วิธีหุ้มฉนวนหอกลั่น (Columns) ด้วยฉนวนใยหิน ROCKWOOL

หอกลั่น หรือ คอลัมภ์ (Columns) คือ ถังภาชนะแรงดัน (Pressure Vessels) หน้าตาเหมือนหมอนข้างตั้งในแนวดิ่ง ทำหน้าที่แยกส่วนผสม (Extraction) หรือกลั่นผลิตภัณฑ์ (Distillation) ในอุตสาหกรรมปิโตเคมี ซึ่งกระบวนการภายในจะมีทั้งการควบคุมอุณหภูมิ และแรงดัน ทำให้ฉนวนกันความร้อนเข้ามามีบทบาทในการรักษาความร้อนภายในคอลัมภ์

ความสำคัญของการหุ้มฉนวนหอกลั่น หรือ คอลัมภ์

  • ลดการสูญเสียความร้อนภายในหอกลั่น
  • ป้องกันมนุษย์มาสัมผัสและอาจจะถูกลวกจากหอกลั่น
  • ป้องกันการเย็นตัวของเหลวภายใน
  • ควบคุมอุณหภูมิของหอกลั่นภายในให้คงที่

กฎหมายและข้อกำหนดเกี่ยวกับการหุ้มฉนวนกันความร้อนหอกลั่น

  • ASTM C1696 : Standard Guide for Industrial Insulation Systems
  • NACE SP0198 : Control of corrosion under thermal insulation and fireproofing materials – a system approach
  • ASME : Boiler and Pressure Vessel Code 
  • MICA : National Commercial & Industrial Insulation Standards 
  • DIN 4140 : (Insulation works on industrial plants and building services installations 
  • AGI Q101 : Insulation works on power plant components 
  • CINI-Manual : Insulation in industry 
  • BS 5970 : Code of practice for thermal insulation of pipe work, equipment and other industrial installations 

ระบบฉนวนสำหรับหอกลั่น

ระบบฉนวนสำหรับหุ้มหอกลั่นจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้

  1. ฉนวนใยหิน ROCKWOOL
  2. ซัพพอต (Support Construction) และสเปซเซอร์ (Spacer)
  3. แผ่นแจ็กเก็ต

การเลือกฉนวนและการติดตั้งฉนวนใยหิน

เลือกฉนวนที่เหมาะสมกับหอกลั่นจาก อุณหภูมิในการทำงาน อุณหภูมิผิวแจ็กเก็ต การสูญเสียความร้อน และลักษณะหน้างาน

โดยปกติแล้วในการหุ้มฉนวนหอกลั่น เราจะใช้เป็นฉนวนใยหิน ROCKWOOL ProRox BL ซึ่งจะมีลักษณะเป็นม้วนแบบไม่มีลวดตาข่ายในการติดตั้ง

หอกลั่นโดยปกติจะติดตั้งอยู่ภายนอกที่จะต้องเจอกับสภาพอากาศ ทั้งฝน แดดและความชื้นไอเกลือทะเลในบางพื้นที่ ฉนวนที่เราเลือกจึงความที่จะมีค่าการนำความร้อนต่ำ และสามารถป้อกกันน้ำได้ดี

ในการติดตั้งเราจะใช้ลวด หรือเข็มขัดสแตนเลสในการรัดฉนวนให้ติดกับผนังหอกลั่น จากนั้นยึดเข็มขัดสแตนเลสด้วยด้วยน็อตหางปลา (Butterfly nut) และสกูรชนิดถอดเร็ว (Quick-Release Fastener)

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางคอลัมภ์หลังจากหุ้มฉนวน

ขนาดเข็มขัดรัดฉนวนสำหรับฉนวนชั้นที่ 1

(กว้าง x หนา)

ขนาดเข็มขัดรัดฉนวนสำหรับฉนวนชั้นที่ 2

(กว้าง x หนา)

ระยะห่างระหว่างเข็มขัด

8” ถึง 72”

(200 – 1800 มม.)

1/2” x 0.02” (13 x 0.5 มม.) 5/8” x 0.02” (16 x 0.5 มม.)

10” (250 มม.)

> 72” (1800 มม.)

5/8” x 0.02” (16 x 0.5 มม.) 3/4” x 0.02” (19 x 0.5 มม.)

10” (250 มม.)

การหุ้มฉนวนหัวถังของหอกลั่น

ภาพ - การหุ้มฉนวนหัวถังของหอกลั่น

Insulation of a reinforcement ring

ภาพ - Insulation of a reinforcement ring

การหุ้มฉนวนฐานของหอกลั่น

ภาพ - การหุ้มฉนวนฐานของหอกลั่น

การหุ้มฉนวนท่อต่อแนวดิ่ง

ภาพ - การหุ้มฉนวนท่อต่อแนวดิ่ง

การหุ้มฉนวนท่อต่อแนวนอน

ภาพ - การหุ้มฉนวนท่อต่อแนวนอน

การหุ้มฉนวนท่อแบบต่าง ๆ

ภาพ - การหุ้มฉนวนท่อแบบต่าง ๆ

ซัพพอตและสเปซเซอร์สำหรับหอกลั่น

การติดตั้งซัพพอตและสเปซเซอร์สำหรับหอกลั่น ทำเพื่อรับน้ำหนักของระบบฉนวนให้อยู่กับที่ เพราะในการหุ้มฉนวนถังแนวตั้งฉนวนใยหินที่มีน้ำหนักมากย่อมไหลตามแรงโน้มถ่วง จึงต้องมีโครงสร้างซัพพอตรองรับ

การติดตั้งซัพพอตและสเปซเซอร์

ภาพ - การติดตั้งซัพพอตและสเปซเซอร์

การหุ้มแจ็กเก็ตสำหรับหอกลั่น

แจ็กเก็ตสำหรับหอกลั่นเราจะทำการหุ้มเพื่อปกป้องคนสัมผัสกับระบบฉนวน และป้องกันจากสภาพอากาศต่าง ๆ เราสามารถเลือกชนิดของแผ่นแจ็กเก็ตมาหุ้มได้ตามตาราง

แบ่งปันเรื่องราว