ฉนวนกันความร้อน สำหรับบ้านพักอาศัย

อากาศมีแต่จะร้อนขึ้นในทุกวันการติดตั้งฉนวนกันความร้อน จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นขึ้นมาและข้อมูลที่มีในการตัดสินใจเลือกใช้งานก็น้อยเหลือเกิน เราจึงเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจให้กับบุคคลทั่วไป ลูกบ้านที่ประสบ ปัญหาบ้านร้อน ค่าไฟแพง เพื่อเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจในการติดตั้งฉนวนกันความร้อน พร้อมแนะนำสินค้าที่เหมาะสมในการใช้งาน

ฉนวนกันความร้อนสำหรับบ้านพักอาศัย คืออะไร

ระบบฉนวนกันความร้อนหลัก ๆ จะถูกแบ่งออกมาใช้สำหรับงานอาคารบ้านพักอาศัย และงานในหมวดอุตสาหกรรม ที่จะมีความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยบ้านพักอาศัยจะมุ่งเน้นไปที่การป้องกันความร้อนและการป้องกันเสียงเป็นหลัก ส่วนในงานอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์จากกระบวนการผลิตไม่ให้เสียหาย

ความหมายของฉนวนกันความร้อนสำหรับบ้านพักอาศัย

ฉนวนกันความร้อนสำหรับบ้านพักอาศัย รวมถึงอาคารพาณิชย์ โรงแรม และห้างสรรพสินค้า คือฉนวนกันความร้อนที่มีความสามารถในการป้องกันความร้อน ไม่ให้ความร้อนจากภายนอกเข้ามาภายในอาคาร รักษาอุณหภูมิภายในห้องที่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอก

อาคารที่มีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนและการป้องกันเสียง

ภาพ - อาคารที่มีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนและการป้องกันเสียง

ทำไมถึงต้องติดตั้งฉนวนกันความร้อน

เหตุผลหลักที่เราติดตั้งฉนวนกันความร้อน แน่นอนอยู่แล้วว่าเป็นเพราะ “บ้านร้อนมาก” ในช่วงกลางวันหลังคาเมทัลชีทมีอุณหภูมิสูงถึง 60 ºC  (วัดจากเครื่องวัดอุณหภูมิแบบเลเซอร์) และสำหรับบ้านพักที่มีการติดตั้งฝ้า-เพดาน จะดีขึ้นมาหน่อย อุณหภูมิใต้ฝ้าจะอยู่ที่ 35 – 37 ºC

ฉนวนกันความร้อนจึงกลายเป็นเรื่องที่จำเป็นแล้ว ไม่ใช่แค่สิ่งที่ควรมีติดบ้านเท่านั้น แต่การติดตั้งฉนวนกันความร้อนไม่ได้มีประโยชน์แค่เพียงทำให้บ้านเย็นขึ้นเท่านั้น ยังมีประโยชน์อีก 2 ข้อ เพิ่มเติมอีกด้วย

ลดค่าไฟ (จากเครื่องปรับอากาศ)

ค่าไฟแพง !!! เป็นเรื่องที่น่าตกใจในปัจจุบัน ที่บางบ้านค่าไฟเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า จากเดิมที่เคยจ่าย นอกจากค่า Ft ของค่าไฟแล้ว หน่วยการใช้ไฟก็สูงขึ้นจริง ๆ มากกว่า 60% ของหน่วยการใช้ไฟที่เพิ่มมาจากค่าไฟเครื่องปรับอากาศ

อากาศร้อนขึ้น เราอยู่ไม่ไหวต้องเปิดแอร์ นี่เป็นเรื่องปกติ แล้วถ้าอากาศภายในห้องของเรามันเย็นขึ้นล่ะจาก 35ºC เหลือที่ 32ºC (หรือต่ำกว่า) ส่วนต่างอุณหภูมิ 3ºC ทำให้แอร์ทำงานเบาลงถึง 47% และการติดตั้งฉนวนกันความร้อน จะทำให้ค่าไฟลดลง

ฉนวนกันความร้อนช่วยกันเสียงรบกวน

สิ่งที่หลายคนสงสัยและสอบถามเข้ามาเยอะมาก คือ ฉนวนกันความร้อนสามารถป้องกันเสียงได้มั้ย คำตอบคือ แล้วแต่ประเภทของฉนวน

ฉนวนชนิดเซลล์เปิด (Open-Cell Insulation) เช่น ฉนวนใยแก้ว (Glass wool), ฉนวนใยหิน (Rockwool) หรือ ฉนวนเส้นใยโพลิเอสเตอร์ (Polyester) ภายในของฉนวนจะมีลักษณะเป็นรูพรุนดูดซับพลังงานของเสียงไว้ และไม่ปล่อยให้ผ่านออกไป ฉนวนกันความร้อนชนิดเส้นใยจึงสามารถช่วยป้องกันเสียงได้

ฉนวนชนิดเซลล์ปิด (Close-Cell Insulation) เช่น ฉนวนยางดำ (Rubber Insulation), ฉนวนโพลิเอทธิลีน (Polyethylene) จะไม่สามารถดูดซับพลังงานเสียง โครงสร้างแบบเซลล์ปิดจะบล็อกเสียงไม่ให้ผ่านเนื้อฉนวนข้ามมาอีกฝั่งได้

ฉนวนกันความร้อนสำหรับบ้านพักอาศัย มีกี่แบบ

วัสดุที่ถูกนำมาทำเป็นฉนวนกันความร้อนนั้นมีเยอะมาก แต่เราจะคัดมาเฉพาะฉนวนกันความร้อนที่ได้รับความนิยมมาทั้งหมด 5 ชนิด

ฉนวนกันความร้อนชนิดใยแก้ว (Glass wool)

ฉนวนใยแก้วกันความร้อน (Glass wool insulation) ผลิตขึ้นจากแก้วรีไซเคิลหรือทรายซิลิก้า หลอมเหลวที่อุณหภูมิสูงแล้วสเปรย์ออกมาเป็นเส้นใยแบบผืนผ้าห่ม มีค่าการนำความร้อนต่ำเพียง 0.034 W/m.K และมีโครงสร้างแบบเซลล์เปิด (Open-Cell Insulation) จึงเป็นฉนวนป้องกันเสียงที่ดีอีกด้วย

เนื้อฉนวนสีเหลือง (ยี่ห้อ MicroFiber) และเนื้อฉนวนสีเขียว (ยี่ห้อ SCG) เนื้อฉนวนไม่ซึมซับน้ำ เมื่อน้ำหยดลงบนเนื้อฉนวนจะกลิ้งเป็นหยด ไม่ซึมลงเนื้อฉนวน เมื่อมีลมพัดผ่านมาหยดน้ำจะระเหยออกเองได้ มีความหนาแน่นต่ำ (12 – 48 กก./ลบ.ม.) เหมาะกับงานฝ้า-เพดาน เพราะว่าน้ำหนักน้อย และสามารถเพิ่มความหนาฉนวนเป็น 3 นิ้ว (75 มม.) หรือ 6 นิ้ว (150 มม.)

ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Glasswool Insulation)

ภาพ - ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Glasswool Insulation)

ฉนวนกันความร้อนชนิดใยหิน (ROCKWOOL)

ฉนวนใยหินกันความร้อน (Rockwool Insulation) ผลิตจากหินภูเขาไฟ เช่น หินโดโลไมต์ และหินบะซอลต์ หลอมเหลวที่อุณหภูมิสูง สเปรย์เส้นใยออกมาเป็นผืนผ้าห่ม มีค่าการนำความร้อนต่ำพอกับฉนวนใยแก้วที่ 0.034 W/m.K และมีโครงสร้างแบบเซลล์เปิด (Open-Cell Insulation) จึงช่วยป้องกันเสียงได้ดี

เนื้อฉนวนสีน้ำตาลแกมเขียว ไม่ซึมซับน้ำ น้ำจะกลิ้งเป็นหยดบนเนื้อฉนวนเมื่อมีลมพัดหรือเจอความร้อนน้ำจะระเหยออกเองได้ มีความหนาแน่นที่สูง (40 – 100 กก./ลบ.ม.) เหมาะกับงานผนังกันความร้อนหรือใส่ใต้โครงหลังคาเพื่อป้องกันความร้อนจากหลังคา

ฉนวนกันความร้อนใยหิน (Rockwool Insulation)

ภาพ - ฉนวนกันความร้อนใยหิน (Rockwool Insulation)

ฉนวนกันความร้อนยางดำ (Rubber Insulation)

ฉนวนยางดำกันความร้อน (Black Rubber Insulation) มีลักษณะเป็นเนื้อยางแผ่นนิ่ม สีดำด้านผลิตจากยางโพลิเมอร์ มีค่าการนำความร้อนต่ำ 0.033 W/m.K และมีโครงสร้างฉนวนแบบเซลล์ปิด (Close-Cell Insulation) เมื่อติดตั้งบนเพดานหรือใต้ฝ้า-เพดาน จะช่วยลดเสียงฝนตกลงได้

ข้อดีของฉนวนที่เป็นโฟมพลาสติกหรือยางดำ คือ เป็นฉนวนที่ไม่มีเส้นใยเวลาติดตั้งจะไม่มีการระคายเคืองจากเส้นใยแก้วหรือใยหิน เมื่อติดตั้งไปเป็นระยะเวลานานจะไม่เกิดฝุ่นผง จากการแตกหักของเส้นใย

ฉนวนกันความร้อนยางดำ (Rubber Insulation)

ภาพ - ฉนวนกันความร้อนยางดำ (Rubber Insulation)

ฉนวนกันความร้อน PE (Polyethylene)

ฉนวนกันความร้อน PE (Polyethylene) เป็นฉนวนโฟมพลาสติกที่มีค่าการนำความร้อนต่ำเพียง 0.032 W/m.K เนื่องจากค่าการนำความร้อนที่ต่ำฉนวนกันความร้อน PE จะมีความหนาสูงสุดที่ 25 มม. เพราะความหนาสูงสุดที่ 25 มม. ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว

โฟมสีเทาปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน ช่วยสะท้อนรังสีความร้อน 95% จึงเหมาะกับการติดตั้งบริเวณใต้หลังคามากที่สุด เพราะหลังคาจะมีอัตราการแผ่รังสีความร้อนมากที่สุดเมื่อเทียบกับฝ้า หรือผนัง

ฉนวนกันความร้อน PE (Polyethylene)

ภาพ - ฉนวนกันความร้อน PE (Polyethylene)

แผ่นสะท้อนความร้อน ฟอยล์กันความร้อน (Aluminium Foil)

อลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน (Aluminium Foil) คือ แผ่นสะท้อนความร้อนที่มีผิวเป็นอลูมิเนียมแท้ เสริมด้วยเส้นใยเสริมแรง 3 ทิศทางเป็นตารางรูปเพชร (Diamond Grid) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของอลูมิเนียมฟอยล์ อลูมิเนียมฟอยล์จะมีทั้งหมด 2 แบบที่ใช้งานกันทั่วไป คือ

  1. อลูมิเนียมฟอยล์แบบ 5 ชั้น สะท้อนรังสีความร้อน 95% (อลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้าน) จะใช้ประกอบกับฉนวนกันความร้อนประเภทอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกันความร้อน

อลูมิเนียมฟอยล์กันความร้อน 5 ชั้น

    1. อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)
    2. กาวประสาน (Polyethylene adhesive)
    3. เส้นใยเสริมแรง 3 ทิศทาง ตารางรูปเพชร (Diamond Grid)
    4. กาวประสาน (Polyethylene adhesive)
    5. กระดาษคราฟ (Kraft Paper)
แผ่นสะท้อนความร้อน อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil Single Side)

ภาพ - แผ่นสะท้อนความร้อน อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil Single Side)

2. อลูมิเนียมฟอยล์แบบ 7 ชั้น สะท้อนรังสีความร้อน 97% (อลูมิเนียมฟอยล์ 2 ด้าน) ใช้สำหรับปูกันความร้อนใต้หลังคาเพื่อสะท้อนรังสีความร้อน

อลูมิเนียมฟอยล์กันความร้อน 7 ชั้น

        1. อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)
        2. กาวประสาน (Polyethylene adhesive)
        3. เส้นใยเสริมแรง 3 ทิศทาง ตารางรูปเพชร (Diamond Grid)
        4. กาวประสาน (Polyethylene adhesive)
        5. กระดาษคราฟ (Kraft Paper)
        6. กาวประสาน (Polyethylene adhesive
        7. อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)
แผ่นสะท้อนความร้อน อลูมิเนียมฟอยล์ 7 ชั้น (Aluminium Foil Double Side)

ภาพ - แผ่นสะท้อนความร้อน อลูมิเนียมฟอยล์ 7 ชั้น (Aluminium Foil Double Side)

เราสามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อน แบบไหนได้บ้าง

ในการติดตั้งฉนวนกันความร้อนสำหรับอาคาร บ้านพักอาศัยนั้น เราสามารถติดตั้งได้ทั้งหมด 3 บริเวณ คือ

  1. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนบริเวณใต้หลังคา
  2. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้า-เพดาน
  3. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ผนัง

