MIRON ฉนวนหุ้มท่อลม XPE
ราคา 12,600.00 บาท – 24,900.00 บาท
รายละเอียดสินค้า
ฉนวนกันความร้อน XPE รุ่น MIRON ผลิตขึ้นมาจาก Ethylene Foam ซึ่งมีค่าการความร้อนต่ำเพียง 0.025 W/m.K เมื่อเทียบกับฉนวนกันความร้อนชนิดอื่นๆ ฉนวน MIRON ถูกนำมาใช้อย่างมากในงานหลังคาเพื่อกันความร้อนที่หลังคาจะส่งลงมาสู่คนด้านล่าง
และยังถูกใช้อย่างมากในงานระบบปรับอากาศ เพราะฉนวนPE นั้นไม่มีเส้นใยจึงไม่เกิดฝุ่นผงที่สามารถเขาไปในระบบปรับอากาศได้และยังได้รับการจัดรับลองให้เป็นวัสดุ Class 0 ซึ่งถูกแนะนำให้ใช้กับอาคารที่มีการควบคุมคุณภาพอากาศอีกด้วย
MIRON
ฉนวนกันความร้อน MIRON เป็นฉนวน PE ที่ผลิตขึ้นมาจาก Ethylene Foam ซึ่งมีค่าการความร้อนต่ำเพียง 0.025 W/m.K เมื่อเทียบกับฉนวนกันความร้อนชนิดอื่นๆ ฉนวน MIRON ถูกนำมาใช้อย่างมากในงานหลังคาเพื่อกันความร้อนที่หลังคาจะส่งลงมาสู่คนด้านล่าง
และยังถูกใช้อย่างมากในงานระบบปรับอากาศ เพราะฉนวนMIRON นั้นไม่มีเส้นใยจึงไม่เกิดฝุ่นผงที่สามารถเขาไปในระบบปรับอากาศได้และยังได้รับการจัดรับลองให้เป็นวัสดุ Class 0 ซึ่งถูกแนะนำให้ใช้กับอาคารที่มีการควบคุมคุณภาพอากาศอีกด้วย
อุณหภูมิการใช้งาน
การใช้งานฉนวน MIRON นั้นมีระยะการใช้งานที่กว้างมากโดยสามารถใช้ได้ที่อุณหภูมิต่ำถึง -90 องศาเซลเซียส และใช้ในงานร้อนได้ถึง 105 องศาเซลเซียสและมีความหนาแน่นของฉนวนที่ค่อนข้างต่ำเพียง 25 – 35 kg/m3 ทำให้ตัวฉนวนมีนำหนักเบา ราคาโครงสร้างที่ใช้เพื่อรองรับงานฉนวนก็จะลดลงตามไปด้วย
การนำความร้อน
ฉนวน MIRON นั้นเมื่อเทียบในเรื่องประสิทธิภาพเรื่องการต้านทานความร้อนแล้ว ฉนวนMIRON จะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำเมื่อเทียบกับฉนวนประเภทอื่น อยู่ที่ 0.032 W/m.K ซึ่งวัสดุอื่นจะมีค่าที่มากกว่านี้
การดูดซึมน้ำ
การดูดซึมน้ำมีความสำคัญอย่างมากในงานฉนวนกันความร้อน ถ้าเป็นในส่วนของงานหลังคาหลังคาอาจมีรูรั่วที่ทำให้น้ำหยดลงบนฉนวนได้ถ้าฉนวนมีการดูดซึมน้ำมากๆจะทำให้ฉนวนนั้นหลุดร่วงลงมาจากหลังคา หรือดึงหลังคาหลุดร่วงลงมาด้วยกันก่อให้เกิดความเสียหายได้
ดังนั้นฉนวนที่ดีควรจะไม่อุ้มน้ำแต่มีลักษณะเป็นหยดน้ำเกาะอยู่บนฉนวนและรอระเหยออกไปฉนวน MIRON ได้ทำการทดสอบเพื่อดูการดูดซับน้ำของฉนวนและได้ผลลัพธ์ออกมาอยู่ที่ 0.0004% แค่นั้น
ความคงทนต่อโอโซน
เรามีการทดสอบการคงทนต่อโอโซนของฉนวน MIRON โดยกรมวิทยาศาสตร์ เราใช้การทำสอบโอโซน 50 pphm ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลาทั้งหมด 72 ชม. ต่อเนื่อง เราได้ผลว่าไม่เกิดรอยแตกหรือปฏิกิริยาใดๆ จากการทดสอบโอโซน เราจึงสรุปได้ว่าฉนวนMIRON มีความสามารถในการคงทนนต่อโอโซน
ความคงทนต่อสารเคมี
การคงทนต่อสารเคมีของฉนวน MIRON นั้นได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์ซึ่งเราได้ส่งตรวจสอบกับ กรดอะซิตริก(Acetic Acid) กรดซัลฟิวริก(Sufuric Acid) กรดไฮโดรคลอริก(Hydrochloric Acid) แอมโมเนีย(Ammonia) และกรดไนตริก(Nitric Acid) จากการทดสอบตามนี้ ฉนวนกันความร้อน MIRON ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จึงสรุปได้ว่าฉนวน MIRON ไม่ทำปฏิกิริยาจากสารเคมีเหล่านี้
ตารางข้อมูลทางเทคนิค
คำอธิบาย |
ผลการทดสอบ |
มาตรฐาน |
---|---|---|
โครงสร้างเซลล์ |
เซลล์ปิด (Close Cell) |
|
การขยายตัว |
30X – 40X |
|
ความหนาแน่น |
25 – 30 kg/m3 |
ISO 845 |
การนำความร้อน |
0.025 W/m.K |
ASTM D-1003 |
การดูดซึมนำ้ |
0.00015 g/cm2 |
JIS K 6767 |
การต้านทานแรงดึง |
30.6 N/cm2 |
JIS K 6767 |
ระยะยืด |
113% |
JIS K 6767 |
กำลังการต้านทานแรงฉีก |
20.4 N/cm |
JIS K 6767 |
การเสียสภาพจากแรงกด |
3.7% |
JIS K 6767 |
การคงสภาพเมื่อรับความร้อน (70 C / 22 h.) |
W = 0, L = -1% |
JIS K 6767 |
ความคงทนต่อโอโซน (50 pphm) |
No Crack |
ASTM D 1308 |
ลักษณะการติดไฟ |
Class 0 |
BS 476 part 6 |
อุณหภูมิการใช้งาน |
-90 C – 105 C |
Dimensions | N/A |
---|---|
ผิวฉนวน | รุ่นธรรมดา, อะลูมิเนียมฟอยล์ 1 ด้าน, อะลูมิเนียมฟอยล์ 2 ด้าน |
ความหนาฉนวน | 5 มม., 10 มม., 15 มม., 20 มม., 25 มม. |