อาคารหรือบ้านพักอาศัย จะมีสิ่งปกปิดความยุ่งเหยิงของสายไฟและงานระบบต่างๆอยู่ นั่นคือ “ ฝ้า ” ฝ้า-เพดานช่วยปิดงานระบบท่อ สายไฟต่างๆ ไว้ด้านหลัง และจะโชว์พื้นผิวเรียบเนียน หรือ ศิลปะ แพทเทินของฝ้า
ฝ้าไม่ได้ช่วยแค่ปกปิดงานระบบเท่านั้น แต่ยังช่วย “ บล็อก ” ความร้อนที่ลงมาจากหลังคา บ้านพักอาศัยก็จะได้ฝ้า-เพดานนี่แหล่ะที่ช่วยป้องกันความร้อนได้อย่างมากเลยทีเดียว แต่ในบางครั้งมันก้ไม่เพียงพอโดยเฉพาะใน “ ฤดูร้อน ” ของประเทศไทย
งานฉนวนกันความร้อนบนฝ้า-เพดาน คืออะไร ?
ในประเทศไทยการมีฝ้าเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะจะช่วยกันความร้อนที่ลงมาจากหลังคาได้อย่างมาก แต่ถ้าเป็นอาคารที่อยู่ชั้นบนสุดที่แบบว่าเหนือเพดานขึ้นไปจะเป็นหลังคาไม่ว่าจะเป็นคอนโด หรือบ้านพักบอกเลยว่า “ร้อนมาก”
ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า-เพดาน จึงถูกนำมาใช้อย่างมากบริเวณชั้น 2 ของบ้าน หรือชั้นบนสุดของคอนโด เพราะจะช่วยลดความร้อนที่ลงมาจากหลังคาได้ถึง 60% และดีกว่าติดตั้งเพียงฝ้าอย่างเดียว 4 – 6 เท่า
ถ้าอุณหภูมิหลังคาอยู่ที่ 65 องศา อุณหภูมิภายในบ้านจะอยู่ที่ประมาณ 35 องศา ถ้าไม่ได้ติดฉนวนกันความร้อน และถ้าติดฉนวนกันความร้อนจะอยู่ที่ 32 องศา โดยเฉลี่ย
นอกจากช่วยลดความร้อนเข้าบ้านแล้วยังช่วยประหยัดค่าแอร์ได้ถึง 50% เพราะเมื่ออุณหภูมิในบ้านลดลง แอร์ก็ไม่ต้องทำงานหนักมากเกินไปและค่าไฟฟ้าก็จะลดลง
เพดานส่วนใหญ่จะไม่สามารถรับน้ำหนักได้เยอะดังนั้นฉนวนที่เราจะใช้จึงไม่ควรมีความหนาแน่นที่เยอะเกินไปเราจึงอยากแนะนำเป็นใยแก้ว เพราะมีราคาถูกมีความสามารถในการกันความร้อนได้อย่างยอดเยี่ยม และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป
ฉนวนใยแก้วชนิดวางบนฝ้า-เพดาน จะมีความหนาที่ค่อนข้างตายตัวที่ 3 นิ้ว, 4 นิ้ว และ 6 นิ้วยิ่งความหนาฉนวนมากยิ่งกันความร้อนได้ดีมากขึ้น และไม่ต้องห่วงเรื่องน้ำหนักมากนักเพราะฉนวนใยแก้วชนิดวางบนฝ้ามีความหนาแน่นเพียง 12 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร เมื่อเทียบกับฉนวนที่ใช้กับงานประเภทอื่น ( ในงานอื่นๆ ฉนวนใยแก้วจะความหนาแน่นที่ 24 – 48 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร )
รายละเอียด | ความหนา 3 นิ้ว ( 75 มม. ) | ความหนา 6 นิ้ว ( 150 มม. ) |
---|---|---|
การกันความร้อน ( เทียบฝ้าที่ไม่ได้ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ) |
มากกว่า 4 เท่า | มากกว่า 6 เท่า |