บ้านพักอาศัยทั่วไปที่มีฝ้า-เพดาน เราแนะนำให้ติดตั้งฉนวนบนฝ้า-เพดานก็เพียงพอแล้ว เพราะการติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้า จะง่ายกว่าการติดตั้งฉนวนกันความร้อนบริเวณใต้หลังคา

ฉนวนผนังกันความร้อนและกันเสียง เราจะติดตั้งเป็นบางห้อง เช่น ห้องนอนที่เราต้องการความเป็นส่วนตัวสูง, ห้องโฮมเทียร์เตอร์เพื่อป้องกันเสียงดังออกไปนอกบ้าน และห้องนั่งเล่นที่มีผู้ใช้งานในตอนกลางวัน ที่มีการติดตั้งปรับอากาศ

ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา เราจะแนะนำให้ติดตั้งใต้หลังคาโรงจอดรถ หรือส่วนต่อเติมที่เป็นหลังคาเมทัลชีทที่จะแผ่ไอร้อนออกมาสูงมาก ๆ ให้นำฉนวนกันความร้อนติดตั้งบริเวณใต้หลังคาจะช่วยลดความร้อนจาก 60 ºC เหลือที่ 35 ºC

3T แนะนำ

ฉนวนกันความร้อนไม่ได้ลดอุณหภูมิได้ 25 ºC เพียงแต่ว่าหลังคาเมทัลชีทในช่วงกลางวันมีอุณหภูมิสูงมากถึง 60 ºC และฉนวนกันความร้อนป้องกันไม่ให้ความร้อนจากหลังคาลงมาได้ อุณหภูมิภายใต้หลังคาที่ติดฉนวนกันความร้อนจึงอยู่ที่ 35 ºC

ถ้าเราติดตั้งฝ้า-เพดานใต้หลังคา อุณหภูมิก็จะอยู่ที่ประมาณ 35 ºC เหมือนกัน แต่ถ้ามีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้า-เพดานด้วย อุณหภูมิจะลดลงมาเหลือที่ 32 ºC

ลักษณะการติดตั้งฉนวนสำหรับบ้านพักอาศัย

ภาพ - ลักษณะการติดตั้งฉนวนสำหรับบ้านพักอาศัย

ฉนวนกันความร้อนหลังคา

งานฉนวนกันความร้อนติดตั้งหลังคานั้น จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

  1. การติดตั้งฉนวนกันความร้อน สำหรับหลังคาสร้างใหม่ (ยังไม่มีการปิดหลังคา)
  2. การติดตั้งฉนวนกันความร้อน สำหรับต่อเติมภายหลัง (ปิดหลังคาไปแล้ว และติดต้องการติดตั้งฉนวนกันความร้อน)

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนหลังคา สำหรับหลังคาใหม่ (ยังไม่ได้ปิดหลังคา)

การติดตั้งแบบนี้สามารถใช้ฉนวนกันความร้อนได้ทุกประเภท เพราะการติดตั้งจะง่ายกว่าแบบที่ปิดหลังคาไปแล้ว อุปกรณ์ที่ใช้จะมีตะแกรงกรงไก่ (Chicken Mesh) ยึดติดกับจันทันเพื่อรับน้ำหนักของฉนวนกันความร้อนที่จะนำมาปู

วิธีการติดตั้งด้วยตะแกรงกรงไก่

1.ยึดตะแกรงกรงไก่ (Chicken Mesh) ขนาดตา 4 หุน (1/2 นิ้ว) ติดกับจันทันด้วยสกรู (หรือเชื่อมติดจันทัน)

install insulation for roof 1

2. ยึดแป (Purlin) เข้ากับจันทันด้วยสกรูให้เว้นระยะห่างระหว่างแปที่ระยะ 1.2 เมตร โดยติดตั้งทับตะแกรงกรงไก่ไปเลย

install insulation for roof 2

3. วางฉนวนกันความร้อนเข้าในร่องระหว่างแปให้เรียบร้อย

install insulation for roof 3

4. นำหลังคามาปิดทับ และยึดหลังคาเข้ากับแป

install insulation for roof 4

* ถ้าเป็นฉนวนใยแก้วหรือฉนวนใยหินชนิดติดอลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้านให้หันอลูมิเนียมฟอยล์ลงด้านล่าง

** ถ้าเป็นฉนวน PE หรือฉนวนยางดำชนิดติดอลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้านให้หันอลูมิเนียมฟอยล์ขึ้นด้านบน

*** เช็คความหนาของช่องแปว่าเหมาะสมกับความหนาของฉนวนที่จะนำมาติดตั้งรึเปล่า ถ้าเป็นแปสำเร็จรูป (ความหนา 25 มม.) จะไม่สามารถใช้งานฉนวนใยหินหรือฉนวนใยแก้วได้

3T แนะนำ
  • ถ้าหากมีการใช้แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อนร่วมกับฉนวนใยหินหรือฉนวนใยแก้ว ให้ทำการปูแผ่นสะท้อนความร้อนบนตะแกรงกรงไก่ (Chicken Mesh) ให้ทั่วก่อน แล้วจึงวางใยแก้วหรือฉนวนใยหินในร่องแป แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ที่ปูด้วยวิธีนี้จะไม่ยับย่น แตกต่างจากการติดอลูมิเนียมฟอยล์มากับฉนวนใยแก้วหรือฉนวนใยหิน

 

  • ถ้าหากใช้เป็นฉนวนใยแก้วหรือฉนวนใยหิน เราอยากแนะนำให้ใช้เป็นชนิดหุ้มด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อนรอบด้าน เพราะฉนวนใยแก้วหรือฉนวนใยหินจะมีเส้นใย ซึ่งในความเป็นจริงเมื่อติดตั้งไปเป็นระยะเวลานานย่อมที่จะเกิดการแตกหักของเส้นใย ทำให้เกิดฝุ่นแต่การหุ้มด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้านจะช่วยปกป้องเส้นใยให้แตกหักช้าลง รักษาประสิทธิภาพของฉนวนให้เหมือนเดิม และเมื่อเกิดการแตกหักของเส้นใยก็จะถูกห่ออยู่ในแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนหลังคา สำหรับต่อเติมภายหลัง (ปิดหลังคาไปแล้ว และต้องการติดตั้งฉนวนกันความร้อน)

ถ้าหากมีการปิดหลังคาไปแล้วและต้องการติดตั้งฉนวนกันความร้อนในภายหลัง จะยุ่งยากกว่าการติดตั้งก่อนปิดหลังคา ฉนวนที่เหมาะกับการติดตั้งใต้หลังคาจะเป็นฉนวนที่มีค่าการนำความร้อนต่ำ (ค่า K-Value ต่ำ) และมีขนาดบาง ๆ เพื่อที่จะสามารถขึงให้ตึงและยิงสกรูพร้อมแหวนรองปิดทับได้เลย

