ฉนวนใยแก้ว MicroFiber ฉนวนกันความร้อนหลังคา รุ่น ENF

ราคา 3,160.00 บาท6,600.00 บาท

รายละเอียดสินค้า

ฉนวนใยแก้ว MicroFiber รุ่น ENF สำหรับงานหลังคากันความร้อน ปิดผิวด้วยแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน 2 ด้าน ลักษณะเป็นม้วนยาว สามารถกลิ้งไปตามร่องแปหรือขวางแปได้เลย

มีความหนาแน่นที่ 12K – 48K และมีความหนาฉนวนตั้งแต่ 25 มม. – 75 มม. เนื้อฉนวนมีสีเหลือง ไม่ซึมซับน้ำ เมื่อน้ำหยดลงบนเนื้อฉนวนจะมีลักษณะเป็นหยด ไม่ซึมลงเนื้อฉนวน หยดน้ำสามารถระเหยออกได้เองเมื่อมีลมพัดผ่าน

MicroRoof

ฉนวนใยแก้ว Micro Roof เป็นฉนวนสำหรับงานหลังคาเพื่อป้องกันความร้อนจากหลังคาเข้าสู่ตัวอาคารโรงงาน หลังคาเมทัลชีทโรงงานในช่วงพักเที่ยงนั้นอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 70 องศาเซลเซียสซึ่งจะส่งความร้อนลงมาที่อาคาร ส่งผลให้สภาพอากาศการทำงานร้อนอย่างมาก

การติดตั้งฉนวนงานหลังคาก็เพื่อที่จะลดอุณหภูมิที่ส่งลงมาจากหลังคา ให้ลดน้อยลงเพื่อให้ผู้คนที่ทำงานในอาคารไม่ต้องรับความร้อนมากเกินไป และในอาคารโกดังที่มีการปรับอากาศทำความเย็น การติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะส่งผลช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานลดลงเพราะความร้อนที่ส่งลงมาลดลง และยังสามารถกักเก็บความเย็นไว้ภายในได้นานขึ้นอีกด้วย

RAINING

หลังคาเป็นส่วนที่โดนน้ำและความชื้นมากที่สุด

การนำความร้อน (Thermal Conductivity)

สำหรับงานฉนวนกันความร้อน สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างยิ่งคือ ค่าการนำความร้อนของฉนวน (K-value) ค่าการนำความร้อนเป็นค่าที่บอกว่าฉนวนสามารถส่งความร้อนได้ดีขนาดไหน ยิ่งค่าการนำความร้อนสูงยิ่งทำให้ความร้อนผ่านไปได้เยอะ ดังนั้นการที่ค่าการนำความร้อนสูงๆนั้น หมายความว่าเป็นฉนวนที่ไม่ดี เพราะเราต้องการป้องกันไม่ให้ความร้อนส่งผ่านไปได้ดังนั้นค่าการนำความร้อนยิ่งมีค่าใกล้ 0 นั้นหมายความว่า เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี

ฉนวนใยแก้วของ MicroFiber ได้นำส่งวัสดุเพื่อทดสอบค่าการนำความร้อนกับสถาบัน ASTM (American Society for Testing and Materials) ตามมาตรฐานการทดสอบ ASTM C518 เพื่อที่จะทำการทดสอบหาค่าการนำความร้อนของวัสดุ

การดูดซํบน้ำ (Moisture absorption)

การดูดซับนำ้ของฉนวนงานหลังคาเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมาก เพราะในงานหลังคานั้นจะมีการเจาะรูในกรณีที่ใช้งานไปซักระยะเวลาหนึ่ง วัสดุเริ่มสึกหรอ หลังคามีรอยรั่วทำให้น้ำฝนหยดลงบนฉนวน ถ้าหากว่าเนื้อฉนวนซึมซับน้ำเข้ามาในฉนวนจะทำให้ฉนวนหนักขึ้นน้ำระเหยออกได้ยากขึ้น

แต่ฉนวนใยแก้ว MicroFiber มีการทดสอบด้านการดูดซึมน้ำตามมาตรฐาน ASTM C411 ที่จะทำการทดสอบการดูดซึมน้ำของวัสดุและจากผลการทดสอบนี้ เราได้ค่าการดูดซึมน้ำอยู่ที่ < 1% ซึ่งเป็นค่าที่น้อยมากและเมื่อเราทดสอบโดยการหยดน้ำลงบนเนื้อฉนวนใยแก้วMicroFiber หยดน้ำจะไม่ซึมเข้าเนื้อฉนวนแต่จะเกาะรวมกันเป็นหยดอยู๋บนเนื้อฉนวน และจะระเหยออกไปเองตามธรรมชาติ