น้ำหนัก ต่อ ตารางเมตร ( ฝ้าทั่วไปรับน้ำหนักได้ 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร ) | 1.13 | 2.06 |
พื้นที่ต่อม้วน | 2.4 ตารางเมตร | 2.4 ตารางเมตร |
ราคาต่อตารางเมตร | 160 – 190 | 270 |
ฉนวนกันความร้อนบนฝ้าจะมีการปิดผิวรอบด้านด้วยแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ เพราะการติดตั้งครั้งนึงฉนวนก็จะอยู่คู่กับอาคารไปตลอด เมื่อเวลาผ่านไปนานเส้นใยของฉนวนใยแก้วอาจมีการแตกหักแต่ก็จะอยู่ภายในห่อของอะลูมิเนียมฟอยล์ ไม่ออกมาเป็นฝุ่นผงเลอะเทอะภายนอก
การใช้แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ไม่ได้เพียงแค่เก็บฝุ่นใยแก้วที่แตกหักออกมา แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการสะท้อนรังสีความร้อน โดยจะสามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ถึง 96% หลายๆคนก็จะมีคำถามตามมาว่า มันไม่ได้โดนแสงแดดซะหน่อย มันจะมีประโยชน์อะไร
ต้องอธิบายเรื่องของรังสีความร้อนซะก่อน อย่างที่เรารู้กันว่าความร้อนเดินทางได้ 3 รูปแบบ
1.) การนำความร้อน ( ตัวกลางเป็นของแข็ง ) เช่น เราเอามือทาบผนังแล้วรู้สึกว่าร้อน ความร้อนจากผนังจะเดินทางมาที่มือของเราสิ่งนี้เรียกว่า “ การนำความร้อน ”
2.) การพาความร้อน ( ตัวกลางเป็นของเหลวหรือแก๊ส ) เช่น เรายืนอยู่หน้าแอร์แล้วเรารู้สึกว่าเย็น เพราะอากาศจากแอร์มาปะทะกับหน้าเรา สิ่งนี้เรียกว่า “ การพาความร้อน ”
3.) การแผ่รังสีความร้อน ( ไม่อาศัยตัวกลาง ) เช่น ดวงอาทิตย์ที่สาดส่องมาที่ตัวเราแล้วมันร้อนมาก ความร้อนจากดวงอาทิตย์ต้องเดินทางผ่าน อวกาศ ( เป็นสุญญากาศไม่มีตัวกลาง ) แล้วมาถึงผิวเรา หรือเวลาที่เรานั่งอยู่ใกล้กับคนอีกคนนึงแล้วเรารู้สึกได้ว่าตัวเขาร้อน สิ่งนี้เรียกว่าการแผ่รังสีความร้อน
ซึ่งมันจะเกิดขึ้นกับวัตถุทุกชนิด วัตถุทุกวัตถุจะมีอุณหภูมิในตัวและจะมีการแผ่รังสีความร้อนออกมาตลอดเวลา ส่วนวัตถุที่ไม่แผ่รังสีความร้อนเลย เราจะเรียกมันว่า วัตถุดำ หรือ Black Body
การติดตั้งฉนวนกันความร้อนติดตั้งอย่างไร?
ฉนวนกันความร้อนที่ติดตั้งบนฝ้า-เพดาน เป็นฉนวนที่ติดตั้งง่ายที่สุด เมื่อเทียบกับฉนวนที่ติดตั้งบนหลังคาหรือฉนวนกันความร้อนผนัง เพราะสามารถทำได้เองโดยไม่ต้องจ้างช่างมาติดตั้ง โดยมีวิธีการติดตั้งดังนี้
1.) หาช่องเซอร์วิสเพื่อที่จะขึ้นไปบนฝ้า ( โดยปกติจะอยู่บริเวณห้องน้ำ )
2.) แกะห่อฉนวน
3.) กลิ้งฉนวนกันความร้อนไปตามแนวของฝ้า
4.) ตัดฉนวนตรงบริเวณช่องไฟดาวไลท์โดยเว้นระยะห่าง 3 นิ้วและปิดผิวฉนวนที่ตัดด้วยอะลูมิเนียมเทป