วิธีการติดตั้งด้วยวิธีการยึดสกรูใต้แป

  1. ขึงฉนวนกันความร้อนให้ตึง โดยเริ่มจากด้านจั่วไปถึงด้านชายคา
Roof Insulation under Purlin 1

2. ใช้สกรูรองแหวนยิงยึดฉนวนติดกับแป

วางแผ่นฉนวนกันความร้อนไว้ในร่องแปหลังคา

3. ฉนวนกันความร้อนที่ยาวเกิน ให้ตัดออกและปิดด้วยอลูมิเนียมเทปให้เรียบร้อย

วิธีการติดตั้งด้วยวิธีการยึดสกรูใต้แป

4. ทำซ้ำข้อ 1 – 3 ให้เต็มพื้นที่

ใช้สกรูรองแหวนยึดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาให้ติดกับหลังคา

* วิธีนี้จะติดตั้งง่ายที่สุดและใช้อุปกรณ์น้อยที่สุด แต่จะมีข้อเสียตรงที่ใช้ฉนวนกันความร้อนที่หนามากไม่ได้ วิธีนี้จะใช้ติดตั้งฉนวนกันความร้อน PE หรือฉนวนกันความร้อนยางดำ ที่มีความหนาไม่เกิน 10 มม.

วิธีติดตั้งด้วยวิธียึดตะแกรงกรงไก่

  1. วิธีนี้จะใช้กับฉนวนกันความร้อนชนิดใยแก้วหรือฉนวนใยหินที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก ทำการวัดระยะช่องแปก่อนติดตั้ง
Roof Insulation with Mesh 1

2. ขึงตะแกรงกรงไก่ด้วยสกรูรองแหวนจากด้านจั่วไปจนถึงด้านชายคา

ยึดตะแกรงกรงไก่ด้วยสกรูรองแหวน

3. สอดแผ่นฉนวนกันความร้อนบนตะแกรงกรงไก่ เข้าไปด้านในของร่องแปให้เต็มพื้นที่กรงไก่

นำแผ่นฉนวนกันความร้อนมาสอดเข้าไปในร่องแป

4. สอดแผ่นฉนวนกันความร้อนให้เต็มแนวแปทั้งหลังคา

ปูแผ่นฉนวนกันความร้อนให้เต็มและยึดตะแกรงกรงไก่ไปพร้อมกัน

* วิธีนี้จะได้โครงสร้างที่แข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักของฉนวนกันความร้อนมาก ๆ ได้ และสามารถใช้ฉนวนกันความร้อนที่มีความหนามากขึ้นได้

** วิธีนี้แนะนำให้ใช้เป็นฉนวนกันความร้อนใยแก้วหรือฉนวนกันความร้อนใยหิน หุ้มอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้าน ชนิดแผ่น ขนาด 60 ซม. x 1.20 ม.

วิธีติดตั้งด้วยหนามเตยยึดฉนวนกันความร้อน

  1. ใช้กาวตะปูทาที่แป้นหนามเตยให้ทั่ว และติดแป้นหนามเตยใต้คานแป เว้นระยะที่ 25 – 30 ซม.
ติดหนามเตยใต้แปหลังคาเพื่อรองรับฉนวนกันความร้อน

2. รอให้กาวตะปูแห้งประมาณ 24 ชม.

รอกาวตะปูแห้งเป็นเวลา 24 ชม.

3. นำฉนวนกันความร้อนมาติดตั้ง โดยเสียบฉนวนกันความร้อนให้ทะลุหนามเตย โดยเริ่มจากฝั่งของจั่วไปจนถึงด้านชายคา

เสียบแผ่นฉนวนให้ทะลุหนามเตยออกมา

4. ใส่หมวกครอบ (Dome Washer) ที่หนามเตย เพื่อยึดให้ฉนวนกันความร้อนติดกับแปคาน

นำหมวกครอบหมุดมาครอบทับเพื่อยึดหนามเตยให้ติดกับหลังคา

* วิธีนี้จะสะดวกเนื่องจากใช้อุปกรณ์ในการติดตั้งน้อยและง่าย ไม่ต้องใช้สว่านหรือสกรู ใช้เพียงกาวตะปูที่หาซื้อได้ทั่วไป และหนามเตยกับแหวนล็อกสปริง

** ถ้าฉนวนกันความร้อนหลุดร่อนลงมา จะเกิดจากกาวตะปูมีคุณภาพการยึดติดไม่ดี ทำให้แป้นหนามเตยหลุดจากแปคาน

3 อันดับฉนวนกันความร้อนสำหรับติดตั้งใต้หลังคา

ฉนวนใยหิน ROCKWOOL รุ่น Cool ’n’ Comfort RL940 หนา 50 มม. หุ้มอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้าน
ฉนวนกันความร้อนหลังคา ROCKWOOL Cool ’n’ Comfort RL940 หุ้มฟอยล์รอบด้าน

ภาพ - ROCKWOOL Cool ’n’ Comfort RL940 หุ้มฟอยล์รอบด้าน

เป็นฉนวนกันความร้อนสำหรับวางใต้หลังคา ติดตั้งด้วยตะแกรงกรงไก่ และปูฉนวนกันความร้อนในร่องแปก่อนทำการปิดหลังคา

เนื้อฉนวนใยหิน ROCKWOOL Cool ’n’ Comfort RL940 มีความหนาแน่น 60 กก./ลบ.ม. ค่าการนำความร้อนต่ำที่ 0.034 W/m.K เป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ จุดหลอมเหลวสูงกว่า 1,000 ºC หุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ สะท้อนความร้อน 95% รอบด้าน มีลักษณะเป็นม้วนยาว 7.5 เมตร ติดตั้งง่ายเพียงแกะห่อพลาสติกหุ้มออกและกลิ้งไปตามร่องแป

อ่านรายละเอียดสินค้าแบบเต็มได้ที่

https://3t-insulation.com/product/rockwool-cool-n-comfort-rl/

ฉนวน XPE รุ่น Miron A1 ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 2 ด้าน
ฉนวนกันความร้อน pe

ภาพ - ฉนวน XPE รุ่น Miron A1 ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 2 ด้าน

ฉนวนโฟม Polyethylene ด้วยเทคโนโลยี Chemical Cross-link ที่ช่วยให้ค่าการนำความร้อนของฉนวน XPE ต่ำเพียง 0.025 W/m.K ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน 2 ด้าน เพื่อสะท้อนรังสีความร้อนออกจากอาคาร มีความหนาตั้งแต่ 5 มม. – 25 มม. ตามระยะของโครงหลังคา (ยิ่งหนามากยิ่งป้องกันความร้อนได้ดี)