WATE CONDENSE ON GLASSWOOL

หยดน้ำที่หยดลงใยแก้วจะมีลักษณะเป็นหยดไม่ซึมลงใยแก้ว

การเกิดเชื้อรา (Mold Resistance)

ฉนวนกันความร้อนงานหลังคา จะถูกติดตั้งไว้ใต้หลังคาซึ่งมันตรวจสอบความสมบูรณ์ค่อนข้างยาก ถ้าหากว่าเกิดเชื้อราหรือเกิดความเสียหาย ดังนั้นฉนวนจึงไม่ควรที่จะก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตพวกเชื้อราหรือเห็ด ที่จะส่งผลกระทบต่ออากาศภายใน ตัวฉนวนใยแก้ว MicroFiber นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ไม่ก่อให้เกิดเชื้อราและไม่เป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตจึงไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะเกิดความเสียหายจากเชื้อราหรือเห็ดเลย สามารถใช้คู่กับอาคารไปได้

MOLD ON ROOF

เมื่ออุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ ปัญหาเชื้อราก็มักจะเกิดขึ้น

การลามไฟที่ผิว (Surface burning characteristic)

ตามกฎหมายอาคารปี 2006 (International Building Code : IBC) ได้ระบุไว้ว่า วัสดุปิดผิวผนังและฝ้าขเพดาน ภายในอาคารจะต้องได้รับการจำแนกการลามไฟที่พื้นผิวตามมาตรฐาน ASTM E84 และมีการเพิ่มเติมโดย NFPA (National Fire Protection Agency) ตามมาตรฐาน NFPA 101 Life Safety Code ที่จำเป็นต้องจำแนกประเภทวัสดุปิดผิวผนังและฝ้า-เพดาน ภายในอาคารเป็น Class A, Class B, Class C ที่ได้รับการทดสอบจาก NFPA 255 , ASTM E84 หรือ UL 723

จากการทดสอบเราจะได้ค่าออกมา 2 ค่าคือ Flame-Spread Index (FSI) และ Smoke Development Index (SDI) และจะจำแนกประเภทของวัสดุตามค่าที่ได้รับนี้

ตารางจำแนกวัสดุการติดไฟที่ผิวตาม ASTM E84

Flame-Spread Index (FSI)

Smoke Development Index (SDI)

Class 1 or Class A

0 – 25

450 Maximum

Class 2 or Class B

26 – 75

450 Maximum

Class 3 or Class C

76 – 200

450 Maximum

จากตารางการจำแนกวัสดุการติดไฟที่ผิวตามมาตรฐาน ASTM E84 ฉนวนใยแก้ว MicroFiber ถูกจำแนกไว้ที่ Class 1 หรือ Class A เพราะมีค่า Flame-Spread Index < 25 และค่า Smoke Developement Index < 50

วิธีการติดตั้ง

1.) การปูฉนวนในช่องแป (แบบมีตะแกรงลวดยึดติดระหว่างแป)

นำฉนวนปูไปตามช่องแปโดยมี Wire Mesh หรือ Chicken Wire ที่ติดตั้งอยู่ระหว่างแปหรือใต้แปรองรับฉนวนไว้ โดยสามารถติดตั้งได้กับหลังคาที่ติดตั้งได้กับหลังคาที่กำลังก่อสร้างใหม่

การปูฉนวนในช่องแปแบบมีตะแกรงลวดยึดติดระหว่างแป

การปูฉนวนในช่องแปแบบมีตะแกรงลวดยึดติดระหว่างแป

2.) การปูฉนวนในช่องแป (แบบมีตะแกรงลวดยึดติดบนแป)

นำฉนวนปูไปตามแนวช่องแปโดยมี Wire Mesh หรือ Chicken Wire ที่ติดตั้งอยู่บนแปรับฉนวนไว้ โดยสามารถติดตั้งได้กับหลังคาที่กำลังก่อสร้างใหม่

การปูฉนวนในช่องแปแบบมีตะแกรงลวดยึดติดบนแป

การปูฉนวนในช่องแปแบบมีตะแกรงลวดยึดติดบนแป

3.) การปูฉนวนในช่องแป (แบบผูกลวด)

นำฉนวนปูไปตามแนวช่องแปโดยมีลวดที่ผูกกับแปให้ระยะห่างของลวดประมาณ 30 ซม. รองรับฉนวนไว้ โดยสามารถติดตั้งได้กับหลังคาที่กำลังก่อสร้างใหม่และหลังคาที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว

การปูฉนวนในช่องแปแบบผูกลวด

การปูฉนวนในช่องแปแบบผูกลวด

4.) การปูฉนวนตามขวางแป (แบบมีตะแกรงลวดยึดติดบนแป)

นำฉนวนปูไปตามแนวช่องแปโดยมี Wire Mesh หรือ Chicken Wire ที่ติดตั้งอยู่บนแปรรองรับฉนวนไว้ โดยสามารถติดตั้งได้สะดวกและรวดเร็วกับหลังคาที่กำลังก่อสร้างใหม่

การปูฉนวนตามขวางแปแบบมีตะแกรงลวดยึดติดบนแป

การปูฉนวนตามขวางแปแบบมีตะแกรงลวดยึดติดบนแป

5.) การปูฉนวนตามขวางแป (แบบไม่มีตะแกรงลวดรองรับฉนวน)

นำฉนวนปูไปตามแนวขวางกับแปโดยไม่ใช้ Wire Mesh หรือ Chicken Wire ที่ติดตั้งอยู่บนแปรองรับฉนวน เหมาะกับงานหลังคาที่มีระยะห่างช่องแปไม่เกิน 1.5 เมตรโดยสามารถติดตั้งได้สะดวกและรวดเร็วกับหลังคาที่ก่อสร้างใหม่

การปูฉนวนตามขวางแปแบบไม่มีตะแกรงลวดรองรับฉนวน

การปูฉนวนตามขวางแปแบบไม่มีตะแกรงลวดรองรับฉนวน

6.) การปูฉนวนด้วยวิธียึดติดใต้พื้น (Concrete Slab)

นำฉนวนยึดติดกับพื้นคอนกรีต Concrete Slab ด้วย Spindle pin หรือพุกที่มีระยะห่างประมาณ 20 – 30 ซม. และใช้ลวดพันยึดติดกับหัวพุกที่เลยออกมาจากฉนวนเป็นรูปทแยงมุมโดยการเจาะฝังพุกจะ ต้องไม่กระทบกับโครงสร้างของอาคาร ซึ่งสามารถติดตั้งได้กับอาคารที่กำลังก่อสร้างใหม่และอาคารที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว

การปูฉนวนด้วยวิธียึดติดใต้พื้น (Concrete Slab)

การปูฉนวนด้วยวิธียึดติดใต้พื้น (Concrete Slab)

 

ตารางขนาดผลิตภัณฑ์

ตารางขนาด MicroRoof ชนิดม้วน

ความหนาแน่น (Kg/m3)

ความหนา (mm)

ขนาด (ก x ย)

12

50

1.22 x 16.50

75

1.22 x 11.50

16

25

1.22 x 30.50

50

1.22 x 15.25

75

1.22 x 15.25

24

25

1.22 x 30.50

50

1.22 x 15.25

75

1.22 x 15.25

32

25

1.22 x 15.25

50

1.22 x 15.25

75

1.22 x 7.50

48

25

1.22 x 7.50

50

1.22 x 7.50

75

1.22 x 7.50

ตารางขนาดMicroRoof ชนิด แผ่น

ความหนาแน่น (Kg/m3)

ความหนา (mm)

ขนาด (ก x ย)

32

25

1.22 x 2.44

50

1.22 x 2.44

75

1.22 x 2.44

48

25

1.22 x 2.44

50

1.22 x 2.44

75

1.22 x 2.44

ตารางข้อมูลทางเทคนิค

คุณสมบัติ

ผลิตภัณฑ์ MicroRoof

มาตรฐานการทดสอบ

ความหนาแน่น

12 Kg/m3

16 Kg/m3 24 Kg/m3 32 Kg/m3

48 Kg/m3

การนำความร้อน

(W/m.K)

0.042

0.038 0.035 0.033

0.032

ASTM C518

อุณหภูมิใช้งาน

Max Service Temp 233 C

ASTM C411

การดูดซับความชื้น

< 1% at 49 C (95% RH)

ASTM C1104

การกัดกร่อน

Does not accelerate

ASTM C665

การต้านทานเชื้อรา

No Growth

ASTM C665

การเผาไหม้ที่ผิว

Flame Spread

ASTM E84

Smoke Developed

การทดสอบกับไฟ

Class 0

BS 476 Part 6

BS 476 Part 7

ASTM 1530-3

Ignitability Index 0

Spread of Flame Index 0

Heat Evolved Index 0

Smoke Developed Index 1

 

Dimensions N/A
ความหนาแน่น

16K, 24K, 32K

ความหนา

25 มม., 50 มม.

สินค้าเพิ่มเติม / Related Product