิวท่อก่อนที่จะเริ่มลงสีเคลือบ และการดูแลรักษาแจ็กเก็ตที่หุ้มไม่ให้เสียหายโดยการไม่ขึ้นเหยียบแจ็กเก็ต
ฉนวนใยหินซีรี่ย์ ProRox จะลดการใช้น้ำ Chloride ในกระบวนการผลิตลงทำให้สารคลอไรด์ในเนื้อฉนวนลดลง และเราได้นำฉนวนใยหินของเราไปทดสอบมาตรฐาน ASTM C871 ซึ่งจะเป็นมาตรฐานที่ทดสอบหาค่าปริมาณ คลอไรด์ (Chloride) ,ฟลูออไรด์ (Fluoride) ,ซิลิเกต (Silicate) และ โซเดียมไอออน (Sudium Ions) ภายในฉนวนกันความร้อน เพื่อดูว่าจะเป็นอันตรายต่อวัสดุท่อรึเปล่า จากการส่งทดสอบเราได้ผลการทดสอบว่า มีปริมาณสารคลอไรด์ในเนื้อฉนวนเพียง 10 ppm ที่ถือเป็นปริมาณที่น้อยมากสำหรับการใช้งานและแทบจะไม่ส่งผลต่อการเกิดสนิมเลย
ความชื้นและไอน้ำ
ปริมาณของความชื้นและไอน้ำที่สะสมอยู่ในเนื้อฉนวนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของสนิมที่เกิดบนผิวท่อ ไอน้ำและความชื้นสามารถมาได้จาก 2 แหล่งคือมาจากภายในท่อ (ท่อรั่ว) หรือมาจากภายนอกแจ็กเก็ต ในการใช้ฉนวนใยหิน ROCKWOOL ที่มีโครงสร้างฉนวนแบบเซลล์เปิดจะทำให้ไอน้ำและหยดน้ำสามารถระเหยออกไปได้ง่ายกว่าฉนวนแบบเซลล์ปิด
อีกทั้งฉนวนใยหินของ ROCKWOOL มีการเติมสารซิลิโคนกันน้ำในขั้นตอนของการผลิตทำให้เส้นใยทุกๆเส้นใยของของฉนวนใยหิน ROCKWOOL ไม่ดูดซึมน้ำถ้ามีหยดน้ำ หยดลงบนฉนวนหยดน้ำจะจับตัวกันเป็นหยดหรือหากราดน้ำใส่แผ่นฉนวนน้ำจะไหลบนผิวฉนวนเหมือนฟิล์มกระจกรถยนต์เลย
และเรายังได้นำฉนวนใยหินไปทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C1104/C1104M เพื่อหาค่าการดูดซับน้ำของตัวฉนวนใยหิน และเราได้ผลการทดสอบว่าฉนวนใยหินดูดซับน้ำเพียง 1% ของน้ำหนักฉนวน
ฉนวนใยหินก่อให้เกิดมะเร็ง
มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่เป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องของ “ใยหิน” ก่อให้เกิด “มะเร็ง” สิ่งนี้เป็นความเข้าในผิดในรูปแบบของการแปรภาษาออกมา ฉนวนใยหิน (ROCKWOOL) และ แร่ใยหิน (Asbestos) ด้วยคำ 2 คำนี้จึงทำให้เกิดความสับสน เราจะมาอธิบายให้ฟัง
แร่ใยหิน (Asbestos) เป็นกลุ่มแร่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นเส้นใยสีขาวขนาดเล็กกว่า 0.1 ไมครอน เกิดจากวัตถุดิบที่เป็นกลุ่มแร่ซิลิเกต สามารถกระจายฟุ้งในอากาศและเส้นใยสามารถแตกเล็กลงได้เรื่อยๆมีลักษณะที่แหลมคม และเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
ฉนวนใยหิน ROCKWOOL เกิดจากกระบวนการผลิตที่ควบคุมโดยเครื่องจักรมาตรฐานที่จะหลอมละลายหินบะซอลต์และหินโดโลไมท์ เพื่อปั่นออกมาเป็นเส้นใยขนาด 4-6 ไมครอน เส้นใยสามารถแตกหักได้มีปลายมนขนาดใหญ่เกินกว่าจะเข้าปอด ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง
ตารางความแตกต่างฉนวนใยหิน ROCKWOOL และแร่ใยหิน (Asbestos)
ข้อแตกต่าง |
ฉนวนใยหินROCKWOOL |
แร่ใยหิน (Asbestos) |
วัตถุดิบ |
หินบะซอลต์ , โดโลไมท์ |
กลุ่มแร่ซิลิเกต |
แหล่งกำเนิด |
เครื่องจักรที่ได้มาตรฐาน |
การทับถมของกลุ่มแร่ซิลิเกต |
ลักษณะเส้นใย |
ขนาด 4 – 6 ไมครอน เส้นใยปลายมน |
ขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน เส้นใยแหลมคม |
ผลกระทบต่อสุขภาพ |
ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
การจำแนกตามสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ |
กลุ่มที่ 3 ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
กลุ่มที่ 1 เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
เราสามารถค้นหาข้อมูลของสารต่างๆที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้จากสถาบันมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer : IARC) โดยสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติจะแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ออกเป็น 3 กลุ่ม
ตารางจำแนกสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
Group 1 |
เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
Group 2A |
เป็นสารที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
Group 2B |
เป็นสารที่มีความเป็นไปได้ที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร้งในมนุษย์ |
Group 3 |
เป็นสารไม่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ |
Dimensions | 1200 × 7500 mm |
---|---|
ความหนาแน่น | 40K, 60K, 80K |
ความหนา | 25 มม., 50 มม. |