การติดตั้งสามารถทำได้ง่ายเพียงใช้สกรูรองแหวนยึดใต้แป หรือใช้หนามเตยยึดฉนวนติดตั้งใต้แปหลังคาก็สะดวกเช่นกัน

อ่านรายละเอียดสินค้าแบบเต็มได้ที่

https://3t-insulation.com/product/miron/

ฉนวนยางดำ ArmaFlex ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 2 ด้าน
ฉนวนกันความร้อนยางดำ ArmaFlex ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 2 ด้าน

ภาพ - ฉนวนยางดำ ArmaFlex ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 2 ด้าน

ผลิตจากฉนวนยาง Elastomer มีลักษณะนิ่ม ยืดหยุ่น ไม่มีเศษโฟมหรือเส้นใยเมื่อใช้งานไปนาน ๆ (หากมีอาการภูมิแพ้แนะนำให้ใช้เป็นแบบนี้) ค่าการนำความร้อนที่ 0.033 W/m.K ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน 95% ทั้ง 2 ด้าน

วิธีการติดตั้งสามารถใช้ได้ทั้งตะแกรงกรงไก่ สกรูรองแหวนยึดใต้แป หรือหนามเตยยึดฉนวนก็ได้ 

อ่านรายละเอียดสินค้าแบบเต็มได้ที่

https://3t-insulation.com/product/armaflex-class-roll/

ฉนวนกันความร้อนวางบนฝ้า-เพดาน

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้า-เพดาน เป็นการติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ง่ายที่สุด เพียงแค่กลิ้งฉนวนกันความร้อนให้เต็มพื้นที่เพดาน ถ้าหากมีโคมดาวไลท์หรือจุดต่อสายไฟ ให้เว้นระยะรอบโคมดาวไลท์หรือจุดต่อสายไฟไว้

ฉนวนกันความร้อนสำหรับฝ้าเพดานจะมีหลากหลายชนิด ถ้าหากเป็นฉนวนใยแก้วหรือฉนวนใยหินเราจะแนะนำให้ใช้ชนิดที่เป็นหุ้มอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้าน เพื่อสะท้อนรังสีความร้อน อีกอย่างคือเพื่อป้องกันฝุ่นของฉนวนใยแก้วหรือใยหินออกมาด้วย 

ติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้า-เพดาน

ภาพ - ติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้า-เพดาน

5 อันดับฉนวนกันความร้อนสำหรับวางบนฝ้า-เพดาน

ฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAYCOOL
ฉนวนกันความร้อน scg

เราอาจจะคุ้นเคยกันดีกับฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAYCOOL ม้วนสีเขียว มีความหนาที่ 3 นิ้ว และ 6 นิ้ว ขนาดกว้าง 60 ซม. ยาว 4 ม. ที่ใช้เส้นใยแก้วคุณภาพสูง ผลิตขึ้นในประเทศไทย

แบรนด์ SCG เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่มีมานาน ราคาสินค้าย่อมสูงเมื่อเทียบกับสินค้าสเปคเดียวกันในตลาด หาซื้อง่ายตามร้านค้า home pro, thaiwatsadu และ ฯลฯ 

อ่านรายละเอียดสินค้าแบบเต็มได้ที่

https://3t-insulation.com/product/scg-staycool/

ฉนวนกันความร้อน 3T-INSULATION รุ่น FEELFREE
ฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันความร้อนสำหรับวางบนฝ้ารุ่น Feel Free

FEEL FREE เป็นฉนวนจากเส้นใยแก้วคุณภาพสูงในประเทศไทย คุณภาพเดียวกับ STAYCOOL ถูกนำมาบรรจุแพคเกจด้วยบริษัท 3ที อินซูเลชั่น จำกัด จึงทำให้มีราคาที่เป็นมิตรกว่า ขนาดกว้าง 60 ซม. ยาว 4 เมตร ความหนาที่ 2 นิ้ว, 3 นิ้ว , 4 นิ้ว และ 6 นิ้ว วัสดุหุ้มสามารถเลือกได้ทั้งอลูมิเนียมฟอยล์ สะท้อนความร้อน 95% หรือเมทัลไลซ์ฟิล์มสะท้อนความร้อน 87% ก็ได้ซึ่งราคาจะย่อมเยาลงมากกว่า

อ่านรายละเอียดสินค้าแบบเต็มได้ที่

https://3t-insulation.com/product/feel-free/

ฉนวนใยหิน ROCKWOOL รุ่น Cool ’n’ Comfort RL920 หนา 50 มม. ชนิดหุ้มอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้าน
ฉนวนกันความร้อนใยหิน ROCKWOOL รุ่น Cool ’n’ Comfort RL920

ภาพ - ฉนวนใยหิน ROCKWOOL รุ่น Cool ’n’ Comfort RL920

ROCKWOOL Cool ’n’ Comfort RL920 เป็นฉนวนใยหิน ความหนาแน่น 40 กก./ลบ.ม. มีน้ำหนักที่เบากว่า Cool ’n’ Comfort RL940 ทำให้โครงฝ้าไม่ต้องรับน้ำหนักเยอะ แต่ยังคงค่าการนำความร้อนที่ 0.036 W/m.K ไว้

หุ้มรอบด้านด้วแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ สะท้อนความร้อน 95% เพื่อห่อหุ้มเส้นใยหินไม่ให้หลุดร่อน และมีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น

อ่านรายละเอียดสินค้าแบบเต็มได้ที่

https://3t-insulation.com/product/rockwool-cool-n-comfort-rl/

ฉนวนยางดำ ArmaFlex ความหนา 50 มม. ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 2 ด้าน
ฉนวนกันความร้อนยางดำ ArmaFlex ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 2 ด้าน

ภาพ - ฉนวนยางดำ ArmaFlex ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 2 ด้าน

ทางเลือกสำหรับคนที่ไม่ต้องการใช้งานฉนวนที่เป็นเส้นใย ฉนวนยางดำ ArmaFlex ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ สะท้อนความร้อน 2 ด้าน ติดตั้งง่ายโดยการปูบนฝ้าเพดาน เนื้อฉนวนนิ่ม ยืดหยุ่น ไม่มีฝุ่นและเส้นใย

ประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อน (k = 0.033 W/m.K) และป้องกันเสียงได้ดี สำหรับงานวางบนฝ้า-เพดานเราแนะนำที่ความหนา 50 มม. (2 นิ้ว) ขนาดต่อม้วนกว้าง 1.2 เมตร ยาว 3 เมตร

อ่านรายละเอียดสินค้าแบบเต็มได้ที่

https://3t-insulation.com/product/armaflex-class-roll/

ฉนวนกันความร้อนผนังกันเสียง กันความร้อน

ฉนวนกันความร้อนสำหรับผนังติดตั้งก็เพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่ภายใน และกักเก็บความเย็นไว้ให้ได้นานที่สุด เราจะเลือกติดตั้งเฉพาะบางห้องที่มีการปรับอากาศหรือห้องที่เราต้องการควบคุมเสียง

ถ้าเป็นสำหรับบ้านพักอาศัยก็จะเป็นห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น หากเป็นออฟฟิศก็จะเป็นห้องทำงานหรือห้องประชุม ซึ่งห้องเหล่านี้ไม่ได้ต้องการแค่การป้องกันความร้อนแต่ยังป้องกันเสียงอีกด้วย

ติดตั้งฉนวนกันความร้อนในโครงผนัง

ภาพ - ติดตั้งฉนวนกันความร้อนในโครงผนัง

วิธีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนผนังด้วยการตั้งผนังเบา
  1. เราตั้งโครง C-Line โดยเว้นช่องไว้ 40 ซม. หรือ 60 ซม.
  2. เว้นช่องความสูงที่ 1.2 เมตร
  3. ใส่แผ่นฉนวนกันความร้อนเข้าไปในช่องโครงผนัง
  4. ปิดด้วยแผ่นยิปซัมบอร์ด และยิงสกรูยึดให้แน่น
3T แนะนำ

หากท่านใดสนใจที่จะติดตั้งฉนวนกันเสียงเพื่อให้ตรงตามความต้องการ เราแนะนำให้อ่านทั้ง 2 บทความนี้

ฉนวนกันความร้อนและป้องกันเสียงสำหรับงานผนังที่แนะนำ

ฉนวนกันความร้อนที่เราจะแนะนำมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ 

  1. ฉนวนกันความร้อนหุ้มด้วยวัสดุกันชื้น (Humidity Block)
  2. ฉนวนกันความร้อนหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้าน
  3. ฉนวนกันความร้อนหุ้มด้วยผ้ากลาสโค้ด 5 ด้าน ปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้าน

ฉนวนกันความร้อนที่อยากแนะนำจะเป็น ฉนวนใยหิน ROCKWOOL รุ่น Safe ’n’ Silent Pro 370 ที่ความหนา 50 มม. ใช้งานร่วมกับโครงผนัง C 64 มม และแผ่นยิปซัมความหนา 12 มม. เราจะได้ค่า STC 40 (ลดเสียงได้ 40 เดซิเบล)

ที่เราแนะนำเป็น Safe ’n’ Silent Pro 370 แทนที่จะเป็นรุ่น Safe ’n’ Silent Pro 330 หรือ Safe ’n’ Silent Pro 350 เพราะว่า Safe ’n’ Silent Pro 370 มีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่า ไม่ต้องใช้ความหนามาก ใช้เพียง 50 มม. ก็เพียงพอ จึงเหมาะกับอาคารบ้านพักที่มีพื้นที่ตั้งโครงผนังไม่มาก แต่ต้องการผนังที่ช่วยป้องกันความร้อนและป้องกันเสียง (อาคารพาณิชย์ติดถนน หรือห้องพัก)

อีกข้อสำคัญที่แนะนำเป็น Safe ’n’ Silent Pro 370 เพราะว่าการทำผนังกันความร้อนกันเสียงเป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียว Safe ’n’ Silent Pro 370 ที่มีความหนาแน่นสูง (80 กก./ลบ.ม.) เส้นใยจะแน่นแข็งแรงไม่ยุบตัวหลังจากติดตั้งไปเป็นระยะเวลานาน เมื่อเทียบกับรุ่น Safe ’n’ Silent Pro 330 และ Safe ’n’ Silent Pro 350 ที่มีความหนาแน่นแค่ 40 กก./ลบ.ม. และ ความหนาแน่นแค่ 60 กก./ลบ.ม. ตามลำดับ

ROCKWOOL รุ่น Safe ’n’ Silent Pro370 หุ้มด้วยวัสดุกันชื้น
ROCKWOOL รุ่น Safe ’n’ Silent Pro หุ้มด้วยวัสดุกันชื้น (Humidity Block)

ภาพ - ROCKWOOL รุ่น Safe ’n’ Silent Pro หุ้มด้วยวัสดุกันชื้น (Humidity Block)

ฉนวน ROCKWOOL Safe ’n’ Silent Pro 370 หุ้มด้วยวัสดุกันชื้น (Humidity Block) ทำหน้าที่ 2 อย่างคือ เพื่อป้องกันความชื้นจากผนังภายนอก (ฝนตกผนังจะมีความชื้นสูง) และห่อหุ้มเส้นใยของฉนวนใยหินที่มีโอกาสหลุดร่อนได้เมื่อติดตั้งเป็ระยะเวลานาน

ROCKWOOL รุ่น Safe ’n’ Silent Pro370 หุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้าน
ROCKWOOL รุ่น Safe ’n’ Silent Pro หุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้าน

ภาพ - ROCKWOOL รุ่น Safe ’n’ Silent Pro หุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้าน

การหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้านเราจะได้ประโยชน์เพิ่ม 3 อย่างจากคุณสมบัติฉนวน ROCKWOOL คือ

  1. อลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน 95% จะลดความร้อนที่จะเข้ามาจากผนังอาคาร
  2. อลูมิเนียมฟอยล์จะช่วยยืดอายุการใช้งานของฉนวนให้ยาวนานขึ้น โดยการป้องกันความชื้น
  3. อลูมิเนียมฟอยล์จะช่วยห่อผุ้มเส้นใยที่อาจจะหลุดร่อนออกมาเมื่อใช้งานไปเป็นระยะเวลานาน
ROCKWOOL รุ่น Safe ’n’ Silent Pro370 หุ้มผ้ากลาสโค้ด 5 ด้านและปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้าน
ROCKWOOL รุ่น Safe ’n’ Silent Pro หุ้มด้วยผ้ากลาสโค้ด 5 ด้าน และปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้าน

ภาพ - ROCKWOOL รุ่น Safe ’n’ Silent Pro หุ้มด้วยผ้ากลาสโค้ด 5 ด้าน และปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้าน

การที่เราหุ้มฉนวนใยหิน ROCKWOOL ด้วยผ้ากลาสโค้ด (Glass Cloth) 5 ด้าน และปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้าน นั้นเราจะได้ประโยชน์ถึง 5 อย่าง คือ

  1. ผ้ากลาสโค้ดจะมีลักษณะเป็นรูพรุนช่วยรักษาประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงของฉนวนไว้
  2. เส้นใยที่นำมาทอผ้ากลาสโค้ดจะเป็นเส้นใยแก้วที่มีความแข็งแรงช่วยเสริมให้ระบบฉนวนเป็นแผ่นแข็งขึ้นคงคุณสมบัติฉนวนไว้ยาวนาน
  3. แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน ให้หันออกติดผนังด้านนอกเพื่อสะท้อนความร้อนออกจากอาคาร
  4. แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ช่วยป้องกันฉนวนไม่ให้เกิดความชื้นสะสมภายใน ช่วยยืดอายุการใช้งานของฉนวน
  5. ผ้ากลาสโค้ดจะช่วยห่อหุ้มเส้นใยของฉนวนเอาไว้ภายใน ลดการเกิดฝุ่นผงในช่องผนัง

เปรียบเทียบระบบผนังเพื่อป้องกันเสียงรบกวน

ในงานระบบผนังจากที่เราได้ทำการคำนวณกันเราจะเห็นว่าการติดตั้งฉนวนผนังเพื่อป้องกันความร้อนนั้นไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่ เราจึงโฟกัสไปที่การป้องกันเสียงแทน

การกันเสียงของระบบผนังนั้นจะเราจะใช้ค่า STC (Sound Transmission Class) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยจากการที่ความดังของเสียงลดลงเท่าไหร่ ที่ความถี่ค่าหนึ่ง ซึ่งเราสามารถเหมารวม ๆ ได้ว่า ถ้าเราติดตั้งผนังประมาณนี้เสียงจะลดลงประมาณกี่เดซิเบล (dB)

จากฉนวนกันเสียงที่เราแนะนำจะเป็น ROCKWOOL รุ่น Safe ’n’ Silent Pro 370 ใช้งานร่วมกับโครง C64 และ ผนังยิปซัม 13 มม. จะลดเสียงได้ 40 เดซฺิบล แต่ถ้าใครอยากเปรียบเทียบรูปแบบผนังเบาและฉนวนกันเสียง ROCKWOOL รุ่น Safe ’n’ Silent Pro แต่ละรุ่น สามารถอ่านได้ที่บทความนี้

https://3t-insulation.com/sound-insulation/rockwool-acoustic-insulation-guideline/

หลังจากอ่านบทความ ผนังกันเสียง ROCKWOOL เราจะเห็นว่าการใช้แผ่นยิปซัม 2 ชั้น ให้ประสิทธิภาพในการกันเสียงที่ดีกว่าการเพิ่มความหนาฉนวน และการเพิ่มความหนาฉนวนดีกว่าการเพิ่มความหนาแน่นฉนวน

งั้นทำไมเราถึงแนะนำเป็น Safe ’n’ Silent Pro 370 แทนที่จะแนะนำเป็น Safe ’n’ Silent Pro 330 เหตุผลคือ การติดตั้งผนังกันเสียงนั้นเป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียว ฉนวนใยหิน Safe ’n’ Silent Pro 330 มีความหนาแน่นเพียง 40 กก./ลบ.ม. (โครงสร้างนิ่ม ยุบตัวได้เมื่อติดตั้งเป็นเวลานาน) เมื่อติดตั้งไปเป็นระยะเวลานานจะเกิดการยุบตัวของฉนวนทำให้เกิดโพรงอากาศภายในช่องผนัง ซึ่งเสียงจะทะลุผ่านในบริเวณที่ฉนวนยุบตัวนั่นเอง

การยุบตัวของฉนวนกันความร้อนหลังจากติดตั้งไปเป็นระยะเวลานาน

ภาพ - การยุบตัวของฉนวนกันความร้อนหลังจากติดตั้งไปเป็นระยะเวลานาน

ฉนวนสำหรับบ้านพักอาศัยทำไมต้องหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์รอบทิศทาง

ป้องกันฝุ่นผงจากการหลุดร่อนของเส้นใย

ถ้าหากว่าใช้ฉนวนกันความร้อนที่เป็นฉนวนใยแก้วหรือฉนวนใยหิน ซึ่งเมื่อใช้งานไปเป็นระยะเวลานานเส้นใยของฉนวนย่อมเกิดการหลุดร่อนแตกหักเกิดเป็นฝุ่นสะสมบนเพดานหรือหลังคา

หากเป็นหลังคาโรงจอดรถมีลมพัดตลอดก็จะไม่เกิดการสะสมของฝุ่น แต่ถ้าเป็นในบ้านที่ไม่มีลมพัดมีการติดเครื่องปรับอากาศ อากาศไม่ค่อยได้มีการหมุนเวียนย่อมเกิดการสะสมของฝุ่น

ดังนั้นถ้าเราต้องการใช้เป็นฉนวนใยแก้วหรือฉนวนใยหิน เราจึงแนะนำให้ใช้งานแบบหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้านเพื่อที่จะ เมื่อเส้นใยหลุดร่อนหรือแตกหักก็จะยังอยู่ภายในห่ออลูมิเนียมฟอยล์นั่นเอง

ความสามารถสะท้อนรังสีความร้อนสูง 95% 

ถ้าแค่ป้องกันฝุ่นก็ไม่จำเป็นต้องห่ออลูมิเนียมฟอยล์ก็ได้ใช่ไหม ? คำตอบคือ ถูกครับ ถ้าแค่ป้องกันฝุ่นแค่ห่อพลาสติกก็ได้

แต่การห่อด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ยังมีข้อดีอีกอย่างคือ สามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ถึง 95% ซึ่งวัตถุที่จะสะท้อนรังสีความร้อนได้จะต้องมีผิวที่มันเงาเป็นโลหะก็จะสะท้อนรังสีความร้อนออกไปได้มาก (รังสีความร้อน ไม่ใช่แสงแดด) สามารถอ่านเกี่ยวกับเรื่องรังสีความร้อนได้ที่บทความนี้ ในหัวข้อการแผ่รังสีความร้อน

เส้นใยเสริมแรง 3 ทิศทางป้องกันการฉีกขาด

แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน จะมีเส้นใยเสริมแรง 3 ทิศทางเป็นตารางรูปเพชร (Diamond Grid) ทำให้แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์มีความทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย ช่วยยืดอายุการใช้งานของฉนวนกันความร้อน

อลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน ที่มีเส้นใยเสริมแรง 3 ทิศทาง

ภาพ - อลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อน ที่มีเส้นใยเสริมแรง 3 ทิศทาง

ป้องกันความชื้นซึมเข้าฉนวน

ฉนวนกันความร้อนที่ไม่ได้มีการหุ้มอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อนรอบด้านนั้น ไม่ว่าจะไม่ติดฟอยล์ ติดฟอยล์ 1 ด้าน หรือ 2 ด้าน ฉนวนกันความร้อนจะมีโอกาสดูดซึมความชื้นเข้าเนื้อฉนวน และทำให้ประสิทธิภาพลดลง

การหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้าน จะช่วยป้องกันไม่ให้หยดน้ำหรือความชื้นสัมผัสโดยตรงกับกับเนื้อฉนวน จะไปเกาะอยู่บนผิวฟอยล์แทน และเมื่อมีความร้อนหยดน้ำก็จะระเหยแห้งเอง และเนื่องจากเป็นอลูมิเนียมแท้จึงไม่เกิดสนิมเมื่อสัมผัสกับความชื้น

ทำไมฉนวนกันความร้อนผนัง ต้องหุ้มผ้ากลาสโค้ด 5 ด้านและปิดด้วยฟอยล์ 1 ด้าน

ผ้ากลาสโค้ดชนิดเคลือบสารกันลามไฟ (Glass Cloth with Flame Retardant) คือ ผ้าที่ทอมาจากเส้นใยแก้วไฟเบอร์ ความหนา 0.20 มม. มีลักษณะเป็นรูพรุน สามารถใช้ในการดูดซับเสียงได้ เคลือบผิวด้วยอะคลิลิคเรซิ่นไม่ลามไฟ ผ้ากลาสโค้ดจะมีทั้งหมด 2 แบบคือชนิดที่เคลือบสารกันลามไฟและ ไม่เคลือบสารกันลามไฟ

ผ้าใยแก้ว (Glass Cloth)

ภาพ - ผ้ากลาสโค้ดสีดำและขาว สำหรับหุ้มฉนวนกันความร้อน

ผ้ากลาสโค้ดที่เรานำมาหุ้มจะเป็นชนิดที่เคลือบสารกันลามไฟ เพราะว่าเมื่อเราปิดฝ้า-เพดาน หรือผนังไปแล้วเราจะไม่สามารถมองเห็นฉนวนกันความร้อนของเราได้เลย หากวัสดุที่เรานำมาใช้ในงานระบบฉนวนสามารถติดไฟได้ ถึงแม้ฉนวนกันความร้อนจะไม่ติดไฟก็ย่อมเกิดเพลิงลุกลามจากวัสดุหุ้มอยู่ดี

ที่เราแนะนำให้ใช้การหุ้มผ้ากลาสโค้ด 5 ด้านและปิดด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้าน เพราะว่าในงานระบบผนังกันความร้อนกันเสียงนั้น ฉนวนกันความร้อนจะถูกซ่อนอยู่ภายในผนังเบา การที่จะต้องเจอหยดน้ำหรือความชื้นจะน้อยกว่าฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาหรือฉนวนกันความร้อนที่วางบนฝ้า-เพดาน

การติดฟอยล์ 1 ด้านเพื่อสะท้อนรังสีความร้อนจากนอกอาคารและหุ้มผ้ากลาสโค้ด 5 ด้านเพื่อดูดซับเสียงภายในอาคารจึงเป็นวัสดุที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์รอบด้าน

อลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนรังสีความร้อนออกด้านนอกอาคารและผ้ากลาสโค้ดดูดซับเสียงในอาคาร

ภาพ - อลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนรังสีความร้อนออกด้านนอกอาคารและผ้ากลาสโค้ดดูดซับเสียงในอาคาร

อลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้านช่วยสะท้อนรังสีความร้อน 95%

การใช้งานอลูมิเนียมฟอยล์ให้มีประสิทธิภาพดีที่สุดจะต้องหันด้านที่เป็นอลูมิเนียมฟอยล์เข้าหาด้านที่ความร้อนเข้า เช่นถ้านำมาใช้ในงานระบบหลังคาหรือฝ้า-เพดาน ให้หันออกทางด้านหลังคา ถ้าหากนำมาใช้ในงานระบบผนังให้หันออกผนังด้านนอก

การใช้งานแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อนให้หันแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ออกด้านนอก

ภาพ - การใช้งานแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนความร้อนให้หันแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ออกด้านนอก

ส่วนในงานฉนวนระบบหลังคาบางประเภทที่มีการติดอลูมิเนียมฟอยล์เพียง 1 ด้านแล้วที่การหันอลูมิเนียมฟอยล์ลงด้านล่าง ทำเพื่อป้องกันเส้นใยของฉนวนใยแก้วหรือฉนวนใยหินหลุดร่อนลงมาโดนผู้ใช้งานอาคาร และเพื่อให้เรียบสวยงามดูสะอาดตา

หลังคาที่ติดตั้งด้วยฉนวนกันความร้อนปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ จะทำให้ระบบหลังคาดูสวยงาม

ภาพ - หลังคาที่ติดตั้งด้วยฉนวนกันความร้อนปิดผิวด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ จะทำให้ระบบหลังคาดูสวยงาม

หุ้มผ้ากลาสโค้ด 5 ด้าน ป้องกันฝุ่นหลุดร่อน

วัสดุหุ้มที่นำมาหุ้มฉนวนกันความร้อนรอบด้าน ทำเพื่อป้องกันฝุ่นจากเส้นใยของฉนวนกันความร้อน ส่วนคุณสมบัติข้อดีและข้อเสีย จะแตกต่างกันไปตามวัสดุหุ้มนั่นเอง สามารถอ่านและเปรียบเทียบคุณสมบัติของวัสดุหุ้มฉนวนได้จากบทความนี้

หุ้มผ้ากลาสโค้ด 5 ด้าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับเสียง

การหุ้มด้วยผ้ากลาสโค้ด 5 ด้าน เราจะหันฝั่งผ้ากลาสโค้ดเข้าหาผนังภายในอาคาร ลักษณะของผ้ากลาสโค้ดจะมีลักษณะเป็นรูพรุน เสียงที่เข้ามาจะผ่านทะลุผ้ากลาสโค้ดเข้าไปเจอกับเนื้อฉนวนภายใน เนื้อฉนวนจะทำการดูดซับเสียง ไม่ให้สะท้อนออกไปภายนอก

แตกต่างจากแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ที่มีความเรียบมันเงา เมื่อเสียงมากระทบกับผิวอลูมิเนียมฟอยล์ เสียงจะสะท้อนออกไปแทนที่จะทำการดูดซับเสียง

เปรียบเทียบการดูดซับเสียงเมื่อหุ้มด้วยผ้ากลาสโค้ดและหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์

ภาพ - เปรียบเทียบการดูดซับเสียงเมื่อหุ้มด้วยผ้ากลาสโค้ดและหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์

แบ่งปันเรื่องราว